หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » เอกราช ปลอดโปร่ง
 
เข้าชม : ๒๐๐๐๘ ครั้ง
ประสิทธิภาพการบริหารจัดการของพนักงานเทศกิจ สำนักงานเขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร (รัฐประศาสนศาสตร์)
ชื่อผู้วิจัย : เอกราช ปลอดโปร่ง ข้อมูลวันที่ : ๑๒/๑๑/๒๐๑๕
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูสังฆรักษ์เกียรติศักดิ์ กิตฺติปญฺโญ
  บุษกร วัฒนบุตร
  -
วันสำเร็จการศึกษา : 2558
 
บทคัดย่อ

 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการบริหารจัดการของพนักงานเทศกิจ สำนักงานเขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร ๒) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพการบริหารจัดการของพนักงานเทศกิจ สำนักงานเขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร ตามหลักอิทธิบาท ๔ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ ๓) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และแนวทางพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการของพนักงานเทศกิจ สำนักงานเขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Method Research) โดยใช้ระเบียบวิจัยเชิงปริมาณโดยวิธีการสำรวจ (Survey method) เก็บข้อมูลจากประชาชนกลุ่มตัวอย่างในพื้นที่เขตบางกอกน้อย จำนวน ๓๙๙ คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่น (Reliability) เท่ากับ ๐.๗๙๘  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ (Frequencies) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และทดสอบสมมติฐานโดย การทดสอบค่าที (t-test) เพื่อทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยสองกลุ่ม และการทดสอบค่าเอฟ (F-test) ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) เพื่อทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยตั้งแต่สามกลุ่มขึ้นไป และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference : LSD.) และการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก (In depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลหลัก (Key Informants) โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท

               ผลการวิจัย พบว่า 

              ๑) ความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิภาพการบริหารจัดการของพนักงานเทศกิจ สำนักงานเขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x = 3.47, S.D.= ๐.๕๖) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านฉันทะ ด้านจิตตะ และด้านวิมังสา อยู่ในระดับมาก ส่วนด้านวิริยะ อยู่ในระดับปานกลาง ตามลำดับค่าเฉลี่ย คือ ด้านฉันทะ (x = ๓.๕๔, S.D.= ๐.๗๓) ด้านจิตตะ (x = ๓.๕๑, S.D.= ๐.๖๖) ด้านวิมังสา (x = ๓.๔๓, S.D.= ๐.๗๑) และด้านวิริยะ (x = ๓.๓๙, S.D.= ๐.๗๑)

              ๒) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนต่อประสิทธิภาพการบริหารจัดการของพนักงานเทศกิจ สำนักงานเขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ประชาชนที่มี ระดับการศึกษา รายได้ ต่างกันมีความคิดเห็นต่อประสิทธิภาพการบริหารจัดการ แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๑ และประชาชนที่มี อายุ อาชีพ แตกต่างกัน มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ จึงยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้ ส่วนประชาชนที่มี เพศ ต่างกันมีความคิดเห็นต่อประสิทธิภาพการบริหารจัดการ ไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้

              ๓) ปัญหาและอุปสรรคที่เกี่ยวกับประสิทธิภาพการบริหารจัดการของพนักงานเทศกิจ สำนักงานเขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร พบว่า เจ้าหน้าที่ขาดประสบการณ์ในการทำงานการปฏิบัติงานไม่ค่อยต่อเนื่อง ส่วนมากงานค่อนข้างด่วนและเป็นงานเฉพาะหน้าเจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอกับการปฏิบัติงานขั้นตอนและกระบวนการไม่ชัดเจน ขาดแรงจูงใจในการปฏิบัติงานซึ่งในบางครั้งค่าตอบแทนล่วงเวลาไม่มี ทำให้เจ้าหน้าที่ไม่มีความพึงพอใจในงานที่ทำ สำหรับข้อเสนอแนะที่เกี่ยวกับประสิทธิภาพการบริหารจัดการจัดการอบรมเพิ่มความรู้ให้กับเจ้าหน้าที่ให้มากขึ้น ผู้ควบคุมหรือหัวหน้าควรตรวจตราผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างสม่ำเสมอ เพิ่มจำนวนเจ้าหน้าที่ให้เพียบพอกับงานจัดทีมบริหารสำหรับงานเร่งด่วนหรืองานเฉพาะหน้า การมอบหมายงานต้องมีความชัดเจน ในกระบวนการขั้นตอน เพิ่มแรงจูงใจให้กับเจ้าหน้าที่ เช่น ค่าล่วงเวลา โบนัส เพื่อให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕