หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » นายนครินทร์ แก้วโชติรุ่ง
 
เข้าชม : ๒๐๐๐๑ ครั้ง
ธรรมาธิปไตยในฐานะเป็นเครื่องมือพัฒนาประชาธิปไตยในสังคมไทย
ชื่อผู้วิจัย : นายนครินทร์ แก้วโชติรุ่ง ข้อมูลวันที่ : ๐๙/๑๐/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  รองศาสตราจารย์ ดร.วัชระ งามจิตรเจริญ ป.ธ.๙, พธ.บ. (ปรัชญา) เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง,ศษ.บ. (บริหารการศึกษา) เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง,M.A. (Philosophy) เหรียญทอง, อ.ด. (ปรัชญา)
  .
  .
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๕
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

              การศึกษาวิจัยเรื่องธรรมาธิปไตยในฐานะเป็นเครื่องมือพัฒนาประชาธิปไตยในสังคมไทยมีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ เพื่อวิเคราะห์หลักธรรมาธิปไตยในฐานะที่เป็นหลักธรรมคำสอนประการหนึ่งในพระพุทธศาสนา เพื่อวิเคราะห์หลักธรรมาธิปไตยของพระพุทธศาสนาว่าเป็นระบอบการปกครองหรือหลักการ และเพื่อหาแนวทางนำหลักธรรมาธิปไตยมาประยุกต์ใช้ในฐานะเป็นเครื่องมือพัฒนาประชาธิปไตยในสังคมไทย ผลการวิจัยพบว่า ๑) ธรรมาธิปไตยเป็นหลักธรรมคำสอนประการหนึ่งในอธิปไตย ๓ ประการของพระพุทธศาสนาที่ให้ความสำคัญแก่ธรรมเป็นใหญ่ เพราะธรรมเป็นสิ่งจูงใจให้บุคคลทำความดี ส่วนธรรมาธิปไตยที่มีนัยทางการเมืองการปกครองนั้น ก็เป็นเพียงคุณสมบัติหรือจริยธรรมประการหนึ่งที่สำคัญในหลายประการของผู้ปกครองที่ดี ๒) ทัศนะของนักวิชาการที่มีต่อธรรมาธิปไตยมี ๓ กลุ่มด้วยกัน ได้แก่ กลุ่มที่มีทัศนะว่าธรรมาธิปไตยเป็นระบอบการปกครอง กลุ่มที่มีทัศนะว่าธรรมาธิปไตยเป็นหลักการ และกลุ่มที่มีทัศนะว่าธรรมาธิปไตยเป็นทั้งระบอบการปกครองและหลักการ จากหลักฐานในคัมภีร์พระพุทธศาสนาและกรอบแนวคิดทางรัฐศาสตร์ทำให้ทราบว่า ธรรมาธิปไตยมีความเป็นหลักการมากกว่าเป็นระบอบการปกครอง และ ๓) หลักธรรมาธิปไตยสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในฐานะเป็นเครื่องมือพัฒนาประชาธิปไตยได้ ๔ แนวทาง ได้แก่ ธรรมาธิปไตยเป็นเครื่องมือในการควบคุมตนเอง ธรรมาธิปไตยเป็นเครื่องมือในการพัฒนาตนเอง ธรรมาธิปไตยเป็นเครื่องมือในการตรวจสอบภายใน และธรรมาธิปไตยเป็นเครื่องมือในการตรวจสอบภายนอก

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕