หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหานเรศ โฆสกิตฺติโก (ฤทธิเดช)
 
เข้าชม : ๑๖๗๖๒ ครั้ง
การพัฒนาชุมชนเชิงพุทธบูรณาการของเทศบาลตำบลศรีรัตนะ อำเภอศรีรัตนะ จังหวัดศรีสะเกษ (รัฐประศาสนศาสตร์)
ชื่อผู้วิจัย : พระมหานเรศ โฆสกิตฺติโก (ฤทธิเดช) ข้อมูลวันที่ : ๐๙/๑๑/๒๐๑๕
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ธัชชนันท์ อิศรเดช
  บุษกร วัฒนบุตร
  -
วันสำเร็จการศึกษา : 2558
 
บทคัดย่อ

 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการพัฒนาชุมชนเชิงพุทธบูรณาการของเทศบาลตำบลศรีรัตนะ อำเภอศรีรัตนะ จังหวัดศรีสะเกษ

๒) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการพัฒนาชุมชนเชิงพุทธบูรณาการของเทศบาลตำบลศรีรัตนะ อำเภอศรีรัตนะ จังหวัดศรีสะเกษ  และ ๓) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะต่อการพัฒนาชุมชนเชิงพุทธบูรณาการของเทศบาลตำบลศรีรัตนะ อำเภอศรีรัตนะ จังหวัดศรีสะเกษ ระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Method Research) ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) การวิจัยเชิงปริมาณ ประชากร ได้แก่ประชาชนที่อยู่อาศัยในเขตเทศบาลตำบลศรีรัตนะ
อำเภอศรีรัตนะ จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน ๔,๗๖๔ คน เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของทาโร่ ยามาเน่ (
Taro Yamane) ได้กลุ่มตัวอย่าง ๓๖๙ คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล
คือ ค่าความถี่ (Frequency), ค่าร้อยละ (Percentage), ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และทดสอบสมมติฐาน ด้วยค่าที (t-test)
และค่าเอฟ (
F-test) ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA)และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีผลต่างเป็นสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference : LSD.)  ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ กำหนดผู้ให้ข้อมูลหลัก ๘ คน (key informants) เลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลได้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกที่มีโครงสร้าง (structured in-depth-interview) เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth-Interview) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการพรรณนาความ(Descriptive interpretation) 

        ผลการวิจัยพบว่า

          ๑) การพัฒนาชุมชนเชิงพุทธบูรณาการของเทศบาลตำบลศรีรัตนะ  อำเภอศรีรัตนะ
จังหวัดศรีสะเกษ ประชาชนมีความคิดเห็นโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x
=๓.๕๓, S.D. = ๐.๖๖๕) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ประชาชนมีความคิดเห็น ด้านการพัฒนาสังคม และด้านการพัฒนาสิ่งแวดล้อม  อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยตามลำดับ คือ ด้านการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
(x
=๓.๕๙, S.D. = ๐.๗๓๓) และด้านการพัฒนาสังคม (x=๓.๕๒, S.D. = ๐.๗๑๖)
ส่วนด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ อยู่ในระดับปานกลาง (x
=๓.๔๘, S.D. = ๐.๗๕๓)

          ๒) เปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนต่อการพัฒนาชุมชนเชิงพุทธบูรณาการ
ของเทศบาลตำบลศรีรัตนะ   อำเภอศรีรัตนะ  จังหวัดศรีสะเกษ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ, อายุ, ระดับการศึกษา, สถานภาพ, อาชีพ, และรายได้ต่อเดือน พบว่า ประชากรมีเพศ, อายุ, สถานภาพ, และรายได้ต่อเดือน ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการพัฒนาชุมชนเชิงพุทธบูรณาการของเทศบาลตำบลศรีรัตนะ   อำเภอศรีรัตนะ  จังหวัดศรีสะเกษ ไม่แตกต่างกัน ประชากรที่มีระดับการศึกษา  และอาชีพ  ต่างกัน  มีความคิดเห็นต่อการพัฒนาชุมชนเชิงพุทธบูรณาการของเทศบาลตำบลศรีรัตนะ   อำเภอศรีรัตนะ  จังหวัดศรีสะเกษ แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ ๐.๐๕ 

          ๓) ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาชุมชนเชิงพุทธบูรณาการ
ของเทศบาลตำบลศรีรัตนะ   อำเภอศรีรัตนะ  จังหวัดศรีสะเกษ  พบว่า ด้านการพัฒนาสังคม พบว่าสถานศึกษาในระดับอุดมศึกษาและด้านวิชาชีพยังไม่มีในท้องถิ่น ประชาชนในชุมชนไม่มีกิจกรรมร่วมกันด้านการพัฒนาเศรษฐกิจพบว่า ไม่มีผู้ให้ความรู้เกี่ยวกับนวัตกรรมที่ทำให้เกษตรกรประหยัดค่าใช้จ่ายหรือทำผลผลิตให้ได้มากขึ้น มีการละเลยต่อความเป็นอยู่ของชุมชนด้านการพัฒนาสิ่งแวดล้อม พบว่า ขาดการดูแล และเอาใจใส่ โดยเฉพาะฝุ่นละออง และการจัดการด้านขยะมูลฝอย ระบบระบายน้ำต่าง ๆ  ทำให้เกิดมลพิษทางน้ำ ระบายน้ำไม่ทันท่วงที ทำให้มีน้ำขังและในชุมชน
ส่วนข้อเสนอแนะ ผู้บริหารเทศบาลควรมีการพัฒนารูปแบบโครงสร้างในการพัฒนา เพื่อให้มีความคลุมทั่วถึงทุกชุมชน และควรมีเครื่องมือในการพัฒนาที่ทันสมัย เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป 

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕