หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » กฤษฎา ให้วัฒนานุกูล
 
เข้าชม : ๑๙๙๙๒ ครั้ง
การพัฒนาการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (กอสส.) (พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (รัฐประศาสนศาสตร์))
ชื่อผู้วิจัย : กฤษฎา ให้วัฒนานุกูล ข้อมูลวันที่ : ๒๘/๑๑/๒๐๑๖
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
 
 
 
วันสำเร็จการศึกษา : 2558
 
บทคัดย่อ

 การศึกษาวิจัยเรื่อง“การพัฒนาการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การอิสระ ด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ”โดยมีวัตถุประสงค์การวิจัย ๓ ประการได้แก่ ๑) เพื่อศึกษาสภาพ การบริหารขององค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ๒) เพื่อศึกษาวิเคราะห์ทฤษฎีและ หลักพุทธธรรมที่เกี่ยวข้องกับการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ และ ๓) เพื่อนำเสนอรูปแบบการพัฒนาการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ การวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการศึกษาเอกสาร แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง มีการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เชี่ยวชาญจำนวน ๒๕ รูป/คน และการสนทนากลุ่มเฉพาะผู้เชี่ยวชาญจำนวน ๑๖ รูป/คน ซึ่งสามารถสรุปผลการวิจัยได้ดังนี้

1. การบริหารขององค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ พบว่า ปัจจุบันนี้องค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพได้ทำหน้าที่อย่างมีอิสระเพียงเฉพาะในส่วนของความคิดเห็นใน การพิจารณาโครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทั้งทาง ด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ ด้วยความเป็นกลางทางวิชาการและความมีธรรมาภิบาล ได้รับความเชื่อถือจากชุมชนเป็นที่อ้างอิงและยุติข้อขัดแย้ง ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในพื้นที่ที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบจากโครงการที่อาจจะก่อให้เกิดผลกระทบอย่างรุนแรง แต่มิได้ มีความเป็นอิสระในการบริหารงานโดยเฉพาะทรัพยากรการบริหาร (4Ms) แต่อย่างใด เนื่องจากยัง ไม่มีพระราชบัญญัติประกอบ
2. การบริหารขององค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพมีบทบาทที่สำคัญ ต่อกระบวนการรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของประชาชน บนหลักธรรมาภิบาล ๖ ประการได้แก่ ๑) หลักนิติธรรม ๒) หลักคุณธรรม ๓) หลักความโปร่งใส ๔) หลักการมีส่วนร่วม ๕) หลักความรับผิดชอบ และ ๖) หลักความคุ้มค่า โดยมีหลักธรรมปัญญา ๓ ได้แก่ ๑) สุตมยปัญญา คือการรับฟังข้อมูล ๒) จินตามยปัญญา คือการคิดวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้มา และ ๓) ภาวนามยปัญญา คือการสังเคราะห์ข้อมูลสู่การตัดสินใจทำให้มีกระบวนการในการทำหน้าที่รับฟังความคิดเห็นจากข้อมูลต่างๆได้เพิ่มมากขึ้น บนพื้นฐานของความน่าเชื่อถือ จากการได้มาของข้อมูลเพื่อนำไปใช้ประกอบการพิจารณาการให้ความเห็น ต่อโครงการที่มีผลกระทบอย่างรุนแรง ส่งผลให้ได้รับความเชื่อถือจากภาคประชาชน ภาครัฐและผู้ประกอบการอุตสาหกรรม นำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน มีความสมดุลของสังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม
3. รูปแบบการพัฒนาการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพนั้น ควรมีการออกพระราชบัญญัติองค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ในการรับรองสถานภาพองค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพเพื่อการทำหน้าที่ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น เป็นองค์กรที่สามารถร้องขอข้อมูลและรวบรวบข้อมูลที่ถูกต้องจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องได้ ตรวจสอบความจริงของข้อมูลได้ มีอำนาจทางการปกครองในการตรวจสอบและถ่วงดุล เสนอแนะ ติดตาม ประเมินผล และลงโทษกับผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามกลไกทางการดำเนินการได้ โดยคณะกรรมการ มีความเป็นอิสระในการทำหน้าที่ต่อกระบวนการให้ความเห็นโครงการที่มีผลกระทบอย่างรุนแรง ต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีระบบการตรวจสอบและถ่วงดุลกันเองภายใน ทั้งยังสามารถให้สังคมทำการตรวจสอบและถอดถอนได้ มีค่าตอบแทนและสวัสดิการที่ครอบคลุมการทำงาน ทำหน้าที่บนพื้นฐานของหลักธรรมภิบาล ๖ ประการ โดยการใช้หลักธรรมปัญญา ๓ เป็นเครื่องมือ ในการบรูณาการของการทำหน้าที่ สามารถที่จัดการบริหารทรัพยากรการบริหาร (4Ms) คือ ด้านบุคลากร ด้านงบประมาณ ด้านการจัดการและด้านวัสดุอุปกรณ์ ด้วยความเป็นอิสระ โดยคำนึงถึงประโยชน์ของสังคม ประเทศชาติรวมเป็นใหญ่ ด้วยความซื่อสัตย์ มีศักดิ์ศรี คำนึงถึงหลักของ สิทธิมนุษยชน
ข้อเสนอแนะคือ ควรผลักดันให้องค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพให้ได้รับบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญเช่นเดิม เร่งจัดนำร่างพระราชบัญญัติองค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมที่มีอยู่ในปัจจุบัน เข้าสู่กระบวนการออกเป็นพระราชบัญญัติ จัดทำระเบียบที่ใช้ในการบริหารให้สอดคล้องกับบทบาท อำนาจหน้าที่ที่ได้ถูกกำหนด บนหลักธรรมาภิบาล โดยดำเนินการคู่ขนาน เร่งผลักดันให้ฝ่ายบริหาร นำองค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพเข้าเป็นองค์การมหาชนก่อน เพื่อความเป็นอิสระ อย่างแท้จริงในการทำงานและบริหารจัดการ ก่อนที่กระบวนการจัดทำพระราชบัญญัติองค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพจะแล้วเสร็จ เพื่อการพัฒนาการบริหารองค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ก่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่สมบรูณ์ในการทำหน้าที่ เกิดความยั่งยืน ในการพัฒนาประเทศต่อไป
 

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕