หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » นายประทีป พืชทองหลาง
 
เข้าชม : ๑๖๗๖๔ ครั้ง
รูปแบบการปรึกษาเชิงพุทธตามหลักกัลยาณมิตร(พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พระพุทธศาสนา))
ชื่อผู้วิจัย : นายประทีป พืชทองหลาง ข้อมูลวันที่ : ๐๙/๐๖/๒๐๑๔
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระใบฎีกาเสน่ห์ าณเมธี (ดร.) นธ. เอก, พธ.บ. (ศาสนา), M.A. (Philosophy), Ph.D. (Philosophy)
  ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์จำลอง ดิษยวณิชM.Sc. (Medical Psychology), M.D. (Medicine), อ.ว. (จิตเวชศาสตร์),อ.ว. (จิตเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ่น)
  อาจารย์ ดร.พิสิฏฐ์ โคตรสุโพธิ์ ป.ธ. ๙, พธ.บ. (ปรัชญา), M.A. (Philosophy), Ph.D. (Philosophy)
วันสำเร็จการศึกษา :
 
บทคัดย่อ

                   การวิจัยนี้เป็นการวิจัยการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาหลักกัลยาณมิตรในพระพุทธศาสนาเถรวาท ๒) เพื่อศึกษารูปแบบการปรึกษาตามแนวคิดจิตวิทยาและตามหลักพระพุทธศาสนา ๓) เพื่อเสนอรูปแบบการปรึกษาเชิงพุทธตามหลักกัลยาณมิตร ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลจากพระไตรปิฎก อรรถกถา ตำราวิชาการ เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ แล้วทำการวิเคราะห์ และสังเคราะห์ข้อมูลต่างๆ แล้วนำมาเรียบเรียงนำเสนอในเชิงพรรณนา ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

                  กัลยาณมิตร คือ ผู้เป็นต้นแบบแห่งความดีงามทั้งในด้านกายกรรม วจีกรรมและมโนกรรม มีกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริตเป็นผู้มีคุณสมบัติพร้อมแห่งการแนะนำประโยชน์สุขแก่ผู้อื่น กัลยาณมิตรเป็นปัจจัยเบื้องต้นแห่งการพัฒนาชีวิตในทุกๆ ระดับ โดยมีพุทธพจน์ยืนยันอย่างหนักแน่นถึงความสำคัญของกัลยาณมิตรในการตั้งอยู่ในกุศลธรรม ตลอดถึงเป็นเหตุปัจจัยแห่งอริยมรรคมีองค์ ๘ ซึ่งเป็นวิถีทางอันประเสริฐในพุทธศาสนา   

                  ส่วนการบูรณาการรูปแบบการปรึกษาตามแนวคิดจิตวิทยาและตามหลักพระพุทธศาสนา ทำให้ได้พบรูปแบบการปรึกษาเชิงพุทธ ได้แก่ ๑) จุดมุ่งหมายของการปรึกษา มี ๓ ประการ คือ (๑) สกัดปัญหา (๒) เยียวยาคนทุกข์ (๓) เพิ่มสุขยั่งยืน ๒) คุณลักษณะของพระพุทธเจ้าในการปรึกษา คือ (๑) พระบุคลิกภาพชื่นตา (๒) พระวาจาชื่นใจ (๓) พระหฤทัยมั่นคง (๔) วางพระองค์สม่ำเสมอ (๕) ค้นเจอความแตกต่าง (๖) วางพระกรุณาในหมู่สัตว์ ๓) กระบวนการปรึกษาเชิงพุทธ มี ๕ ขั้นตอน คือ ๑) สร้างสัมพันธภาพ ๒) สำรวจตนเพื่อเข้าใจปัญหา สืบสาวหาสาเหตุ ๓) ขั้นปรึกษา ๔) ลงมือปฏิบัติ ๕) ติดตามผล การปรึกษาเชิงพุทธเป็นกระบวนการปฏิบัติที่ช่วยปลุกพลังทางปัญญาของพุทธบริษัทให้ ตื่นรู้ และเบิกบานในการดำเนินชีวิต สามารถสลัดออกจากทุกข์ได้ด้วยตนเองอย่างสิ้นเชิง  

                  สำหรับรูปแบบการปรึกษาเชิงพุทธตามหลักกัลยาณมิตร (KALYANAMITRA Model)    มีกระบวนการปรึกษา ๔ ขั้นตอน (๔ ส) ได้แก่ ๑) สร้างศรัทธา (Faith Development) ๒) สนทนาเปิดใจ (Mental Development)  ๓) เสริมธรรมเสริมปัญญา (Wisdom Development) ๔) แสวงหาสันติ (Peace Development) โดยมีแนวปฏิบัติ ๑๒ ประการ ของผู้ให้การปรึกษาและผู้ขอรับการปรึกษา ได้แก่  ๑) เพียบพร้อมด้วยปัญญา (Knowledgeable) ๒) ปฏิปทาน่าเลื่อมใส (Analytic Insight) ๓) ผู้นำจิตใจแห่งการภาวนา (Leadership) ๔) จิตอาสาเกื้อกูล (Yearning on volunteering) ๕) เกื้อหนุนความคิด (Advocating ideas) ๖) ร่วมจิตแก้ปัญหา (Noble Truth) ๗) มุ่งมั่นพัฒนาตน (Ambition) ๘) ดำรงชนม์ตามมรรคา (Middle Ways) ๙) วิปัสสนาเสริมชีวิต (Insight Development) ๑๐) กระบวนการคิดแยบคาย (Thinking Wisely) ๑๑) เดินตามสายสัมมาสติ (Right  Mindfulness) ๑๒) มิจฉาทิฏฐิมุ่งปหาน (Abandoning wrong view)

            องค์ความรู้สำคัญที่ได้จากการวิจัยเรื่องรูปแบบการปรึกษาเชิงพุทธตามหลักกัลยาณมิตรครั้งนี้ มี ๒ ประการ คือ ๑) รูปแบบกัลยาณมิตร (KALYANAMITRA Model) ซึ่งนำเสนอแนวปฏิบัติ ๑๒ ประการ ของการปรึกษาทั้งส่วนของผู้ให้การปรึกษาและผู้ขอรับการปรึกษา อันตั้งอยู่บนฐานของความเป็นกัลยาณมิตร คือ ปรโตโฆสะ และโยนิโสมนสิการ และ ๒) กระบวนการของการปรึกษาเชิงพุทธตามหลักกัลยาณมิตร ๔ ขั้นตอน เรียกกว่า ๔ ส Model คือ ๑) สร้างศรัทธา ๒) สนทนาเปิดใจ ๓) เสริมธรรมเสริมปัญญา และ ๔) แสวงหาสันติ

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕