หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » ณัฐชนันตร์ อยู่สีมารักษ์
 
เข้าชม : ๒๐๐๐๕ ครั้ง
รูปแบบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักพุทธธรรมของสถานศึกษาของรัฐสังกัดกรุงเทพมหานคร (พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (รัฐประศาสนศาสตร์))
ชื่อผู้วิจัย : ณัฐชนันตร์ อยู่สีมารักษ์ ข้อมูลวันที่ : ๐๗/๑๑/๒๐๑๕
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ธัชชนันท์ อิศรเดช
  จำนงค์ อดิวัฒนสิทธื์
  -
วันสำเร็จการศึกษา : 2558
 
บทคัดย่อ

 การวิจัยมีวัตถุประสงค์ไว้ ๓ ประการได้แก่ ๑) ศึกษาสภาพปัญหาและอุปสรรคการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของสถานศึกษาของรัฐสังกัดกรุงเทพมหานคร ๒) ศึกษาแนวคิดทฤษฎี การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และหลักพุทธธรรมที่สอดคล้องกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และ ๓) เพื่อนาเสนอรูปแบบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักพุทธธรรมที่เหมาะสมต่อสถานศึกษาของรัฐสังกัดกรุงเทพมหานคร ซึ่งผู้วิจัยได้ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยแบบผสม ได้แก่ การวิจัยวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เจาะลึกจานวน ๒๕ รูปหรือคนมีเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาแบบ TAC และการวิจัยเชิงปริมาณด้วยวิจัยเชิงสารวจแจกแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างจานวนทั้งสิ้น ๓๗๘ คนโดยใช้สถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า
๑. สภาพปัญหาและอุปสรรคการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของสถานศึกษาของรัฐสังกัดกรุงเทพมหานคร พบว่า ทั้ง ๓ ด้านได้แก่ ด้านการฝึกอบรม ด้านการศึกษา และด้านการพัฒนา โครงการ ด้านการฝึกอบรมข้าราชการครูมีการอบรมจานวนมาก ที่ไม่ตรงกับความต้องการ ขาดการมีส่วนร่วม ขาดความมั่นใจในการบริหารจัดการของโรงเรียน ขาดการกระจายอานาจ จัดสรรงบประมาณเพื่อพัฒนาบุคลากรตามความสนใจของตนเอง ไม่ยึดหลักแห่งความแตกต่าง ซึ่งส่งผลให้ครูเกิดความเบื่อหน่าย ไม่นาความรู้ที่ได้ไปใช้ในการพัฒนางานในหน้าที่เท่าที่ควร ด้านการศึกษา และการพัฒนา สืบต่อเนื่องมาจากเมื่อครูได้เล็งเห็นความสาคัญ ตระหนัก ถึงเป้าหมายในการดาเนินชีวิต ความต้องการความเจริญเติบโต ความก้าวหน้าในตาแหน่งหน้าที่ ครูแต่ละท่านจึงไปศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น เพื่อนาความรู้มาพัฒนาตนเอง และใช้ความรู้ที่ได้มาปรับใช้ในการทางานต่อไป
๒. แนวคิด ทฤษฎีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และหลักพุทธธรรมที่สอดคล้องกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ พบว่า องค์กรทุกองค์กรต้องมีการพัฒนาบุคลากร เพิ่มพูนความรู้ ความสามารถ ทักษะ พฤติกรรม จิตใจ และสติปัญญาที่จะสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานขององค์กร ตลอดจนให้บุคลากรตระหนักในคุณค่าของตนเองที่มีต่อองค์กร และการสร้างขวัญกาลังใจให้กับบุคลากร สร้างความก้าวหน้าในตาแหน่งงาน ช่วยนาพาองค์กรให้สามารถบรรลุเป้าหมายวัตถุประสงค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
๓. รูปแบบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักพุทธธรรมที่เหมาะสมต่อสถานศึกษาของรัฐสังกัดกรุงเทพมหานคร พบว่า ๓.๑ รูปแบบการฝึกอบรม พบว่า ครูจะมีพฤติกรรมที่ดีอยู่ที่ภาคนโยบายของฝ่ายผู้บริหารระดับสูงระดับกลาง และระดับล่างสุดที่มีบทบาทสาคัญ ด้านสมาธิ พบว่า การรู้จักการนาสถานการณ์ที่มีความเหมาะสมของคุณธรรมในการสอนนักเรียน มีการแทรกหลักธรรมให้เด็กเกิดจิตสานึกเกิดความตระหนักต่อพฤติกรรมที่ไม่ดี และ ด้านปัญญา พบว่า การสร้างสถาบันที่ดี ควรที่จะระบุหลักสูตรที่แตกต่างจากมหาวิทยาลัยทั่วไปจะต้องมีแรงบันดาลใจอย่างมากและเกิดก่อนจะมาเป็นนักศึกษาครู เน้นที่องค์ความรู้ด้านวิชาการแบบครบวงจร
๓.๒ รูปแบบการศึกษา พบว่า การส่งเสริมการศึกษาด้านศีลธรรมของทรัพยากรมนุษย์กรุงเทพมหานครอยู่ที่ระดับนโยบายของผู้บริหารทุกระดับที่ให้ความสาคัญกับเนื้อทางพระพุทธศาสนา ด้านสมาธิ พบว่า การส่งเสริมให้ครูได้มีโอกาสฟังเทศน์ ฟังธรรมบรรยายบ่อย ๆ และการจัดโครงการฝึกอบรมสมาธิ การสัมมนา การศึกษาดูงานในตามสถานที่ต่าง ๆ และการส่งเสริมการศึกษาตามหลักสูตรธรรมศึกษาตรี โท และเอก และด้านปัญญา พบว่า ต้องผูกโยงไปด้วยระบบการศึกษาแบบพระสงฆ์เพื่อให้เกิดลักษณะทางปัญญาในทางที่ถูกโดยเฉพาะการใช้โสตปราสาททั้ง ๕ ในการรับฟังธรรม การใช้ความคิดในการวิเคราะห์ และการใช้องค์ธรรมมาภาวนาในรูปแบบการปฏิบัติธรรม
๓.๓ รูปแบบการพัฒนา พบว่า ข้าราชครูจะมีความรู้ดีจะต้องใช้ทั้งหลักปรัชญา ศาสตร์และศิลป์ที่ผนวกกับองค์ความรู้ในทางพุทธศาสนา ด้านสมาธิ พบว่า การพัฒนาสมาธิเพื่อการเป็นผู้มีจิตใจที่ดีเป็นต้นแบบที่ดีให้กับสังคม มีจิตใจที่มั่นคง มีอารมณ์คงที่ มีอุดมการณ์ และมีจิตวิญญาณความเป็นครู และด้านปัญญา พบว่า การพัฒนาบทบาทในการทาหน้าที่ความเป็นครูให้สมบูรณ์แบบโดยเฉพาะองค์ความรู้ที่เกิดจากการศึกษา และเกิดจากประสบการณ์ผ่านการทางาน บวกกับจิตวิญญาณในแง่บวกที่มองเพื่อร่วมสายอาชีพเดียวกันสำหรับผลการตรวจสอบ และการประเมินรูปแบบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักพุทธธรรมของสถานศึกษาของรัฐสังกัดกรุงเทพมหานครพบว่า๑. รูปแบบการฝึกอบรมทรัพยากรมนุษย์ พบว่า โดยรวม อยู่ในระดับมาก ๔.๑๒ ๒. รูปแบบด้านการศึกษาทรัพยากรมนุษย์ พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก ๔.๐๘ และ ๓. รูปแบบด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก ๔.๑๕

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕