หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » แพรวพรรณ เกษศิลป์
 
เข้าชม : ๒๐๐๑๘ ครั้ง
การศึกษาการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดการศึกษาตามหลักไตรสิกขา (การบริหารการศึกษา)
ชื่อผู้วิจัย : แพรวพรรณ เกษศิลป์ ข้อมูลวันที่ : ๑๓/๑๒/๒๐๑๔
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระเทพปริยัติเมธี
  ดร.อดิศัย กอวัฒนา
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๖ มีนาคม ๒๕๕๗
 
บทคัดย่อ

  การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดการศึกษาตามหลักไตรสิกขา ๒) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดการศึกษาตามหลักไตรสิกขาจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคล ๓) เพื่อศึกษาแนวทางการประยุกต์ใช้หลักไตรสิกขาในการจัดการศึกษาของสถานศึกษา

  ในการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงผสม (Mixed Methods Research) โดยใช้วิธี
การเชิงปริมาณ (Quantiative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอนและบุคลากรของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต ๒ อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ ผู้วิจัยกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยการเปิดตารางขนาดกลุ่มตัวอย่างสำเร็จรูปของ R.V.Krejcie และ D.W.Morgan 
ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน ๓๐๓ คน ผู้วิจัยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) 
โดยใช้เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยจัดทำขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ โดยมีค่าความเชื่อเท่ากับ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล 
ได้แก่ การหาความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test)
ใช้ทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยสองกลุ่ม การทดสอบค่าเอฟ (f-test) หรือการทดสอบการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (Ona-Way ANOVA) ซึ่งเป็นการทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยตั้งแต่สามกลุ่มขึ้นไปรวมทั้งการทดสอบการเป็นอิสระ (x-test of independent) เมื่อพบว่ามีความแตกต่างกันจึงทำการเปรียบเทียบรายคู่โดยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Lest Significant Difference : LSD) และสรุปข้อมูลปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะโดยวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล
  เมื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอนและบุคลากรของสถานศึกษา การจัดการศึกษาตามหลักไตรสิกขาพบว่า เพศ , ระดับการศึกษาและตำแหน่งหน้าที่ที่แตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อการจัดการศึกษาตามหลักตามหลักไตรสิกขาที่มีส่วนร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่แตกต่างกัน มีเพียงอายุและประประสบการณ์ทำงานที่มีผลต่อระดับความคิดเห็นต่อการจัดการศึกษาตามหลักไตรสิกขาที่มีส่วนร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ระดับนัยสำคัญที่ .๐๕
  ความคิดเห็นของบุคลากรที่มีต่อปัญหาและอุปสรรค พบว่า ด้านศีล เมื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและบุคลากรของสถานศึกษาตามหลักไตรสิกขาพบว่า เพศ, ระดับการศึกษาและตำแหน่งหน้าที่ที่แตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อการจัดการศึกษาตามหลักไตรสิกขาที่มีส่วนร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แตกต่างกัน ที่มีผลต่อระดับความคิดเห็นต่อการจัดการศึกษาที่ระดับนัยสำคัญที่ .๐๕ ปัจจัยส่วนบุคลในด้านอายุและประสบการณ์ทำงานที่แตกต่างกันไม่มีผลต่อระดับความคิดเห็นต่อการจัดการศึกษาตามหลักไตรสิกขาที่แตกต่าง จึงปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้
  ความคิดเห็นของบุคลากรที่มีต่อปัญหาและอุปสรรค พบว่า ด้านสมาธิ เมื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและบุคลากรของสถานศึกษาตามหลักไตรสิกขาพบว่า เพศ,อายุ, 
ระดับการศึกษาและตำแหน่งหน้าที่ที่แตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อการจัดการศึกษาตามหลักไตรสิกขาที่มีส่วนร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในด้านสมาธิแตกต่างกัน ที่มีผลต่อระดับความคิดเห็นต่อการจัดการศึกษาที่ระดับนัยสำคัญที่ .๐๕ ยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้ ปัจจัยส่วนบุคลด้านประสบการณ์ทำงานที่แตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อการจัดการศึกษาตามหลักไตรสิกขาไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้
  ความคิดเห็นของบุคลากรที่มีต่อปัญหาและอุปสรรค พบว่า ด้านปัญญา เมื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและบุคลากรของสถานศึกษาตามหลักไตรสิกขาพบว่า เพศ,ระดับการศึกษาและตำแหน่งหน้าที่ที่แตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อการจัดการศึกษาตามหลักไตรสิกขาที่มีส่วนร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในด้านปัญญาแตกต่างกัน ที่มีผลต่อระดับความคิดเห็นต่อการจัดการศึกษาที่ระดับนัยสำคัญที่ .๐๕ ยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้ ปัจจัยส่วนบุคคลด้านอายุและประสบการณ์ทำงานที่แตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการจัดการศึกษาตามหลักไตรสิกขาไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้
  สถานศึกษาร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการปลูกฝังหลักไตรสิกขา ด้านศีล สมาธิและปัญญาให้แก่นักเรียน ปลูกฝังด้านความประพฤติดีอย่างต่อเนื่อง ส่งเสริมให้เด็กมีความซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่น มีความขยันหมั่นเพียรในการศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรสนับสนุนด้านงบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ต่างๆให้กับสถานศึกษา จัดทำโครงการที่มีประโยชน์ต่อสถานศึกษาและชุมชน เช่น โครงการบรรพชาภาคฤดูร้อน การช่วยกันรักษาความสะอาดของชุมชนปลูกฝังให้เด็กนักเรียนสวดมนต์ไหวพระก่อนนอนและกราบไหว้บิดามารดาก่อนมาโรงเรียนและกลับจากโรงเรียน โครงการสนับสนุนโครงการอบรมคุณธรรมจริยธรรม โครงการส่งเสริมการเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ภายในจังหวัดและนอกเขตจังหวัด มีการร่วมมือระหว่างสถานศึกษากับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดงานประเพณีวัฒนธรรมต่างๆ

ดาวน์โหลด

 
 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕