หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระปลัดสนชัย ภูมิปาโล (หามนตรี)
 
เข้าชม : ๒๐๐๒๕ ครั้ง
ประสิทธิภาพการจัดการศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกธรรมศึกษาในอำเภอภาชี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา(การจัดการเชิงพุทธ)
ชื่อผู้วิจัย : พระปลัดสนชัย ภูมิปาโล (หามนตรี) ข้อมูลวันที่ : ๑๙/๐๙/๒๐๑๕
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พิเชฐ ทั่งโต
  พระมหาอำนวย อํสุการี
  วันชัย สุขตาม
วันสำเร็จการศึกษา : 2555
 
บทคัดย่อ

             การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการจัดการศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรมศึกษาในอำเภอภาชี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ๒) เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพการจัดการศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกธรรมศึกษาในอำเภอภาชี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ ๓) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ แนวทางเกี่ยวกับการจัดการศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกธรรมศึกษาในอำเภอภาชี จังหวัดพระนครศรีอยุธยาให้มีประสิทธิภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนโรงเรียนในอำเภอภาชีจำนวน ๒๑ โรงเรียน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ถึงระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ และระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ ปีการศึกษา ๒๕๕๔ จำนวน ๓๖๗ คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม เกี่ยวกับประสิทธิภาพการจัดการศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกธรรมศึกษาในอำเภอภาชี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งแบ่งออกเป็น ๓ ตอน คือ ตอนที่ ๑ เป็นข้อมูลเกี่ยวกับสถานภาพทั่วไปของนักเรียนผู้ตอบแบบสอบถาม ตอนที่ ๒ เป็นข้อมูลเกี่ยวกับประสิทธิภาพการจัดการศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกธรรมศึกษา ประกอบด้วย  ๕  ด้าน คือ ด้านหลักสูตร ด้านผู้สอน ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน ด้านปัจจัยสนับสนุนการเรียนการสอน ด้านการประเมินผลการเรียน และตอนที่ ๓ เป็นข้อมูลเกี่ยวกับปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ เกี่ยวกับประสิทธิภาพการจัดการศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกธรรมศึกษาในอำเภอภาชี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์ โดยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และใช้สถิติทดสอบสมมติฐานโดยการใช้การทดสอบค่าที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA)  

ผลการวิจัย พบว่า

               ๑) ประสิทธิภาพการจัดการศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกธรรมศึกษาในอำเภอภาชี จังหวัดพระนครศรีอยุธยาโดยรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๓.๙๑ และเมื่อพิจารณาทุกด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน ตามลำดับคือ ด้านผู้สอน ด้านหลักสูตรด้านการประเมินผลการเรียน ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน และด้านปัจจัยสนับสนุนการเรียนการสอน

            ๒) ผลการเปรียบเทียบระดับประสิทธิภาพการจัดการศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกธรรมศึกษาในอำเภอภาชี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำแนกตามสถานภาพ พบว่า นักเรียนที่มี เพศต่างกัน มีความคิดเห็นต่อประสิทธิภาพการจัดการศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกธรรมศึกษาในอำเภอภาชี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แตกต่างกัน มีผลทำให้ความคิดเห็นต่อประสิทธิภาพการจัดการศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกธรรมศึกษาในอำเภอภาชี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ไม่แตกต่างกัน โดยไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่กำหนดไว้ จึงปฏิเสธตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ ส่วนนักเรียนที่มี อายุ ระดับชั้นที่กำลังศึกษาอยู่ ระดับชั้นความรู้ธรรมศึกษา และจำนวนปีที่เรียนธรรมศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นต่อประสิทธิภาพการจัดการศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกธรรมศึกษาในอำเภอภาชี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แตกต่างกัน มีผลทำให้ความคิดเห็นต่อประสิทธิภาพการจัดการศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกธรรมศึกษาในอำเภอภาชี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ จึงยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้

            ๓) ผลการศึกษาปัญหา และอุปสรรค ต่อประสิทธิภาพการจัดการศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกธรรมศึกษาในอำเภอภาชี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พบว่า (๑) ด้านหลักสูตร เวลาที่ใช้เรียนวิชาธรรมศึกษามีเวลาน้อยเกินไป (๒) ด้านผู้สอน ผู้สอนมีเวลาในการสอนวิชาธรรมศึกษาน้อยเกินไป (๓) ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน กิจกรรมการเรียนการสอนนั้นเน้นการบรรยายมากเกินไป (๔) ด้านปัจจัยสนับสนุนการเรียนการสอน ผู้เรียนไม่มีหนังสือเรียนสำหรับวิชาธรรมศึกษาครบได้ทุกคน และ (๕) ด้านการประเมินผลการเรียน ผู้เรียนไม่ค่อยทำงานส่งหรือส่งแต่ไม่ได้ตามกำหนดเวลาที่ให้ไว้

            แนวทางแก้ไขปัญหาในด้านต่าง ๆ พบว่า (๑) ด้านหลักสูตร สรุปเนื้อหาที่จะนำไปสอนให้สั้นกระชับในเนื้อหาวิชาเพื่อทำให้ผู้เรียนเข้าใจง่ายยิ่งขึ้น  (๒) ด้านผู้สอน ต้องเพิ่มเวลาสำหรับในการสอนวิชาธรรมศึกษาให้มากกว่าเดิมอีก (๓) ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน ควรมีการเพิ่มกิจกรรมการเรียนการสอนนอกจากบรรยายแล้วควรเพิ่มการให้ฝึกภาคปฏิบัติให้สมดุลกับการบรรยาย (๔) ด้านปัจจัยสนับสนุนการเรียนการสอน ต้องหาหนังสือเรียนวิชาธรรมศึกษามาให้ผู้เรียนได้ครบทุกคนเพื่อจะได้นำไปอ่านเพื่อความเข้าใจยิ่งขึ้น และ (๕) ด้านการประเมินผลการเรียน ควรให้เวลาในการมอบหมายงานให้เหมาะสมกับงานที่ให้ไปกับผู้เรียนด้วย 

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕