หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระครูสังฆรักษ์วิสิทธิ์ ธมฺมวโร (วัฒนคู)
 
เข้าชม : ๒๐๐๐๒ ครั้ง
ความคิดเห็นของนักเรียนต่อการปฏิบัติธรรม ของสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดนนทบุรี แห่งที่ 2 (การบริหารการศึกษา)
ชื่อผู้วิจัย : พระครูสังฆรักษ์วิสิทธิ์ ธมฺมวโร (วัฒนคู) ข้อมูลวันที่ : ๒๕/๐๙/๒๐๑๕
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ชวาล ศิริวัฒน์
  สมศักดิ์ บุญปู่
  สิน งามประโคน
วันสำเร็จการศึกษา : 2555
 
บทคัดย่อ

 การวิจัยฉบับนี้มี วัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นของนักเรียนต่อการปฏิบัติธรรมของสำนักปฏิบัติธรรม แห่งที่ ๒   ๒) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบศึกษาระดับความคิดเห็นของนักเรียนต่อการปฏิบัติธรรมของสำนักปฏิบัติธรรม แห่งที่ ๒   และ ๓) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะต่อการปฏิบัติธรรมของสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดนนทบุรี แห่งที่ ๒

    กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนที่ไปปฏิบัติธรรมในสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดนนทบุรี แห่งที่ ๒  จำนวน ๒๗๘ คน ู้วิจัยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบ ค่าที (t-test) เพื่อทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยสองกลุ่ม การทดสอบค่าเอฟ (f-test)

    ผลวิจัยพบว่า

     ความคิดเห็นของนักเรียนต่อการปฏิบัติธรรมของสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดนนทบุรี  แห่งที่ ๒ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ซึ่งมีค่าเฉลี่ย ๔.๓๗  และเมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงจากมากไปหาน้อยตามค่าเฉลี่ยคือ ด้านหลักสูตร ด้านวิทยากร  ด้านระยะเวลา  และด้านสถานที่ ตามลำดับ

     ผลเปรียบเทียบความคิดเห็นของนักเรียนต่อการปฏิบัติธรรมของสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดนนทบุรี แห่งที่ ๒ โดยจำแนกตามสถานภาพทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่ามีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ๐.๐๕

    ผลการศึกษาข้อเสนอแนะ พบว่า ข้อที่ควรพัฒนาเกี่ยวกับการปฏิบัติธรรมของสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดนนทบุรี  แห่งที่ ๒ ได้แก่

                    . ด้านสถานที่ ห้องน้ำ ห้องสุขาดูเหมือนว่ามีเพียงพอต่อความต้องการ แต่บางครั้งมีนักเรียนไปปฏิบัติธรรมเป็นจำนวนมาก ก็อาจมีปัญหาบ้าง ก็ต้องยืดหยุ่นกันไปตามสภาพและโอกาส เพื่ออำนวยความสะดวกให้นักเรียนที่เข้าร่วมปฏิบัติธรรมให้มากที่สุด

                    ๒. ด้านหลักสูตร เนื้อหาด้านการปฏิบัติธรรมตามแนวสติปัฏฐาน ๔ การอธิบายขั้นตอนเป็นลำดับ อาจะเป็นเรื่องที่เข้าใจยากสำหรับนักเรียนในแต่ระดับชั้น ทางสำนักปฏิบัติธรรมต้องปรับปรุงเนื้อหา แนะนำการสอนแนวใหม่โดยวิธีการฉายสื่อทำให้นักเรียนเกิดสนใจที่ติดตามดูและฟังเพื่อปฏิบัติตามในแต่ละขั้นตอนได้อย่างถูกต้อง

                    ๓. ด้านวิทยากร ควรเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ซักถามวิทยากรถึงปัญหาที่นักเรียนไม่เข้าใจ หรืออยากทราบเหตุผลในเรื่องนั้นๆ ไม่ปล่อยให้ข้ามวันเก็บไปเป็นข้อสงสัย ควรเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ซักถามในขณะนั้นทันที

                  ๔. ด้านระยะเวลา การปฏิบัติธรรมสำหรับนักเรียนเป็นเรื่องปกติที่นักเรียนไม่ค่อยชอบ ควรหากิจกรรมอย่างอื่นมาร่วม จะได้ไม่ทำให้นักเรียนเกิดความเบื่อ ควรแบ่งเวลาในการปฏิบัติธรรมให้เหมาะสมกับวัยของนักเรียน 

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕