หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » จินดา เฮงสมบูรณ์
 
เข้าชม : ๑๖๕๘๘ ครั้ง
การศึกษาวิเคราะห์วิธีปฏิบัติต่อเวทนาที่ปรากฏในคัมภีร์ พระพุทธศาสนาเถรวาท
ชื่อผู้วิจัย : จินดา เฮงสมบูรณ์ ข้อมูลวันที่ : ๑๗/๑๒/๒๐๑๖
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาทวี มหาปญฺโญ
  รังษี สุทนต์
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๗
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

 

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการได้แก่ ๑. เพื่อศึกษาเวทนาที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท ๒. เพื่อศึกษาหลักธรรมที่เกี่ยวข้องกับเวทนาในคัมภีร์พระพุทธศาสนา     เถรวาท และ ๓. เพื่อศึกษาวิเคราะห์วิธีปฏิบัติต่อเวทนาที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท

ผลการศึกษาพบว่า เวทนาหมายถึงการเสวยอารมณ์ คือ ความรู้สึกต่อสิ่งที่ถูกรับรู้  เกิดจากองค์ประกอบ ๓ ประการ คืออายตนะภายนอก กระทบกับอายตนะภายใน  โดยมี วิญญาณรับรู้อารมณ์นั้น  ลักษณะการประจวบกันทั้ง ๓ สิ่งนี้เรียกว่า ผัสสะ กล่าวได้ว่าผัสสะเป็นปัจจัยให้เกิดเวทนา เวทนามี ๓ ลักษณะด้วยกันได้แก่ความรู้สึกสุข สบายทางกายหรือใจ ความรู้สึกทุกข์ ไม่สบายทางกายหรือใจและความรู้สึกเฉยๆไม่สุขไม่ทุกข์  เวทนามีธรรมชาติที่อยู่ภายใต้กฎของไตรลักษณ์ทั้ง ๓ ประการได้แก่ ๑) อนิจจตา คือมีความไม่เที่ยง ๒) ทุกขตา คือมีความเป็นทุกข์ คงทนอยู่ไม่ได้ และ ๓) อนัตตตา คือความเป็นของไม่ใช่ตัวตนจึงไม่สามารถบังคับบัญชาให้เป็นไปอย่างที่ปรารถนาได้      

การศึกษาหลักธรรมที่เกี่ยวข้องกับเวทนาในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท พบว่าหลักธรรมที่เกี่ยวข้องกับเวทนาในฐานะเป็นปัจจัยให้เกิดเวทนา ได้แก่  ตัณหา ๓  อกุศลมูล  ๓ นิวรณ์     โลกธรรม ๘  แม้ธรรมเหล่านี้ จะทำให้เกิดเวทนาทั้ง ๓ ประเภท คือสุขเวทนา ทุกขเวทนา และอุเบกขาเวทนา แต่ก็จะทำให้ปุถุชนโดยทั่วไปพบกับทุกขเวทนาในบั้นปลาย ส่วนหลักธรรมที่เป็นปัจจัยให้เวทนาดับ ได้แก่หลักธรรมที่ช่วยบุคคลให้ดับหรือบรรเทาเวทนาได้ หรือทำให้เกิดอุเบกขาเวทนาที่มีปัญญากำกับ    หลักธรรมเหล่านี้ได้แก่  สติ  สัมปชัญญะ ขันติ วิริยะ  โยนิโสมนสิการ  สมาธิ  ฌาน   สติปัฏฐาน ๔  โพชฌงค์ ๗  อริยมรรค มีองค์ ๘  สัญญา ๑๐ และอนุสติ ๑๐  

เกี่ยวกับการปฏิบัติต่อเวทนาในพระไตรปิฎกนั้นคือการเจริญหลักธรรมที่เป็นปัจจัยให้เวทนาดับ ได้แก่ สติ สัมปชัญญะ เป็นต้น นอกจากนี้พระพุทธเจ้าทรงสอนให้ใช้เวทนาเป็นโอกาสในการเจริญมรรคผลให้ถึงการหมดกิเลสคือพระนิพพาน ส่วนการประยุกต์วิธีปฏิบัติต่อเวทนามาใช้ในชีวิตประจำวันก็คือการที่บุคคลเตรียมพร้อมที่จะเผชิญกับเวทนาทั้งสามประการอย่างถูกต้อง   โดยละหลักธรรมอันเป็นปัจจัยให้เกิดเวทนา เจริญหลักธรรมอันเป็นปัจจัยให้เวทนาดับ   มีสติ สัมปชัญญะ ให้ทันปัจจุบัน  มีขันติอย่างพอเพียง และใช้โยนิโสมนสิการอย่างพอเหมาะ สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งคือต้องไม่ยึดมั่นถือมั่นในตัวตนและเวทนาทั้งปวง  นอกจากนี้ควรรู้จักปล่อยวางและปฏิบัติตนให้ถูกต้องต่อกฎธรรมชาติคือหลักแห่งปฏิจจสมุปบาท  ซึ่งเป็นหนทางที่จะทำให้ชีวิตเป็นสุขอย่างเพียงพอ

ดาวน์โหลด

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕