หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » เถลิงเกียรติ อาภาพรโชติวงศ์
 
เข้าชม : ๑๖๗๕๕ ครั้ง
ศึกษาแนวทางการดำเนินชีวิตตามหลักทิฏฐธัมมิกัตถะในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท
ชื่อผู้วิจัย : เถลิงเกียรติ อาภาพรโชติวงศ์ ข้อมูลวันที่ : ๑๖/๑๒/๒๐๑๖
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระสุธีธรรมานุวัตร
  รังษี สุทนต์
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๖
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

 

วิทยานิพนธ์นี้  มีวัตถุประสงค์  ข้อ  คือ  (๑)  เพื่อศึกษาหลักทิฏฐธัมมิกัตถะในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท  (๒)  เพื่อศึกษาวิธีการปฏิบัติตนของพุทธศาสนิกชนตามหลักทิฏฐธัมมิกัตถะ  (๓)  เพื่อวิเคราะห์แนวทางการดำเนินชีวิตตามหลักทิฏฐธัมมิกัตถะ 

ผลจากการวิจัยพบว่า หลักทิฏฐธัมมิกัตถะมี    อย่าง คือ  (๑) อุฏฐานสัมปทา ความถึงพร้อมด้วยความขยันหมั่นเพียร  (๒) อารักขสัมปทา  ความถึงพร้อมด้วยการรักษา  (๓) กัลยาณมิตตตา  ความเป็นผู้มีมิตรที่ดีงาม  (๔)  สมชีวิตา  ความเป็นอยู่อย่างเหมาะสมพอเพียง  หลักดังกล่าวมานี้จะต้องมีอิทธิบาท ๔  คิหิสุข ๔ และสัมมัปปธาน    เข้าประกอบด้วยจึงทำให้การแสวงหาทรัพย์และการใช้จ่ายทรัพย์เป็นไปอย่างถูกต้อง และเกิดประโยชน์ทั้งต่อตนเองและผู้อื่น

การปฏิบัติตนตามหลักทิฏฐธัมมิกัตถะมี  ๒ อย่าง คือ  (๑)  เข้าใจโลกและความสืบเนื่องเป็นไปของชีวิตที่ต้องอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ทางธรรมชาติด้วยหลักการเรื่องอริยสัจ ๔ และปฏิจจสมุปบาท  (๒)  ปฏิบัติตนอย่างถูกต้องเพื่อพัฒนาศักยภาพและเสริมสร้างความมั่นคงให้กับชีวิตของตนเอง และผู้อื่นด้วยวิธีการปฏิบัติตน ตามหลักของอริยทรัพย์  ๗ ได้แก่  ศรัทธา  ศีล  หิริ โอตตัปปะ พาหุสัจจะ  จาคะ และปัญญา  ผลจากการปฏิบัติตนอย่างถูกวิธีทำให้เห็นผลในขั้นต้นที่เป็นความสุขโลกียสุข  คือ ความสุขแบบชาวโลก และโลกุตตรสุข  คือความสุขเหนือชาวโลก ผลดังกล่าวนี้  หากยังไม่บรรลุความสุขถึงขั้นสูงสุดก็จะเป็นปัจจัยในภพชาติต่อ ๆ ไป

วิเคราะห์แนวทางการดำเนินชีวิตตามหลักทิฏฐธัมมิกัตถะ มีบุคคล  ๔ ประเภทที่เข้าหลักนี้ คือ  (๑)  บุคคลผู้มืดมาและมืดไป  (๒)  บุคคลผู้มืดมาและสว่างไป (๓) บุคคลผู้สว่างมาแต่มืดไป  (๔) บุคคลผู้สว่างมาและสว่างไป  จึงทำให้แนวทางการดำเนินชีวิต มีความสอดคล้องกับหลักทิฏฐธัมมิกัตถะ อาทิ  นายปุณณะ  บิดาของมัฏฐกุณฑลี  โกสิยเศรษฐี  มุสิกเศรษฐี  จูเฬกสาฎก  บุตรเศรษฐีผู้มีทรัพย์มาก  โจรเคราแดง และ อนาถบิณฑิกเศรษฐี   

ดังนั้น  การนำหลักทิฎฐธัมมิกัตถะประโยชน์  เพื่อมาแก้ไขปัญหาชีวิต   และการดำเนินชีวิตของบุคคลโดยทั่วๆ ไป ที่มีวิถีชีวิตดำเนินอยู่ในสังคมปัจจุบัน มีทั้งหมด ๔ ข้อ คือ  (๑)  การนำหลักอุฏฐานสัมปทา   มาแก้ปัญหาการขาดความขยันหมั่นเพียรหลีกจากความชั่วทั้งปวง และให้สำรวมรักษา  กาย วาจา ใจ  ของเรามิให้หลงไปตามกระแสวัตถุต่างๆ  (๒) การนำหลักอารักขสัมปทา   มาแก้ปัญาชีวิตการไม่รู้จักรักษาทรัพย์ที่เราหามาได้ให้คงอยู่ เพื่อนำมาสร้างตัวสร้างฐานะให้เพิ่มขึ้น  (๓)  การนำหลักกัลยาณมิตตตา  มาแก้ปัญหาชีวิตการคบคนพาล ต้องมีกัลยาณมิตรที่ดี คือ ผู้ที่คอยชี้แนะนำสั่งสอนผู้ที่ทรงคุณวุฒิปัญญาคอยสนับสนุนชักจูงชี้ช่องทางให้ (๔) การนำหลักสมชีวิตา  มาแก้ปัญหาชีวิตการใช้จ่ายทรัพย์เกินฐานะ  คือ การประหยัดเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมากต่อชีวิตของบุคคลเราชีวิตจะราบรื่นมีความสุขได้ ก็ต้องรู้จักใช้เงินทองอย่างประหยัดไม่ใช้จ่ายอย่างสุรุ่ยสุร่ายจนเกินฐานะของตัวเองจนเกินไป

  เพราะฉะนั้น  การประพฤติ และปฏิบัติตามหลักทิฏฐธัมมิกัตถะ  เพื่อให้เกิดประโยชน์สุข ที่เป็นจริงขึ้นมาได้ ทั้งในปัจจุบัน หรือในอนาคต บุคคลที่ปฏิบัติตามย่อมจะเกิดผลสำเร็จได้ทั้งส่วนตน  และส่วนครอบครัว  แม้ผลของความสำเร็จที่เกิดจากการปฏิบัติจะแตกต่างกันออกไปบ้าง  แต่จุดหมายปลายทางหลักที่เหมือนกันคือ  ความสุข หรือ ประโยชน์สุข และ ความพ้นทุกข์  เป็นต้น

ดาวน์โหลด

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕