หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » กิจจา โพแดน
 
เข้าชม : ๑๙๙๙๔ ครั้ง
การมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของเทศบาลตำบลลาดยาว อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ (รัฐประศาสนศาสตร์)
ชื่อผู้วิจัย : กิจจา โพแดน ข้อมูลวันที่ : ๒๑/๑๒/๒๐๑๔
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระเทพปริยัติเมธี, ผศ.ดร
  พระครูสังฆรักษ์เกียรติศักดิ์ กิตติปญฺโญ,ดร.
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๗
 
บทคัดย่อ

  การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของเทศบาลตำบลลาดยาว อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ ๒) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของเทศบาลตำบลลาดยาว อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ ๓) เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะต่อการมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของเทศบาลตำบลลาดยาว อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์  การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสม โดยใช้การวิจัยเชิงปริมาณ ใช้การวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือผู้นำชุมชนในเขตเทศบาลตำบลลาดยาว จำนวน ๑๐๓ คน จากจำนวนผู้นำชุมชน ๑๓๙ คน  ซึ่งใช้วิธีการสุ่มตัวอย่าง โดยการใช้สูตรของ Taro Yamana เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ (Frequencies) ร้อยละ (Percenty) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที (t-test) และการทดสอบค่าเอฟ (F-test) ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว(One Way ANOVA) ทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference : LSD) และการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informant) จำนวน ๑๐ ท่าน และใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท

ผลการวิจัยพบว่า
๑) การมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของเทศบาลตำบลลาดยาว อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ ผู้นำชุมชนมีส่วนร่วมโดยภาพรวมอยู่ ในระดับปานกลาง (  = ๓.๓๒) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า การมีส่วนร่วมด้านการรับผลประโยชน์ อยู่ในระดับมาก ส่วนด้าน การมีส่วนร่วมด้านการตัดสินใจ การมีส่วนร่วมด้านดำเนินการ และการมีส่วนร่วมด้านติดตามและประเมินผล อยู่ในระดับปานกลาง
๒) เปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของเทศบาลตำบลลาดยาว อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพ  ระดับการศึกษา รายได้ อาชีพ และระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาล พบว่า ผู้นำชุมชนที่มี เพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา รายได้ และระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาล ต่างกัน มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของเทศบาลตำบลลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ ไม่แตกต่างกัน ส่วนผู้นำชุมชนที่มีอาชีพ ต่างกัน มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของเทศบาลตำบลลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ 
๓) ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของเทศบาลตำบลลาดยาว อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ พบว่า ผู้นำชุมชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจคัดเลือกโครงการ/กิจกรรมในแผนพัฒนาท้องถิ่นเพื่อบรรจุเข้างบประมาณรายจ่ายเป็นส่วนน้อย ซึ่งเทศบาลขาดการสอบถามปัญหาและความต้องการที่แท้จริงของชุมชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของชุมชน และผู้บริหารท้องถิ่นตัดสินใจในการพัฒนาท้องถิ่นตามความคิดเห็นของตนเองมากกว่าความคิดเห็นและความต้องการของชุมชน  ซึ่งการปฏิบัติตามแผนพัฒนาท้องถิ่นไม่เป็นไปตามที่ได้วางแผนไว้ ข้อเสนอแนะเทศบาลตำบลลาดยาว ควรก่อสร้างบำรุงรักษาถนน สะพาน ทางเท้าตามซอยต่างๆ ให้มากกว่าเดิม และเทศบาลฯ ควรก่อสร้างพนังกั้นน้ำเพื่อป้องกันริมตลิ่งพังและบ้านเรือนราษฎรไม่ให้ได้รับความเสียหาย

ดาวน์โหลด


 
 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕