หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » นุชปภาดา ธนวโรดม
 
เข้าชม : ๒๐๐๑๗ ครั้ง
พฤติกรรมการเลือกตั้งของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเทศบาลนครนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ (รัฐประศาสนศาสตร์)
ชื่อผู้วิจัย : นุชปภาดา ธนวโรดม ข้อมูลวันที่ : ๒๘/๑๒/๒๐๑๔
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูสังฆรักษ์เกียรติศักดิ์ กิตติปญฺโญ,ดร.
  พระโสภณวราภรณ์, ดร.
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๗
 
บทคัดย่อ

  การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาพฤติกรรมการเลือกตั้งของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเทศบาลนครนครสวรรค์ ๒) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับพฤติกรรมการเลือกตั้งของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเทศบาลนครนครสวรรค์ โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ ๓) เพื่อศึกษาแนวทางส่งเสริมพฤติกรรมการเลือกตั้งของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเทศบาลนครนครสวรรค์ 

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสม โดยใช้การวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเทศบาลนครนครสวรรค์ จำนวน ๓๙๘ คน จากประชาชนจำนวน ๖๔,๕๒๖ คน ซึ่งใช้วิธีการสุ่มตัวอย่าง โดยการใช้สูตรของ Taro Yamana เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ (Frequencies) ร้อยละ (Percenty) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที (t-test) และการทดสอบค่าเอฟ (F-test) ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว(One Way ANOVA) และการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informant) และใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท
ผลการวิจัยพบว่า
ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อพฤติกรรมการเลือกตั้งของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเทศบาลนครนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ โดยรวมอยู่ในระดับ มาก มีค่าเฉลี่ย ๓.๗๘ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านสรุปได้ ดังนี้ ๑) ด้านการใช้สิทธิเลือกตั้ง อยู่ในระดับ มาก มีค่าเฉลี่ย ๓.๗๗ ๒) ด้านการลงคะแนนเลือกตั้ง อยู่ในระดับ มาก มีค่าเฉลี่ย ๔.๐๙ และ ๓) ด้านระยะเวลาการตัดสินใจเลือกตั้ง  อยู่ในระดับ ปานกลาง มีค่าเฉลี่ย ๓.๔๖ 
ผลการทดสอบสมมติฐานการวิจัย เพศและรายได้ ไม่พบความแตกต่างกัน ซึ่งเป็นการปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้ ส่วนอายุ สถานภาพ การศึกษา และอาชีพ พบความแตกต่างกันเป็นการยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้
ข้อเสนอแนะ ควรทำการศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมการหาเสียงของผู้สมัครรับเลือกตั้งทั้งผู้บริหารและสมาชิกสภาเทศบาล ควรทำการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการไปใช้สิทธิเลือกตั้งผู้บริหารและสมาชิกสภาเทศบาล  ควรทำการศึกษาพฤติกรรมการเลือกตั้งของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในลักษณะเดียวกันในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น  และควรทำการศึกษาเกี่ยวกับนโยบายของผู้สมัครรับเลือกตั้งทั้งผู้บริหารและสมาชิกสภาเทศบาล

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕