หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหาสมชัย สิริวฑฺฒโน (ศรีนอก)
 
เข้าชม : ๒๐๐๒๗ ครั้ง
หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่ปรากฏอยู่ในบทเพลงลูกทุ่งไทย (๒๕๓๗)
ชื่อผู้วิจัย : พระมหาสมชัย สิริวฑฺฒโน (ศรีนอก) ข้อมูลวันที่ : ๑๘/๐๖/๒๐๑๐
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหามนตรี ขนฺติสาโร
  พระมหามนตรี ขนฺติสาโร
  พระมหามนตรี ขนฺติสาโร
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๔ ธันวาคม ๒๕๓๗
 
บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อรวบรวมบทเพลงลูกทุ่ง เริ่มตั้งแต่ยุคทองของเพลงลูกทุ่ง เมื่อปลายปี พ.ศ.๒๕๐๗ ซึ่งได้รับขนานนามว่า “เพลงลูกทุ่ง” เป็นต้นมา นำมาศึกษาและวิเคราะห์เนื้อหาสาระที่สะท้อนถึงเพลงลูกทุ่งที่สอดคล้องกับคำสอนในพระพุทธศาสนา อิทธิพลของพระพุทธศาสนาที่มีต่อบทเพลงลูกทุ่งไทย และวิเคราะห์หลักคำสอนของพระพุทธศาสนาที่ปรากฎอยู่ในบทเพลงลูกทุ่งไทย นอกจากนี้ยังเป็นการค้นคว้าแหล่งกำเนิดขนบธรรมเนียมประเพณีค่านิยม และการดำเนินชีวิตของชาวชนบทไทยและความเชื่อที่ปรากฎอยู่ในบทเพลงลูกทุ่งไทยด้วย
           บทเพลงลูกทุ่งมรดกทางวัฒนธรรม ได้ทำหน้าที่สะท้อนภาพสังคมไทยมาตลอดทุกยุคทุกสมัย ได้ทำหน้าที่บันทึกภาพทางประวัติศาสตร์เอาไว้ให้คนรุ่นหลังได้รับรู้ ได้ถ่ายทอดวัฒนธรรมประเพณีวิถีชีวิตแบบไทย ๆ เอาไว้อย่างงดงามและมีเสน่ห์ยิ่ง แม้ว่าบทเพลงลูกทุ่งจะมีเนื้อเรื่องว่าด้วยความรักและการพลัดพราก การชิงรักหักสวาท แต่บางเพลงจะจบลงด้วยแนวคิดในเรื่อง “กฎแห่งกรรม” คนทำดีย่อมได้ดี คนทำชั่วย่อมได้รับโทษทัณฑ์
 ศาสนาที่ประเสริฐ ถ้าปราศจากศิลปะก็ปราศจากความละเมียดละไม และยากที่คนจะเข้าถึง ศิลปะถ้าไม่อาศัยศาสนาก็เสื่อม หยาบและไม่ประณีต ศิลปะทุกชนิดกับศาสนาจึงมีหลักการละม้ายคล้ายคลึงกัน คือ เป็นของเกี่ยวกับอารมณ์และความคิดเห็นคำนึงเห็นทางจิตใจ  พระศาสนากับศิลปะจึงมักพึงพาอาศัยกัน เพราะมีหลักการทำนองเดียวกัน
           เนื้อหางานวิจัย เป็นการศึกษาวิเคราะห์เพลงลูกทุ่ง กล่าวถึงหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่ปรากฎอยู่ในบทเพลงลูกทุ่งทั้งโดยตรงและโดยอ้อม การวิเคราะห์ สรุปและข้อเสนอแนะ
           การวิจัยสรุปผลได้ว่า เพลงลูกทุ่งเป็นวรรณกรรมที่มีคุณค่าด้านสาระเกี่ยวกับสังคมและวิถีชีวิตของชาวชนบทไทยอย่างกว้างขวาง การสะท้อนให้เห็นความเชื่อโดยทั่ว ๆ ไปของสังคมไทยซึ่งเป็นสังคมพระพุทธศาสนา เป็นสิ่งที่พบมากในเพลงลูกทุ่ง ความเชื่อในเรื่องบุญกรรมได้บรรดาเทาความรุนแรงของปัญหาช่องว่างระหว่างคนจนกับคนรวยจึงถีบตัวห่างออกจากกันมากขึ้นทุกทีนั้น เพลงลูกทุ่งได้สะท้อนให้เห็น “เอกลักษณ์ของคนไทย” อย่างหนึ่ง คือ ความเชื่อในเรื่องบุญกรรมเรื่องชาติก่อนชาติหน้า ความเชื่อในเรื่องเหล่านี้แม้จะไม่เป็นวิทยาศาสตร์ แต่ก็นับเป็นข้อปลอบใจคนจนยามสิ้นหวังได้เป็นอย่างดี และที่สำคัญเพลงลูกทุ่งยังสะท้อนให้เห็นว่าสังคมไทยส่วนมากยังขาดกลไกที่นำมาซึ่งความเสมอภาพและยุติธรรม ด้วยเหตุนี้จึงอาจพิจารณาได้ว่าเพลงลูกทุ่งมิใช่เป็นเพียงสื่อเพื่อความบันเทิงบริสุทธิ์ เพลงลูกทุ่งอาจจัดเป็นวรรณกรรมเพื่อชีวิตที่กำหนดวัฒนธรรมไทย  มรดกไทย ในสมัยต่าง ๆ ไว้ให้คนรุ่นหลังได้ด้วย

Download : 253703.pdf
 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕