หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระสกล ฐานธมฺโม (อินทร์คล้าย)
 
เข้าชม : ๒๐๐๐๙ ครั้ง
การบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา ในจังหวัดนครสวรรค์ (การบริหารการศึกษา)
ชื่อผู้วิจัย : พระสกล ฐานธมฺโม (อินทร์คล้าย) ข้อมูลวันที่ : ๒๕/๐๙/๒๐๑๕
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระราชวชิรเมธี
  ศุภชัย สุวรรณกนิษฐ
  -
วันสำเร็จการศึกษา : 2556
 
บทคัดย่อ

 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษากระบวนการการบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาในจังหวัดนครสวรรค์ ๒) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อการบริหารสถานศึกษา ตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาในจังหวัดนครสวรรค์โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ๓) เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะในการบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาในจังหวัดนครสวรรค์  โดยศึกษากับกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารและข้าราชการครูผู้สอนที่อยู่ในสถานศึกษาเขตอำเภอชุมแสง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเขต ๑ นครสวรรค์ จำนวน ๑๘๗ คน ใช้วิธีการเลือกตัวอย่างแบบสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  เปรียบเทียบโดยการทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) เมื่อพบว่ามีความแตกต่างกันจึงทำการเปรียบเทียบรายคู่โดยมีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference : LSD) และสรุปข้อมูลปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ โดยวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลที่ได้

ผลการวิจัยพบว่า ความคิดเห็นของผู้บริหารและครูผู้สอนต่อการบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาในจังหวัดนครสวรรค์  พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิงจำนวน ๑๒๙ คน คิดเป็นร้อยละ ๖๘.๙๘ มีกลุ่มอายุ มากกว่า ๓๐ ปี จำนวน ๙๓ คน คิดเป็นร้อยละ ๔๙.๗๓  ระดับการศึกษาปริญญาตรี จำนวน ๑๑๙ คน คิดเป็นร้อยละ ๖๓.๖๔ ตำแหน่งปัจจุบัน ส่วนมากเป็นครูผู้สอน จำนวน ๑๔๘ คน คิดเป็นร้อยละ ๗๙.๑๔ และระยะเวลาดำรงตำแหน่ง ๑๐ ๒๐ ปี จำนวน ๑๑๐ คน คิดเป็นร้อยละ ๕๘.๘๒ ผู้บริหารและครูผู้สอนมีความคิดเห็นต่อการบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาในจังหวัดนครสวรรค์ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x = ๔.๐๑) เมื่อพิจารณารายละเอียดในแต่ละด้าน พบว่า ผู้บริหารและครูผู้สอนมีความคิดเห็นต่อการบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาในจังหวัดนครสวรรค์ อยู่ในระดับมากทุกด้าน ด้านหลักความโปร่งใส (x = ๔.๐๖) ด้านหลักความรับผิดชอบ (x = ๔.๐๖) ด้านหลักการมีส่วนร่วม (x = ๔.๐๔)  ด้านหลักความคุ้มค่า (x = ๔.๐๔) ด้านหลักคุณธรรม (x = ๓.๙๙) ด้านหลักนิติธรรม (x = ๓.๘๘)

เมื่อเปรียบเทียบความคิดเห็น ของผู้บริหารและครูผู้สอนมีความคิดเห็นต่อการบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาในจังหวัดนครสวรรค์ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลแล้วพบว่า ผู้บริหารและครูผู้สอนที่มีระดับการศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นของผู้บริหารและครูผู้สอนต่อการบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๑ สำหรับในด้าน เพศ, อายุ, ตำแหน่งปัจจุบัน, และระยะเวลาในการดำรงตำแหน่ง มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน

ข้อเสนอแนะ คือ การสนับสนุนและส่งเสริมในการใช้หลักธรรมาภิบาลทั้ง ๖ ด้าน ที่กล่าวมานั้นควรให้เกิดขึ้นภายในหน่วยงานสถานศึกษาอย่างแท้จริง ผู้บริหารสถานศึกษาต้องทำตนให้เป็นแบบอย่างที่ดีต่อข้าราชการครู ที่อยู่ภายใต้การปกครองได้ให้เห็นเป็นแบบอย่าง และคอยกระตุ้นข้าราชการครูให้มีการพัฒนาการเรียนการสอนเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในสถานศึกษาของตนเอง เมื่อข้าราชการครูในสถานศึกษาเกิดความรู้และเข้าใจในการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาและบริบทต่างๆ ก็จะมีความเข้าใจที่ดีอันก่อให้เกิดการบริหารงานและทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕