หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » ศักดา ภาคจันทึก
 
เข้าชม : ๒๐๐๑๗ ครั้ง
การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักไตรสิกขาของพระสังฆาธิการอำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ (รัฐประศาสนศาสตร์)
ชื่อผู้วิจัย : ศักดา ภาคจันทึก ข้อมูลวันที่ : ๐๙/๑๑/๒๐๑๕
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พิเชฐ ทั่งโต
  พระมหาบุญเลิศ อินฺทปญฺโญ
  -
วันสำเร็จการศึกษา : 2557
 
บทคัดย่อ

 การวิจัยฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ ๑)เพื่อศึกษาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักไตรสิกขาของพระสังฆาธิการอำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์๒) เพื่อเปรียบเทียบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักไตรสิกขาของพระสังฆาธิการอำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล๓) เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักไตรสิกขาของพระสังฆาธิการอำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์

ระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสม (Mixed Method Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ พระภิกษุในอำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยการใช้สูตรขนาดกลุ่มตัวอย่างของ ทาโร่ ยามาเน่ (Taro Yamane) ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน ๒๔๙ รูป เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามโดยมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ๐.๙๖๗วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ(Percentage)ค่าเฉลี่ย(Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(Standard Deviation)และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความคิดเห็นโดยใช้ค่าที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) และเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference:LSD)โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ๐.๐๕

ผลการศึกษาพบว่า

๑)พระภิกษุมีความเห็นต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักไตรสิกขาของพระสังฆาธิการอำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก.๖๘เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือด้านปัญญา : การพัฒนาปัญญา(.๗๐) รองลงมา คือด้านสมาธิ : การฝึกฝนพัฒนาในด้านจิตใจ(.๖๘) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านศีล : การฝึกฝนพัฒนาด้านพฤติกรรม(.๖๕, S.D.=.๐๘)ตามลำดับ

๒)การเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นของพระภิกษุต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักไตรสิกขาของพระสังฆาธิการอำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยจำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคล พบว่า พระภิกษุที่มีอายุ วุฒิการศึกษาสามัญ และวุฒิการศึกษาทางเปรียญธรรม แตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักไตรสิกขาของพระสังฆาธิการอำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยรวมไม่แตกต่างกัน จึงเป็นไปตามสมมติฐาน ส่วนพระภิกษุที่มีพรรษา และวุฒิการศึกษาทางธรรม แตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักไตรสิกขาของพระสังฆาธิการอำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยรวมแตกต่างกัน ซึ่งปฏิเสธเป็นไปตามสมมติฐาน

๓)ข้อเสนอแนะของพระภิกษุเกี่ยวกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักไตรสิกขาของพระสังฆาธิการอำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์พบว่า (๑)ด้านศีล การฝึกฝนพัฒนาด้านพฤติกรรมพระสังฆาธิการควรสนับสนุนให้พระสงฆ์ในการปกครองหมั่นศึกษาในการท่องพระปาติโมกข์และความหมายให้มากขึ้นควรให้พระสงฆ์ช่วยเป็นหูเป็นตาแทนพระวินยาธิการเพื่อความสงบเรียบร้อยด้านการปฏิบัติวินัยของพระภิกษุสามเณร และควรจัดอบรมความรู้เกี่ยวกับโทษของการฉันอาหารที่เป็นเนื้อสัตว์ดิบโดยผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุข (๒) ด้านสมาธิการฝึกฝนพัฒนาในด้านจิตใจพระสังฆาธิการควรให้กำลังใจในการศึกษาและแสดงให้เห็นถึงคุณของการศึกษาพระสังฆาธิการควรให้ความสนใจในการอบรมสั่งสอนพระสงฆ์ในการปกครอง รวมไปถึงจุดเล็กจุดน้อยที่อาจทำให้เกิดผลกระทบต่อจิตใจของพระสงฆ์ และควรจัดหากิจกรรมเบา ๆ ให้พระสงฆ์บวชใหม่ได้ปฏิบัติเพื่อการปรับตัวที่ค่อยเป็นค่อยไป (๓) ด้านปัญญา : การพัฒนาปัญญาพระสังฆาธิการควรฝึกฝนให้พระสงฆ์ในการปกครองได้หมุนเวียนการเป็นผู้นำการทำวัตรสวดมนต์เพื่อความชำนาญพระสังฆาธิการควรมีการพูดคุยสั่งสอนเรื่องการเรียนพระธรรมวินัยแก่พระสงฆ์  เพื่อแสดงให้เห็นถึงความสำคัญและประโยชน์ของพระธรรมวินัย และพระสังฆาธิการควรหาวิธีการแก้ไขร่วมกับคณะสงฆ์ให้เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕