หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » นายบัญชา ท่าทอง
 
เข้าชม : ๒๐๐๐๙ ครั้ง
ศึกษาการใช้หลักอิทธิบาท ๔ พัฒนาความรับผิดชอบของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย ( การบริหารการศึกษา )
ชื่อผู้วิจัย : นายบัญชา ท่าทอง ข้อมูลวันที่ : ๑๓/๑๒/๒๐๑๔
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ผศ. ดร. สิน งามประโคน
  ผศ.ดร. ชวาล ศิริวัฒน์
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๙ มีนาคม ๒๕๕๗
 
บทคัดย่อ

  การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้หลักอิทธิบาท ๔ พัฒนาความรับผิดชอบของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย เปรียบเทียบความรับผิดชอบของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย และศึกษาแนวทางในการพัฒนาความรับผิดชอบของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย 

กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ ๖ ปีการศึกษา 255๖ โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่มัธยมศึกษา เขต ๓ พระนครศรีอยุธยา – นนทบุรี จำนวน ๒๕๐ คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ การหาค่าร้อยละ ( percent )การหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การหาค่า t – test และ การหาค่า One – Way Anova โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์วิเคราะห์สถิติสำเร็จรูป
ผลการวิจัย
ผลการวิจัยพบว่า ความรับผิดชอบตามหลักอิทธิบาท ๔ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย มีความคิดเห็น โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้ออยู่ในระดับมากที่สุดทุกข้อ เรียงจากมากไปหาน้อย คือ ความรับผิดชอบตามหลักอิทธิบาท ๔ ด้านความรับผิดชอบต่อโรงเรียน ความรับผิดชอบตามหลักอิทธิบาท ๔ ด้านการประพฤติตนเป็นคนดี ความรับผิดชอบตามหลักอิทธิบาท ๔ ด้านความรับผิดชอบต่อชุมชนและประเทศชาติ ความรับผิดชอบตามหลักอิทธิบาท ๔ ด้านการความรับผิดชอบต่อครอบครัว และความรับผิดชอบตามหลักอิทธิบาท ๔ ด้านการศึกษา 
ผลการเปรียบเทียบข้อมูลการศึกษาความรับผิดชอบตามหลักอิทธิบาท ๔ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย จำแนกตามเพศและอาชีพของบิดา มารดา หรือผู้ปกครอง พบว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕  ส่วนตามห้องเรียน แผนการเรียน เกรดเฉลี่ยสะสม และสถานภาพของผู้ปกครอง พบว่าไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ๐.๐๕
ข้อเสนอแนะ 
๑. ด้านการศึกษา นักเรียนควรพอใจในสิ่งที่นักเรียนกำลังศึกษาและเอาใจใส่ให้มากขึ้นเพราะความพอใจที่จะเรียนเป็นแนวทางให้นักเรียนขยันและตั้งใจเรียน นักเรียนควรมีการนำเสนอผลการเรียน ความก้าวหน้าในการเรียนให้ครูประจำชั้น ผู้ปกครองทราบเป็นระยะสม่ำเสมอ ครูควรพัฒนากระบวนการสอน รูปแบบการคิด การสร้างแรงจูงใจให้กับนักเรียนเพื่อให้เกิดแรงกระตุ้นที่จะรับผิดชอบในเรื่องการเรียนให้มากขึ้น ๒. ด้านการประพฤติตนเป็นคนดี พบว่านักเรียนควรกตัญญูรู้คุณต่อผู้มีพระคุณเป็นก้าวแรก เพราะจะทำให้นักเรียนก้าวสู่การประพฤติ ปฏิบัติดีในทุกเรื่อง โรงเรียนควรที่จะมีกิจกรรมที่ส่งเสริมด้านศาสนาทุกอาทิตย์ หรือเป็นประจำ เพราะเป็นแนวทางให้นักเรียนประพฤติดีต่อไป ครูต้องเป็นแบบอย่างที่ดีให้นักเรียนเห็นเช่น การตรงต่อเวลา การเสียสละเวลาเพื่อนักเรียนและโรงเรียน ๓. ด้านการความรับผิดชอบต่อครอบครัว พบว่าควรสร้างกิจกรรมที่เป็นการสานสัมพันธ์ความรัก ความเข้าใจในครอบครัว ให้นักเรียนและผู้ปกครองได้พูดคุย ทำกิจกรรมร่วมกันที่บ้านและในโรงเรียน ๔. ด้านความรับผิดชอบต่อโรงเรียน พบว่าควรมีกิจกรรมที่เป็นการส่งเสริมให้นักเรียนได้ช่วยเหลือโรงเรียนและช่วยกันรับผิดชอบโรงเรียน เช่น มีกิจกรรมให้ทำพร้อมกับมีใบให้คะแนนความดีเมื่อนักเรียนได้ส่งเสริมและทำความดีให้กับโรงเรียน เมื่อนักเรียนทำความดีหรือสร้างชื่อเสียงให้กับโรงเรียนควรให้คะแนนความดีหรือใบเกียติบัตรรับรองความดี ๕. ด้านความรับผิดชอบต่อชุมชนและประเทศชาติ พบว่า ควรมีการติดตามพฤติกรรมนักเรียนในชุมชน ว่าเป็นอย่างไร ทำงานช่วยเหลือชุมชน สังคมที่นักเรียนอยู่อาศัยอย่างไรบ้าง และให้นักเรียนเขียนรายงานการทำงาน โดยให้ผู้นำชุมชนเขียนรับรองเพื่อให้นักเรียนนำมาเป็นเครื่องหมายรับรองการขอทุนต่างๆของทางโรงเรียน

ดาวน์โหลด

 
 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕