หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหากฤช ญาณาวุโธ (ใจปลื้มบุญ)
 
เข้าชม : ๑๖๗๗๐ ครั้ง
การศึกษาวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างฌานและปัญญาในพระพุทธศาสนาเถรวาท(๒๕๔๘)
ชื่อผู้วิจัย : พระมหากฤช ญาณาวุโธ (ใจปลื้มบุญ) ข้อมูลวันที่ : ๒๑/๐๘/๒๐๑๐
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาสมจินต์ สมฺมาปญฺโญ
  นายสนิท ศรีสำแดง
  นาย รังษี สุทนต์
วันสำเร็จการศึกษา : ๓๐ มีนาคม ๒๕๔๘
 
บทคัดย่อ

     งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเรื่องฌานและปัญญาพร้อมทั้งวิเคราะห์
ความสัมพันธ์ระหว่างฌานและปัญญาในพระพุทธศาสนาเถรวาท โดยในการวิจัยครั้งนี้
ผู้วิจัยมุ่งศึกษาการปฏิบัติเพื่อบรรลุฌาน ผลของการบรรลุฌาน การปฏิบัติเพื่อบรรลุปัญญา
และอานิสงส์ของปัญญา ซึ่งเป็นผลมาจากการปฏิบัติสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐาน
อันเป็นหลักปฏิบัติที่อนุชนจะต้องถือเอาเป็นหลักในการปฏิบัติ เพื่อพัฒนากายกับจิตให้มี
คุณภาพในการดำเนินชีวิตต่อไป
     จากการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างฌานและปัญญาในพระพุทธศาสนาเถรวาท
ทำให้ผู้วิจัยได้ข้อค้นพบที่ถือว่าเป็นสาระสำคัญของงานวิจัยเรื่องนี้ ดังต่อไปนี้
ผู้ปฏิบัติเพื่อบรรลุฌาน (สมถะ) ในสมัยก่อนพุทธกาลครั้งที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เป็นพระโพธิสัตว์ สมัยนั้นไม่มีพิธีกรรมในการปฏิบัติเพียงแต่กล่าวถึงการบำเพ็ญพรตมีการ
เพ่งกสิณเป็นต้น มาถึงสมัยพุทธกาลพุทธบริษัทได้ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้ามีจิตเป็นสมาธิ
แล้วใช้ปัญญาพิจารณาธรรมนั้นก็สามารถบรรลุมรรคผลนิพพานได้ ต่อมาในสมัยปัจจุบันได้
มีการปฏิบัติอย่างเป็นขั้นตอน คือ ผู้ปฏิบัติจะต้องสมาทานศีลตัดความกังวลและเข้าไปหา
อาจารย์ผู้สอนกรรมฐานและเลือกอารมณ์กรรมฐานที่เหมาะกับจริตของตนแล้วลงมือปฏิบัติ
ผู้ปฏิบัติเมื่อบรรลุฌานแล้ว จิตเกิดสมาธิสงบแน่วแน่ ปีติความอิ่มใจสุขใจก็
เกิดขึ้น ทำให้ผู้ปฏิบัติติดอยู่กับฌาน เมื่อติดอยู่กับฌานแล้วจึงไม่ต้องการที่จะบำเพ็ญปัญญา(วิปัสสนา) ต่อไปได้ อีกประการหนึ่ง อีกประการหนึ่ง มีคำกล่าวไว้ว่า “ฌานเป็นบาทฐาน
ของปัญญา” ซึ่งหมายความว่า ฌานเป็นพื้นฐานของการเจริญปัญญา ดังนั้น เมื่อกล่าวอย่าง
ถูกต้องแล้วการบำเพ็ญฌานจึงต้องเชื่อมโยงไปสู่การเจริญปัญญา (วิปัสสนา) เสมอ
การปฏิบัติแนวสมถะ (ฌาน) วิปัสสนา (ปัญญา) ทั้งสองอย่างนี้มีจุดมุ่งหมาย
เดียวกัน คือ ความหลุดพ้นจากกิเลส แต่การหลุดพ้นจากกิเลสตามแนวการปฏิบัติสมถะ
(ฌาน) เป็นเพียงการข่มกิเลสไว้เหมือนกับหินทับหญ้า เมื่อนำหินออกหญ้าก็งอกขึ้นอีก ส่วน
ความหลุดพ้นจากกิเลสตามแนวการปฏิบัติวิปัสสนา (ปัญญา) เป็นการหลุดพ้นจากกิเลสอย่าง
สิ้นเชิงฌาน (สมถะ) และปัญญา (วิปัสสนา) ถือว่าเป็นแบบอย่างที่อนุชนพึงประพฤติ
ปฏิบัติ เพราะถ้าหากใครประพฤติปฏิบัติตามแล้วผลที่ได้รับคือ มีชีวิตอยู่ด้วยความผาสุกและ
บรรลุจุดมุ่งหมายสูงสุดในพระพุทธศาสนา

Download : 254819.pdf

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕