หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » น.ส. ยุภา เทอดอุดมธรรม
 
เข้าชม : ๑๙๙๙๘ ครั้ง
การศึกษาหลักพุทธธรรมที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการให้การพยาบาลตามบทบาทเชิงวิชาชีพ : ศึกษากรณีพยาบาลวิชาชีพสังกัดกระทรวงสาธารณสุข จังหวัดสุราษฎร์ธานี(๒๕๔๘)
ชื่อผู้วิจัย : น.ส. ยุภา เทอดอุดมธรรม ข้อมูลวันที่ : ๒๑/๐๘/๒๐๑๐
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาสมจินต์ สมฺมาปญฺโญ
  พ.อ.(พิเศษ)ดร.วีระ วงศ์สรรค์
  นายสนิท ศรีสำแดง
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕ กมภาพันธ์ ๒๕๔๘
 
บทคัดย่อ

     งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสาระสำคัญของหลักพุทธธรรมที่นำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานวิชาชีพพยาบาล และวิเคราะห์อิทธิพลของหลักพุทธธรรมต่อพฤติกรรมการให้การพยาบาลตามบทบาทเชิงวิชาชีพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นพยาบาลวิชาชีพที่เป็นพุทธศาสนิกชนจากโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข จังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน ๒๑๖ คน ซึ่งได้จากการสุ่มหลายขั้นตอน ตัวแปรต้นในการวิจัยมี ๓ ตัวแปร คือ (๑) ลักษณะทางพระพุทธศาสนามี ๓ ตัวแปร ได้แก่ การปฏิบัติตนตามหลักพรหมวิหาร ๔ การปฏิบัติตนตามหลักฆราวาสธรรม ๔ และวิถีชีวิตแบบพุทธ (๒) ลักษณะทางจิต ได้แก่ สุขภาพจิต (๓) ปัจจัยภูมิหลัง ๓ ตัวแปร ได้แก่ อายุ สถานภาพ และประสบการณ์การทำงาน ส่วนตัวแปรตามได้แก่ พฤติกรรมการให้การพยาบาลในบทบาทเชิงวิชาชีพ ๔ ด้าน ได้แก่ พฤติกรรมการพยาบาลด้านการป้องกัน พฤติกรรมการพยาบาลด้านการส่งเสริมสุขภาพ พฤติกรรมการพยาบาลด้านการดูแลรักษา และพฤติกรรมการพยาบาลด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพ มีการรวบรวมข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยคำนวณค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความแปรปรวนทางเดียว การทดสอบค่าที ค่าเอฟ วิธีของดันแคน และหาสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
๑. การวิจัยที่เกี่ยวกับหลักพุทธธรรมที่นำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานการพยาบาลพบว่า หลักพรหมวิหาร ๔ และฆราวาสธรรม ๔ ทำให้พยาบาลเป็นผู้ที่ประพฤติเกื้อกูลต่อผู้อื่น มีความอิ่มเอิบใจเมื่อผู้อื่นมีความสุข สามารถวางใจเป็นกลางต่อปัญหาที่เกิดขึ้น มีความซื่อสัตย์ เสียสละ อดทนและอดกลั้น นับเป็นหลักธรรมที่เกื้อกูลการปฏิบัติงานในวิชาชีพการพยาบาล ส่งผลให้พยาบาลปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพและมีความสุข
๒. พฤติกรรมการให้การพยาบาลในบทบาทเชิงวิชาชีพของพยาบาลวิชาชีพ
โดยรวม อยู่ในระดับบ่อยครั้ง และเมื่อพิจารณาแต่ละด้าน พบว่า พฤติกรรมการพยาบาล
ด้านการป้องกัน พฤติกรรมการพยาบาลด้านการส่งเสริมสุขภาพ และพฤติกรรมการพยาบาล
ด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพ อยู่ในระดับบ่อยครั้ง ส่วนพฤติกรรมการพยาบาลด้านการดูแลรักษา
อยู่ในระดับทุกครั้ง
๓. ลักษณะทางพระพุทธศาสนา พบว่า มีการปฏิบัติตนตามหลักพรหมวิหาร ๔
อยู่ในระดับทุกครั้ง ส่วนการปฏิบัติตนตามหลักฆราวาสธรรม ๔ และวิถีชีวิตแบบพุทธอยู่ในระดับบ่อยครั้ง
๔. พยาบาลวิชาชีพมีสุขภาพจิต อยู่ในระดับค่อนข้างดี
๕. การปฏิบัติตนตามหลักพรหมวิหาร ๔ การปฏิบัติตนตามหลักฆราวาสธรรม ๔
วิถีชีวิตแบบพุทธ และสุขภาพจิตมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการให้การพยาบาลตามบทบาทเชิงวิชาชีพโดยรวมและแต่ละด้านทั้ง ๔ ด้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๑
๖. ปัจจัยภูมิหลัง ได้แก่ อายุ สถานภาพ และประสบการณ์การทำงานของพยาบาลที่แตกต่างกัน ส่งผลให้พยาบาลมีพฤติกรรมการพยาบาลในบทบาทเชิงวิชาชีพโดยรวมและรายด้านทั้ง ๔ ด้าน แตกต่างกัน อย่างนี้นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕
Download : 254810.pdf

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕