หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » ธวัลรัตน์ อ่อนราษฎร์
 
เข้าชม : ๑๖๗๖๐ ครั้ง
แรงจูงใจ ในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ของนิสิตปริญญาโท มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์(การบริหารการศึกษา)
ชื่อผู้วิจัย : ธวัลรัตน์ อ่อนราษฎร์ ข้อมูลวันที่ : ๑๓/๑๒/๒๐๑๔
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ดร.อดิศัย กอวัฒนา
  ผศ.ดร.วรกฤต เถื่อนช้าง
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๗ มีนาคม ๒๕๕๗
 
บทคัดย่อ

  การวิจัยในครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ศึกษา เรื่อง แรงจูงใจ ในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ของนิสิตปริญญาโทมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์ มีวัตถุประสงค์        ๑ . เพื่อศึกษาแรงจูงใจ ในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามหลักสติปัฏฐาน ๔ ของนิสิตปริญญาโทมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์ ๒. เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็น แรงจูงใจในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ของนิสิตปริญญาโทมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์ ระหว่าง บรรพชิต และ คฤหัสถ์ และ เพื่อเสนอแนวทางการแก้ปัญหาและพัฒนาองค์ความรู้ในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ของนิสิตปริญญาโทมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์

ดำเนินการวิจัยโดยระเบียบวิธีการวิจัยแบบผสม (Mixed Research) โดยวิธีวิจัยเชิงสำรวจ (Surrey Research) กลุ่มตัวอย่างคือนิสิตปริญญาโทมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์ ผู้วิจัยกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยการเปิดตารางขนาดกลุ่มตัวอย่างสำเร็จรูปของ R.V.Krejcie และ D.W.Morgan ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน ๒๕๐ รูป/คน ผู้วิจัยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) โดยใช้เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยจัดทำขึ้น และสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ โดยมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .๙๔๑ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การหาความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย   ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที     (t-test) ใช้ทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยสองกลุ่ม การทดสอบค่า F-test หรือการทดสอบการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) ซึ่งเป็นการทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยตั้งแต่สามกลุ่มขึ้นไป รวมทั้งการทดสอบการเป็นอิสระ ซึ่งเป็นการทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยตั้งแต่สามกลุ่มขึ้นไป เมื่อพบว่ามีความแตกต่างกันจึงทำการเปรียบเทียบรายคู่โดยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Lest Significant Difference : LSD) และสรุปข้อมูลปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ โดยวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล
แรงจูงใจ ในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ของนิสิตปริญญาโทมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์ พบว่า
๑) แรงจูงใจในการพัฒนาตนเอง ส่วนใหญ่มุ่งเน้นไปที่พัฒนาจิตใจให้บริสุทธิ์ สุขกาย    สุขใจ พัฒนาประสิทธิภาพในการตัดสินใจ คลายความเครียด
๒) แรงจูงใจในการ พัฒนาด้านการศึกษามุ่งเน้นเพื่อให้ประสบผลสำเร็จทางการศึกษา เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล เกิดการเรียนรู้สม่ำเสมอ และยกระดับผลสัมฤทธิ์ให้สูงขึ้น 
๓) แรงจูงใจในการพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับธรรมะ มุ่งเน้น เพื่อบูชาพระพุทธ  
พระธรรม พระสงฆ์ เพื่อให้เกิดปัญญา สะสมความดี เกิดสิริมงคลแก่ชีวิต คาดหวังบรรลุนิพพาน ศึกษาแนวทางปฏิบัติและผลการปฏิบัติที่ละเอียดมากขึ้น 
๔) แรงจูงใจในการ พัฒนาชุมชนและสร้างเครือข่าย สามารถนำไปพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็ง เป็นที่ยอมรับของชุมชนและให้ความร่วมมือ เป็นที่ปรึกษาชุมชนได้ ทำให้ชุมชนเกิดความเชื่อถือและศรัทธาในตัวเรา สามารถทำงานร่วมกับชุมชนและสร้างเครือข่ายชุมชนที่ดีได้
ผลการวิจัยพบว่า ระดับความคิดเห็นแรงจูงใจ ในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ของนิสิตปริญญาโทมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์ ทั้งเพศ อายุ อาชีพ และสมณะสารูป จากการวิเคราะห์ t-test และ F-test  พบว่าในภาพรวม และในรายด้านทั้ง ๔ ด้าน คือ พัฒนาตนเอง พัฒนาด้านการศึกษา พัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับธรรมะ และ พัฒนาชุมชนและสร้างเครือข่าย ทุกด้านและทุกข้อ คำนวณได้ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ .๐๕ นั่นคือ แรงจูงใจ ในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ของนิสิตปริญญาโทมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์  เพศ อายุ อาชีพ และสมณะสารูปต่างกัน มีความคิดเห็น ไม่แตกต่างกัน  ดังนั้นจึงต้องปฏิเสธสมมติฐาน
ข้อเสนอแนะ คือ แรงจูงใจ ในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ของนิสิตปริญญาโทมหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์ ควรมีแนวทางและวิธีการในการจูงใจเพิ่มขึ้น ทั้งสถานที่ ระยะเวลา บรรยากาศในการปฏิบัติ และสร้างแรงศรัทธาในการปฏิบัติมากขึ้น 

ดาวน์โหลด

 
 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕