หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » นายณัฏฐวัฒน์ สุดประเสริฐ
 
เข้าชม : ๒๐๐๑๘ ครั้ง
ศึกษาวิเคราะห์แนวคิดประชานิยมของกลุ่มนารอดนิก
ชื่อผู้วิจัย : นายณัฏฐวัฒน์ สุดประเสริฐ ข้อมูลวันที่ : ๐๘/๑๐/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ผศ.ดร.สมิทธิพล เนตรนิมิตร,ป.ธ.๙,พธ.บ.,พธ.ม.,Ph.D.
  .
  .
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๖
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

    การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ๓ ข้อคือ ๑. เพื่อศึกษาความเป็นมาและแนวคิดทฤษฎีประชานิยมของกลุ่มนารอดนิก ๒. เพื่อศึกษาความเป็นมาและแนวคิดเรื่องธนานุปทานในพระไตรปิฎก ๓. เพื่อศึกษาวิเคราะห์ทฤษฎีประชานิยมของกลุ่มนารอดนิกกับธนานุปทานในพระไตรปิฎก

                     ข้อแรกพบว่า ประชานิยมในประเทศไทยถูกกล่าวถึงในฐานะประชานิยมไม่สร้างสรรค์หรือประชานิยมเชิงลบ หมายถึง การให้วัตถุหรือผลประโยชน์เพื่อสร้างความนิยมและรักษาอำนาจทางการเมือง ไม่มีความจริงใจที่จะแก้ปัญหาบ้านเมือง  ประชานิยมเกิดจากการเอาใจประชาชนของชาวปัญญาชนนารอดนิกในรัสเซีย อเมริกา กลุ่มโลกที่สาม จีนแดง และแถบลาตินอเมริกา ต่อมาประชานิยมได้ยืมทฤษฎีเคนส์มาใช้แก้ปัญหาเศรษฐกิจ เพราะสอดรับกับการแก้ปัญหาวิกฤตเมื่อเศรษฐกิจตกต่ำ เหตุที่เกิดในอาเจนตินาทำให้ประชานิยมถูกมองในเชิงลบมาจนถึงปัจจุบัน

ข้อสองพบว่า การให้ในพระพุทธศาสนามีองค์ประกอบและตัวชี้วัดที่ชัดเจน องค์ประกอบคือวัตถุที่จะให้ ผู้ให้ ผู้รับการให้ และมีตัวชี้วัดที่ชัดว่าการให้อย่างไรมีผลมาก ผลน้อย ไม่มีผล และการให้ที่ให้โทษทำให้ผู้ให้ต้องไปนรกก็ยังมี ส่วนธนานุปทานนั้น ถูกมองในฝ่ายบวกว่า เป็นการให้ของผู้ปกครองที่ทำด้วยเจตนาดี หวังให้ประชาชนอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ป้องกันปัญหาโจรภัยได้

ข้อสุดท้ายพบว่า ส่วนที่เหมือนกันของประชานิยมไม่สร้างสรรค์กับธนานุปทานคือเป็นการให้ของผู้ปกครอง ในส่วนที่ต่างกัน มี ๗ ประเด็นคือ ความหมาย ที่มา พัฒนาการ แนวคิด วิธีการ ผลลัพธ์ และจุดเด่นจุดด้อย แต่จะรวมกันเป็นหนึ่งเดียวได้เมื่อเป็นประชานิยมเชิงสร้างสรรค์กับธนานุปทาน ไม่มีความแตกต่าง

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕