หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » วันทนา เนาว์วัน
 
เข้าชม : ๑๖๗๖๑ ครั้ง
การพัฒนาภาวะผู้นาตามหลักพุทธธรรมของบุคลากร โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กลุ่ม 3 (พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (รัฐประศาสนศาสตร์))
ชื่อผู้วิจัย : วันทนา เนาว์วัน ข้อมูลวันที่ : ๑๖/๑๐/๒๐๑๕
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ธัชชนันท์ อิศรเดช
  นภัทร์ แก้วนาค
  -
วันสำเร็จการศึกษา : 2558
 
บทคัดย่อ

 วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1) เพื่อศึกษาแนวคิดภาวะผู้นาตามหลักพุทธธรรมและทฤษฎีทางตะวันตกภาวะผู้นาของบุคลากรโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กลุ่ม 3 2) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาทั่วไปและคุณลักษณะภาวะผู้นาของบุคลากรโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กลุ่ม 3 และ3) เพื่อนาเสนอรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นาของบุคลากรโรงเรียน พระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กลุ่ม 3 ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methods Research) ระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) การวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลหลัก จานวน 18 รูป/คน เลือกแบบเจาะจงจากผู้ทรงคุณวุฒิ เครื่องมือสาหรับเก็บข้อมูลได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกที่มีโครงสร้าง เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์ตัวต่อตัว วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการพรรณนาความ และจากการสนทนากลุ่มเฉพาะ จากผู้มีส่วนร่วมในการสนทนา จานวน 12 รูป/คน เลือกแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการพรรณนาความ การวิจัย เชิงปริมาณ เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 156 รูป/คน เป็นผู้บริหาร 21 รูป/คน ผู้ปฏิบัติงาน 135 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลวิจัยพบว่า
1. แนวคิดภาวะผู้นาตามหลักพุทธธรรมและทฤษฎีทางตะวันตกของภาวะผู้นาของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กลุ่ม 3 พบว่า 1) คุณลักษณะภาวะผู้นาตามหลักพุทธธรรมด้าน หลักปาปณิกธรรม 3 รองลงมาคือสังฆโสภณสูตร อันดับที่สามคือคุณธรรม อนาถบิณฑิกะเศรษฐี และด้านภาวะผู้นาการเปลี่ยนแปลง 2) กระบวนการและวิธีการพัฒนาภาวะผู้นาที่มีผลต่อการทางานอย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบด้วยการเข้ารับการอบรมสัมมนาภาวะผู้นา การศึกษาดูงาน โรงเรียนพระปริยัติธรรมที่มีการบริหารจัดการที่ดีและมีผู้นาที่ได้รับ การยกย่อง เชิดชูเกียรติหรือเป็นที่รู้จักกันดีและการกระจายอานาจภาวะผู้นาในลักษณะการประสานความร่วมมือ
2. สภาพปัญหาทั่วไปและคุณลักษณะภาวะผู้นาของบุคลากรโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กลุ่ม 3 1) ด้านบุคลากร พบว่าบุคลากรขาดความมั่นคงในวิชาชีพครู สวัสดิการไม่เท่าเทียมบุคลากรภาครัฐ อัตราการเข้าออกบ่อยทาให้ขาดความต่อเนื่องในการปฏิบัติงาน 2) ด้านงบประมาณ งบประมาณหลักของโรงเรียนมาจากค่างบอุดหนุนเฉลี่ยรายหัวต่อนักเรียน เมื่อนักเรียนมีจานวนน้อยจึงทาให้มีงบประมาณหมุนเวียนน้อย ซึ่งเป็นปัญหาอุปสรรคในการบริหารจัดการ และ 3) ด้านการบริหารงานของผู้บริหาร ผู้บริหารหลักคือเจ้าอาวาสแม้จะมีคณะกรรมการบริหาร แต่ มีภารกิจสงฆ์มาก จึงทาให้การบริหารขาดความคล่องตัว และคุณลักษณะภาวะผู้นาของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรมพบว่า มีความเสียสละ ความเอื้อเฟื้อ เมตตา กรุณา มีวิสัยทัศน์ มีมนุษยสัมพันธ์ มีความรับผิดชอบ ความทุ่มเทในการทางาน และการบริหารงานแบบมีส่วนร่วม
3. ส่วนรูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะภาวะผู้นาของผู้บริหารโรงเรียนพบว่าอันดับแรกหลักธรรมด้านหลักปาปณิกธรรม 3 ในด้านจักขุมา (การมีวิสัยทัศน์ที่ดี) ด้านวิธุโร (ด้านความชานาญในงาน ความเป็นมืออาชีพ) และด้านนิสสฺยสัมปันโน (การสร้างความสัมพันธ์ ความเข้าใจอันดี ตลอดจนการสร้างสรรค์ทางสังคม โดยอาศัยทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์) รองลงมาคือสังฆโสภณสูตร ด้านวิสารโท (เป็นผู้แกล้วกล้า เป็นผู้องอาจในการเผชิญปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น) ด้านวินีโต (เป็นผู้ มีระเบียบวินัยดี มีความเรียบร้อยในกิจการงานที่ได้รับมอบหมาย) ด้านวิยัตโต (การเป็นผู้มีปัญญา มีความรอบรู้และมีความฉลาดหลักแหลมในการปฏิบัติงาน) ด้านธัมมานุธัมมปฏิปันโน (ผู้ปฏิบัติธรรม รักษาความถูกต้องในสิ่งที่ถูกที่ควร) และด้านพหูสุโต (เป็นผู้มีความรู้ศึกษาความทรงจา ผู้ที่ได้รับการศึกษามาก) อันดับที่สามคือคุณธรรมอนาถบิณฑิกะเศรษฐี การมีความซื่อสัตย์ สุจริต และขยันสติปัญญาเป็นเลิศ ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และด้านความเสียสละ และภาวะผู้นาตามทฤษฎีตะวันตก ได้แก่ ด้านภาวะผู้นาการเปลี่ยนแปลง การให้อิสรภาพในการทางาน การกระตุ้นให้มีเจตคติที่ดีในการทางานอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล การเป็นแบบอย่างสันติภาพและสิทธิมนุษยชนและต้องการให้ผู้นา มีความยุติธรรมเสมอภาคในการปฏิบัติงาน ต้องมีความกล้าหาญในการเปลี่ยนแปลง โดยนามาซึ่งจริยธรรม การเปลี่ยนแปลงอย่างมีนวัตกรรมเพื่อความเหนือกว่าภายใต้การยืดหยุ่น ปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสมกับสถานการณ์ของโรงเรียน อันนามาซึ่งความอยู่รอด รวมทั้งนอกจากนี้ผู้นาต้องรู้จักใช้หลักพุทธธรรมในการสร้างศรัทธาให้เกิดขึ้นแก่ตนเองด้วย

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕