หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » ประยงค์ พรมมา
 
เข้าชม : ๑๖๗๕๗ ครั้ง
การบริหารงานตามหลักอปริหานิยธรรม ขององค์การบริหารส่วน จังหวัดขอนแก่น (รัฐประศาสนศาสตร์)
ชื่อผู้วิจัย : ประยงค์ พรมมา ข้อมูลวันที่ : ๒๓/๑๒/๒๐๑๔
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ผศ.ดร.ชาญชัย ฮวดศรี
  ดร.ปัญญา คล้ายเดช
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๐ มกราคม ๒๕๕๗
 
บทคัดย่อ

  การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (๑) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถาม  (๒) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของพนักงานที่มีต่อการบริหารงานตามหลักอปริหานิยธรรม ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น  (๓) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของพนักงานที่มีต่อการบริหารงานตามหลักอปริหานิยธรรมขององค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น จำแนกตาม เพศ, อายุ, ระดับการศึกษา, ตำแหน่งงาน, ส่วนราชการ, รายได้ต่อเดือน, และอายุทำงาน (๔) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น การศึกษาวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน(Mixed Method) คือ การวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ ศึกษากับพนักงานองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่นที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง จำนวน ๑๓๕ คน โดยใช้เครื่องมือในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม เสร็จแล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ เพื่อหาค่าความถี่(Frequency) ร้อยละ(Percentage) ค่าเฉลี่ย(Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(S.D.) การทดสอบค่าที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One way ANOVA) และสำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้เครื่องมือในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์ โดยรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก    (In-Depth interview)  กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key informants)  จำนวน ๕ คน โดยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา(Content Analysis) อธิบายในรูปของความเรียง

ผลการวิจัยพบว่า
๑. ผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย  มีอายุตั้งแต่ ๔๐-๔๙ ปี มีระดับการศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี อยู่ในภาคส่วนราชการ กองช่าง มีตำแหน่งข้าราชการ มีรายได้ตั้งแต่ ๒๐,๐๐๑ บาทขึ้นไป มีระยะเวลาในการดำรงตำแหน่ง ๑ - ๕ ปี
๒. พนักงานมีความคิดเห็นต่อการบริหารงานตามหลักอปริหานิยธรรมขององค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( X ̅ = ๔.๕๖) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าพนักงานมีความคิดเห็นต่อการบริหารงานตามหลักอปริหานิยธรรม อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน โดยเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยตามลำดับ คือ ด้านการเคารพเชื่อฟังผู้บังคับบัญชา, ด้านการให้เกียรติและคุ้มครองสิทธิสตรี, ด้านการส่งเสริมและรักษาวัฒนธรรมประเพณีอันดีงาม, ด้านการอารักขาคุ้มครองปกป้องอันชอบ, ด้านการพร้อมเพียงกันประชุม, ด้านการประชุมกันเนืองนิตย์, และด้านการไม่บัญญัติ หรือไม่ล้มเลิกข้อบัญญัติตามอำเภอใจ ตามลำดับ
๓. พนักงานที่มีเพศ,และส่วนราชการ ที่ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารงานตามหลักอปริหานิยธรรมขององค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น แตกต่างกัน เป็นไปต่างสมมติที่ตั้งไว้ ส่วนพนักงานที่มี อายุ, ระดับการศึกษา, ตำแหน่งงาน, รายได้ต่อเดือน, และอายุการทำงาน ที่ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารงานตามหลักอปริหานิยธรรมขององค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่นไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้
๔. แนวทางในการบริหารงานองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น พบว่า ควรมีการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจแก่พนักงาน ในด้านการนำอปริหานิยธรรม ๗ มาใช้กับการทำงานให้มากยิ่งขึ้น, ควรส่งเสริมให้มีการทำงานเพื่อประโยชน์ส่วนร่วมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน ไม่แสวงหาผลประโยชน์จากตำแหน่งหน้าที่การงาน, ควรคัดสรรบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ ตรงตามลักษณะของงาน, ควรส่งเสริมและสนับสนุนให้พนักงาน ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่นได้มีโอกาสพัฒนาความรู้ความสามารถในการทำงานทั้งในองค์การ และนอกมากยิ่งขึ้น, และควรสร้างบรรยากาศพัฒนาสภาพแวดล้อมในการทำงานให้เอื้อต่อการทำงานตลอดจนการพัฒนาการจัดกิจกรรมขององค์การให้มีความทันสมัยและให้น่าสนใจยิ่งขึ้น

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕