หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระครูปลัดชัยวัฒน์ สมาหิโต (พรหมวงศ์)
 
เข้าชม : ๒๐๐๐๑ ครั้ง
การพัฒนาชุมชนตามหลักพรหมวิหาร ๔ ของสำนักงานเขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร (การพัฒนาสังคม)
ชื่อผู้วิจัย : พระครูปลัดชัยวัฒน์ สมาหิโต (พรหมวงศ์) ข้อมูลวันที่ : ๑๐/๑๒/๒๐๑๔
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาสม กลฺยาโณ
  ผศ.ดร.โกนิฏฐ์ ศรีทอง
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๔ มีนาคม ๒๕๕๗
 
บทคัดย่อ

  การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๓ ข้อ คือ ๑) เพื่อศึกษาการพัฒนาชุมชนของสำนักงานเขต   ตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร ตามความคิดเห็นของประชาชน ๒) เพื่อเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการพัฒนาชุมชนตามหลักพรหมวิหาร ๔ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ ๓)  เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะต่อการพัฒนาชุมชนตามหลักพรหมวิหาร ๔ ของสำนักงานเขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร 

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสม โดยใช้การวิจัยเชิงปริมาณ ใช้การวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือประชาชนที่ไปขอรับการใช้บริการจากสำนักงานเขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร จำนวน ๓๖๐ คน จากจำนวนผู้รับบริการทั้งหมด ๕,๐๐๐ คนในรอบ ๓ เดือน ซึ่งใช้วิธีการสุ่มตัวอย่าง โดยการเปิดตารางขนาดกลุ่มตัวอย่างของเครซี่และมอร์แกน (R.V.Krejcie & Morgan) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของประชากร คือ ค่าความถี่  ค่าร้อยละ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ระดับความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการพัฒนาชุมชนตามหลักพรหมวิหาร ๔ ของสำนักงานเขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร  คือ ค่าความถี่ (Frequencies) ร้อยละค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และทดสอบสมมติฐานโดยเพื่อบรรยายข้อมูลปัจจัยส่วนบุคคล การทดสอบค่าที (t-test) เพื่อทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยสองกลุ่ม และการทดสอบค่าเอฟ (F-test) ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) เพื่อทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยตั้งแต่สามกลุ่มขึ้นไป และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference : LSD) และการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informant) และใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท
ผลการวิจัยพบว่า
๑) การพัฒนาชุมชนตามหลักพรหมวิหาร ๔ ของสำนักงานเขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร ประชาชนมีความคิดเห็นโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (  = ๓.๔๗) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน มีค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยตามลำดับ คือ ด้านกรุณา (  = ๓.๓๔) ด้านอุเบกขา (  = ๓.๓๔)  ด้านมุทิตา (  = ๓.๕๘) และด้านเมตตา (  = ๓.๖๐) 
๒) ระดับความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการพัฒนาชุมชนตามหลักพรหมวิหาร ๔ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพ การศึกษา อาชีพ และรายได้ พบว่า ประชาชนที่มีอายุ สถานภาพ การศึกษาและรายได้ต่างกัน มีความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการพัฒนาชุมชนตามหลักพรหมวิหาร ๔ ของสำนักงานเขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร  แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ ส่วนประชาชนที่มีเพศและอาชีพต่างกัน มีความคิดเห็นต่อความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการพัฒนาชุมชนตามหลักพรหมวิหาร ๔ ของสำนักงานเขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร ไม่แตกต่างกัน
๓) ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการพัฒนาชุมชนตามหลักพรหมวิหาร ๔ ของสำนักงานเขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร พบว่าควรส่งเสริมการเรียนรู้ โดยมีการจัดอบรมให้กับผู้ปฏิบัติงานในด้านต่างๆ และปลูกฝังหลักคุณธรรมทำให้เจ้าหน้าที่มีความเสียสละในการปฏิบัติหน้าที่ ควรใช้หลักเหตุผลและใช้หลักฐานทางข้อมูลเป็นหลักสำคัญในการปฏิบัติงานและแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง ควรมีการแผนการดำเนินการพัฒนาชุมชนที่ชัดเจนมีแผนการก่อนหลัง และฉุกเฉิน ควรมีการให้การช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการทำงานด้านการพัฒนาชุมชน ควรมีการให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการทำงานเพื่อที่จะได้ร่วมกันแก้ไขปัญหาต่างๆ ควรมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่และประชาชนในชุมชนมีความสามัคคี จัดให้มีการอบรมธรรมะ และสร้างเสริมความสามัคคีรู้จักเสียสละเพื่อส่วนรวม ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรมนุษย์ให้ถูกกับความรู้ความสามารถเพื่อการพัฒนาชุมชนที่ดี สนับสนุนการศึกษาดูงานทั้งในและนอกสถานที่ เพื่อนำมาพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติงาน สร้างความเป็นผู้นำในตนเองและสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในกลุ่มโดยแสดงนํ้าใจต่อกัน  สร้างความสามัคคีโดยการจัดกิจกรรมส่งเสริมความสามัคคี เพื่อยึดหลักการพัฒนาชุมชนอย่างทั่วถึง ควรให้ความยุติธรรมในการปฏิบัติงานพัฒนาชุมชนแก่เจ้าหน้าที่ของสำนักงานเขตและประชาชนในพื้นที่ทุกคนอย่างเท่าเทียม
 

ดาวน์โหลด

 
 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕