หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » สุธาภรณ์ วรกาญจนกุล
 
เข้าชม : ๑๖๗๖๖ ครั้ง
กระบวนการส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียน โรงเรียน มัธยมศึกษา อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม(การบริหารการศึกษา)
ชื่อผู้วิจัย : สุธาภรณ์ วรกาญจนกุล ข้อมูลวันที่ : ๑๒/๑๒/๒๐๑๔
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ผศ. ดร. สิน งามประโคน
  ผศ. ดร. อินถา ศิริวรรณ
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๑ มีนาคม ๒๕๕๗
 
บทคัดย่อ

  การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์  (๑) เพื่อศึกษากระบวนการส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียน โรงเรียนมัธยมศึกษา  (๒) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับกระบวนการส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียน โรงเรียนมัธยมศึกษา(๓)  เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะกระบวนการส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียน โรงเรียนมัธยมศึกษา  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในกาวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่   ครูผู้ปฏิบัติการสอนนักเรียนในระดับมัธยมศึกษา จำนวน ๑๖๒  คน  โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม  วิเคราะห์ข้อมูล ด้วยการหาค่าเฉลี่ยความถี่ ร้อยละ ส่วนเบี่ยงแบนมาตรฐาน t-test และ F–test  (One–way ANOVA ) โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕

ผลการวิจัยพบว่า
๑. ความคิดเห็นของครูผู้ปฏิบัติการสอน  ที่มีต่อกระบวนการส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียน โรงเรียนมัธยมศึกษา อำเภอกำแพงแสน  จังหวัดนครปฐม   พบว่าโดยภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง   และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ความคิดเห็นต่อกระบวนการส่งเสริมการทำวิจัย
ในชั้นเรียน ในระดับมากที่สุด คือ ด้านการให้ความสำคัญกับงานวิจัยในชั้นเรียน และ ด้านการส่งเสริมให้เกิดความสำเร็จของงานวิจัยในชั้นเรียน    และ ด้านการให้ความยอมรับนับถือต่อครูผู้ทำวิจัยในชั้นเรียน   ด้านการมีความรับผิดชอบต่อครูผู้ทำวิจัยในชั้นเรียน   และด้านการส่งเสริมความก้าวหน้าในหน้าที่การงานของครูผู้ทำวิจัยในชั้นเรียน
๒. การเปรียบเทียบ  ความคิดเห็นเกี่ยวกับกระบวนการส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียน โรงเรียนมัธยมศึกษา อำเภอกำแพงแสน  จังหวัดนครปฐม   ในภาพรวมไม่แตกต่างกัน  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕  
  ๓. ปัญหา อุปสรร และข้อเสนอแนะการปรับปรุงกระบวนการส่งเสริมการทำวิจัย
ในชั้นเรียน โรงเรียนมัธยมศึกษา อำเภอกำแพงแสน  จังหวัดนครปฐม โดยภาพรวมเกี่ยวกับปัญหา
อุปสรรคทั้ง ๕ ด้านดังนี้ (๑) เนื้อหาในแบบสอบถามค่อนข้างยังกว้างมาก(๒)รูปแบบการทำการ
วิจัยในชั้นเรียนมีรูปแบบที่หลากหลายมากเกินไป  (๓)สถานศึกษาไม่ได้มีการจัดหรือแสดงผลงานของ
ครูผู้ทำงานวิจัย (๔)ขาดการสนับสนุนในหลายๆด้านจากสถานศึกษา  (๕)สถานศึกษายังไม่ได้ให้
ความสำคัญในเนื้อหาในการทำวิจัย   
ข้อเสนอแนะในการส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียนสถานศึกษาให้ความสำคัญกับงานวิจัยในชั้นเรียน โดยมีการอบรมให้ครูในโรงเรียนหรือนอกโรงเรียน  กำหนดใช้รูปแบบในการวิจัยที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน   สถานศึกษากำหนดแรงจูงใจให้กับครู เพื่อเป็นการยกย่องครูที่มีผลงานทางด้านการวิจัย   สถานศึกษาให้การสนับสนุนหรืออำนวยความสะดวกแก่ครูให้รางวัลสร้างขวัญและกำลังใจในการทำวิจัยของครูต่อไป
 

ดาวน์โหลด

 
 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕