หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระใบฎีกาเฉลิมพล ฐานุตฺตโร (โพธิ์ประชุม)
 
เข้าชม : ๑๙๙๙๓ ครั้ง
บทบาทของพระสงฆ์ในการเสริมสร้างชุมชนเข้มแข็งในอำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม (การจัดการเชิงพุทธ)
ชื่อผู้วิจัย : พระใบฎีกาเฉลิมพล ฐานุตฺตโร (โพธิ์ประชุม) ข้อมูลวันที่ : ๒๓/๐๙/๒๐๑๕
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  สุรพล สุยะพรหม
  พระมหาบุญเลิศ อินฺทปญฺโญ
  ยุทธนา ปราณีต
วันสำเร็จการศึกษา : 2556
 
บทคัดย่อ

              การศึกษาวิจัยเรื่อง บทบาทของพระสงฆ์ในการเสริมสร้างชุมชนเข้มแข็งในอำเภอเมืองจังหวัดนครปฐม นี้ มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ (๑) เพื่อศึกษาบทบาทของพระสงฆ์ในการเสริมสร้างชุมชนเข้มแข็งในอำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม (๒)  เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับบทบาทของพระสงฆ์ในการเสริมสร้างชุมชนเข้มแข็งในอำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม และ (๓) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะบทบาทของพระสงฆ์ในการเสริมสร้างชุมชนเข้มแข็งในอำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม เป็นการวิจัยแบบผสม (Mixed Research) โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม (Questionnaire) วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้โดยหาค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation : S.D.) ทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติ Chi-Square Tests เพื่ออธิบายความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต้น (Independent Variables) และตัวแปรตาม (Dependent Variables) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Quantitative Research) ที่ได้รวบรวมข้อมูลโดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก (Indepth Interview) จากพระสงฆ์ในอำเภอเมืองจังหวัดนครปฐม

            

             ผลการวิจัย พบว่า

            ๑.  พระสงฆ์จังหวัดนครปฐม มีบทบาทต่อการเสริมสร้างชุมชนให้เข้มแข็ง ในระดับปานกลาง (x = ๒.๙๕) เมื่อจำแนกเป็นรายข้อพบว่า พระสงฆ์มีบทบาทในการเสริมสร้างชุมชนให้เข้มแข็ง ที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในอันดับสูงที่สุด ได้แก่ จัดบริเวณวัดให้ร่มรื่นเป็นตัวอย่างแก่ชุมชน (x = ๓.๗๐) รองลงมา ได้แก่สอนธรรมศึกษาแล้วสอดแทรกเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการสร้างชุมชนให้เข้มแข็ง (x = ๓.๓๓) และค่าเฉลี่ยอยู่ในอันดับต่ำที่สุด ได้แก่ จัดโครงการทัศนศึกษาเพื่อนำชาวบ้านไปสัมผัส หน่วยงานที่ดำเนินการเรื่องการสร้างชุมชนให้เข้มแข็ง (x = .๖๒)

             ๒.  ผลการทดสอบสมมติฐาน ๖ ข้อ โดยใช้ Chi-Square ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ ๐.๐๕ พบว่า สมมติฐาน ๔ ข้อคือ อายุ วุฒิการศึกษาทางโลก วุฒิการศึกษาทางธรรมและวุฒิการศึกษาทางเปรียญ ไม่มีความสัมพันธ์กับบทบาทของพระสงฆ์ในการเสริมสร้างชุมชนเข้มแข็ง เป็นการปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้ และสมมติฐานอีก ๒ ข้อคือพรรษา สถานะภายในวัด มีความสัมพันธ์กับบทบาทของพระสงฆ์ในการเสริมสร้างชุมชนเข้มแข็ง เป็นการยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้

                 ๓.  ผลการศึกษาปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะบทบาทของพระสงฆ์ในการเสริมสร้างชุมชนเข้มแข็ง มีดังนี้

                 ๑) ปัญหาที่พระสงฆ์ควรเข้าไปแก้ไขเป็นอันดับแรก คือ ปัญหาเรื่องการขาดศีลธรรม และปัญหาเรื่องความขัดแย้งของคนในชุมชน อันเป็นปัญหาที่มีความรุนแรงอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญที่เป็นอุปสรรคต่อการเสริมสร้างชุมชนเข้มแข็ง

                 ๒) ข้อเสนอแนะ พระสงฆ์ควรพัฒนาบทบาทที่มีต่อชุมชน จากฐานะที่เป็นเพียงผู้ให้การสนับสนุนร่วมกับองค์กรพัฒนาชุมชนต่างๆ ไปเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณในการเสริมสร้างชุมชนเข้มแข็ง ด้วยการแนะนำหรือเทศน์สอนโน้มน้าวจิตใจให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของการเสริมสร้างชุมชนเข้มแข็ง

                 ๓) พระสงฆ์ต้องเป็นสื่อกลางในการชักจูงประชาชนให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนของตนด้วยความเต็มใจ และต้องประสานงานกับภาครัฐและองค์กรเอกชนต่างๆ ให้ใช้สถานที่ของวัดเป็นที่ฝึกอบรมและพัฒนาอาชีพแก่คนในชุมชน หรือเป็นสถานที่จัดโครงการต่างๆ ที่นำไปสู่การเสริมสร้างชุมชนเข้มแข็ง

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕