หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหาชินวัฒน์ ธมฺมเสฏฺโฐ (หาญกุล)
 
เข้าชม : ๑๖๕๘๘ ครั้ง
การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลเมืองสามพราน อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม (รัฐประศาสนศาสตร์)
ชื่อผู้วิจัย : พระมหาชินวัฒน์ ธมฺมเสฏฺโฐ (หาญกุล) ข้อมูลวันที่ : ๐๙/๑๑/๒๐๑๕
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ธัชชนันท์ อิศรเดช
  พระครูสังฆรักษ์เกียรติศักดิ์ กิตฺติปญฺโญ
  -
วันสำเร็จการศึกษา : 2558
 
บทคัดย่อ

 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ ๑) เพื่อศึกษาการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลเมืองสามพราน อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ๒) เพื่อเปรียญเทียบการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลเมืองสามพราน อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ ๓) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการบริหารงานตามหลัก   ธรรมาภิบาลของเทศบาลเมืองสามพราน อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม

              การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Method Research) โดยกำหนดรูปแบบเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) โดยใช้วิธีวิจัยเชิงประมาณ (Quantitative Research) ซึ่งเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้เครื่องมือแบบสอบถาม (Questionnaire) และใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ซึ่งเป็นการเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างด้วยสูตรการคำนวณของ ทาโร่ ยามาเน่ (Taro Yamane) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และทดสอบสมมติฐาน ด้วยการทดสอบค่าที (t-test), การทดสอบค่าเอฟ (F-test), การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) และด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference : LSD.) การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitataive research) กำหนดผู้ให้ข้อมูลหลัก (Key Informants) จำนวน ๙ ท่าน เลือกแบบเจาะจงจากผู้มีประสบการณ์และผู้ทรงคุณวุฒิ เครื่องมือเก็บข้อมูลได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกที่มีโครงสร้าง (structured In-depth Interview) เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกตัวต่อตัว (face-to-face In-depth Interview) ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการพรรณนาความ (descriptive Interpretation)

 

 ผลการวิจัยพบว่า

              ๑) การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลเมืองสามพราน อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม พบว่า ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลเมืองสามพราน อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (= ๓.๗๙) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยมีลำดับดังนี้ ด้านหลักนิติธรรม (= ๓.๗๗) ด้านหลักคุณธรรม (= ๓.๗๙) ด้านหลักความโปร่งใส (= ๓.๘๒) ด้านหลักการมีส่วนร่วม (= ๓.๗๖) ด้านหลักความรับผิดชอบ (= ๓.๘๗) และด้านหลักความคุ้มค่า (= ๓.๗๔)

              ๒) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลเมืองสามพราน อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ วุฒิการศึกษา อาชีพ และรายได้(ต่อเดือน) พบว่า มีความคิดเห็นต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลเมืองสามพราน อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม โดยรวมไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้

              ๓) ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลเมืองสามพราน อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม พบว่าปัญหา อุปสรรค คือ บุคลากรบางส่วนยังไม่สามารถปฏิบัติตามกฎหมายหรือข้อบัญญัติต่างๆได้อย่างเคร่งครัด บุคลากรบางส่วนยังขาดเรื่องระเบียบวินัยในการปฏิบัติงานเห็นประโยชน์ส่วนตนและพวกพ้องมากกว่าประโยชน์ส่วนรวม ข้อเสนอแนะคือผู้บริหารต้องนำเอาหลักธรรมาภิบาลมาประยุกต์ใช้ในการบริหารงาน เพื่อให้การบริหารงานของเทศบาลไปในทิศทางเดียวกัน โดยยึดหลักความถูกต้องตามกฎหมายและหลักเกณฑ์ที่ชอบธรรม เทศบาลเมืองสามพรานควรสร้างทัศนคติทางด้านคุณธรรมจริยธรรมให้เกิดขึ้นแก่บุคลากรส่งเสริมให้บุคลากรเห็นประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน เสริมสร้างความสามัคคีให้เกิดแก่บุคลากรภายในองค์การเพื่อนำไปสู่การบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อเป็นการพัฒนาการบริหารงานให้สอดคล้องกับหลักธรรมาภิบาลโดยเฉพาะบุคลากรฝ่ายบริหารต้องเป็นผู้นำที่มีความรอบรู้และมีความซื่อสัตย์ สุจริต ยึดหลักความถูกต้องเป็นที่ตั้งเป็นธรรมกับประชาชนทุกชุมชนและมีความเสมอภาคต่อโครงการพัฒนา ด้วยการเปิดโอกาสให้ประชาชนตรวจสอบมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นในการตัดสินใจแก้ไขปัญหาต่างๆและมีส่วนร่วมทุกมิติครอบคลุมขอบเขตชัดเจนต่อการบริหารงานของเทศบาลทั้งระบบตามหลักธรรมาภิบาล จนนำภาคองค์การไปสู่ความสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดแบบยั่งยืน

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕