หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระธงชัย อุปคุตฺโต (ถนอมชาติ)
 
เข้าชม : ๑๖๐๘๗ ครั้ง
บทบาทของพระสงฆ์กับการพัฒนาสังคม กรณีศึกษาเครือข่าย สังฆพัฒนาแผ่นดินธรรมแผ่นดินทอง อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ
ชื่อผู้วิจัย : พระธงชัย อุปคุตฺโต (ถนอมชาติ) ข้อมูลวันที่ : ๐๘/๐๘/๒๐๑๕
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูธรรมธรศิริวัฒน์ สิริวฑฺฒโน
  สุพิมล ศรศักดา
  เรืองเดช เขจรศาสตร์
วันสำเร็จการศึกษา : 2557
 
บทคัดย่อ

 การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ๑. เพื่อศึกษาความเป็นมาและความสำคัญของพระสงฆ์องค์การเครือข่ายสังฆพัฒนาแผ่นดินธรรมแผ่นดินทอง ๒. เพื่อศึกษาบทบาทของพระสงฆ์กับการพัฒนาสังคมตามหลักการแนวพุทธขององค์การเครือข่าย สังฆพัฒนาแผ่นดินธรรมแผ่นดินทองจังหวัดอำนาจเจริญ และ ๓. เพื่อศึกษาอุปสรรคและผลสำเร็จการพัฒนาสังคมตามหลักการแนวพุทธขององค์การเครือข่ายสังฆพัฒนาแผ่นดินธรรมแผ่นดินทองจังหวัดอำนาจเจริญโดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก สรุปผลการวิจัยได้ดังนี้

โครงการแผ่นดินธรรมแผ่นดินทองมีที่มาจากโครงการพัฒนาชนบทแบบผสมผสาน เดิมใช้ชื่อว่า “โครงการหมู่บ้านในฝัน” เกิดจากปัญหาของชนบทมีการพัฒนาอย่างสมดุลทั้ง ๓ ด้าน คือ ด้านจิตใจ ด้านสังคม และด้านเศรษฐกิจ เป็นการถวายพระราชสักการะแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในมหามงคลสมัยที่ทรงเจริญพระชนมพรรษา ๕ รอบ ใน พ.ศ. ๒๕๓๐

          บทบาทพระสงฆ์และความสำคัญขององค์การเครือข่ายสังฆพัฒนาแผ่นดินธรรมแผ่นดินทองด้านการศึกษาศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเพื่อแบ่งเบาภาระของผู้ปกครองที่ต้องทำมาหากิน และไม่มีเวลาดูแล นอกจากนี้เพื่ออบรมสั่งสอนเด็กเล็กให้มีความรู้ และมีคุณธรรม จริยธรรม และเตรียมความพร้อมให้เด็กๆก่อนจะเลื่อนไปเรียนในระดับประถมศึกษาต่อไปด้านสังคมสงเคราะห์ขององค์การเครือข่ายสังฆพัฒนาแผ่นดินธรรมแผ่นดินทองการพัฒนาคุณภาพชีวิต การช่วยเหลือประชาชน โดยยึดหลักศาสนธรรมควบคู่กับการพัฒนาวัตถุ เช่น การส่งเสริมอาชีพการปลูกผักสวนครัวปลอดสารพิษ การทำสวนสมุนไพร การจัดตั้งกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์  นอกจากนี้พระสงฆ์ได้มีบทบาทกิจกรรมลดการติดยาเสพติดในชุมชน ด้วยการใช้หลักอปริหานิยธรรม คือ หลักการอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มคณะของผู้ติดยาเสพติด และมีการใช้หลักสามัคคีธรรม คือ การสร้างความร่วมมือ ปรองดอง เกื้อกูลรักใคร่ รวมถึงหลักธรรมไตรสิกขา คือ ได้รักษาศีล ได้เจริญสมาธิ และได้เจริญปัญญาของผู้ติดยาได้มีจิตใจเข้มแข็ง ไม่หวนกลับไปเสพยาเสพติดอีก

อุปสรรคของการเผยแผ่ศาสนา ขององค์การเครือข่ายสังฆพัฒนาแผ่นดินธรรมแผ่นดินทอง ที่จังหวัดอำนาจเจริญ ปัญหาใหญ่ที่พบได้แก่ การขาดแคลน พระสงฆ์ที่ขาดความเข้าใจหลักธรรม และเป็นพระสงฆ์ที่บวชนานและมีความรู้ เพราะปัจจุบันจะเป็นการบวชตามประเพณี บวชแล้วก็สึก นอกจากนี้ก็ขาดแคลนงบประมาณ ขาดการสนับสนุนจากเจ้าคณะ ขาดแคลนอุปกรณ์การเผยแผ่ และการบริหารจัดการ การทำงานอย่างเป็นระบบ  อุปสรรคของกลุ่มสัจจะออมทรัพย์วัดเทพมงคล สาเหตุที่ประสบความล้มเหลวกรรมการและสมาชิกการขาดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องและการหย่อนในคุณธรรมของกรรมการโดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องความซื่อสัตย์และความรับผิดชอบ

อุปสรรคด้านการศึกษาพัฒนาศูนย์เด็กเล็กได้ดังนี้ครูพี่เลี้ยงประจำศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบางคนยังไม่ทราบบทบาทหน้าที่ของตนในการมีส่วนร่วมพัฒนาศูนย์เด็กเล็ก นอกจากนี้ยังขาดแคลนงบประมาณ และผู้ปกครองที่เข้าร่วมประชุมที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบางคนไม่ค่อยกล้าแสดงความคิดเห็นสำหรับปัญหาศูนย์บำบัดยาเสพติดที่วัดเทพมงคล การรักษาผู้ติดยาเสพติด ด้วยการบำบัดวัดเทพมงคลไม่เหมาะ อยู่ใกล้ชุมชนเกินไป มีที่พักให้สำหรับผู้บำบัด แต่ผู้บำบัดแอบออกไปเที่ยวในเมืองเพราะวัดตั้งอยู่ใจกลางชุมชน

          ความสำเร็จการจัดตั้งกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์การบริหารจัดการกลุ่มประสบผลสำเร็จต้องเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับกลุ่มสัจจะออมทรัพย์ โดยที่บุคคลที่เป็น เช่น กรรมการ และประธานกลุ่ม ต้องมีภาวะผู้นำมีวิสัยทัศน์ความสำเร็จด้านการจัดการศึกษาศูนย์เด็กเล็กวัดเทพมงคลเกิดจากความเอาใจใส่ของพระครูพระครูมงคลวรวัฒน์ โดยการคัดเลือก ครูพี่เลี้ยงมีความรู้ความสามารถในวิชาชีพสาขาการศึกษาปฐมวัย ในการให้ความรู้แก่เด็กปฐมวัย มีความรับผิดชอบมีคุณธรรม จริยธรรมความสำเร็จด้านการเผยแผ่ศาสนานั้น พระสงฆ์ที่เผยแผ่ธรรมได้ใช้แนวทางการเผยแผ่ของพระพุทธเจ้า  ได้แก่ แนวคำสอน ๑. สันทัสสนา อธิบายให้เห็นชัดเจนแจ่มแจ้ง เหมือนจูงมือให้ไปเห็นกับตา ๒. สมาทปนา ชักจูงใจให้เห็นจริงด้วย ชวนให้คล้อยตาม จนต้องยอมรับและนำไปปฏิบัติตาม ๓.สมุตเตชนาเร้าใจให้แกล้วกล้าบังเกิดกำลังใจปลุกให้มีอุตสาหะแข็งขันมั่นใจว่าจะทำให้สำเร็จได้ไม่หวั่นระย่อต่อความเหนื่อยยาก ๔. สัมปหังสนาชโลมใจให้แช่มชื่น ร่าเริง เบิกบาน ฟังไม่เบื่อมองเห็นคุณประโยชน์ที่ตนจะได้รับจากการปฏิบัติ

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕