หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระครูปริยัติธรรมาภรณ์ (กิม โฆสโก)
 
เข้าชม : ๑๖๗๖๗ ครั้ง
ศึกษาวิเคราะห์วิธีการเผยแผ่หลักธรรมของพุทธทาสภิกขุ
ชื่อผู้วิจัย : พระครูปริยัติธรรมาภรณ์ (กิม โฆสโก) ข้อมูลวันที่ : ๑๗/๑๒/๒๐๑๖
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาสมพาน ชาคโร
  พระอธิการเวียง กิตฺติวณฺโณ
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๖
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์  เพื่อศึกษาวิธีการเผยแผ่หลักธรรมของพระพุทธเจ้า,  เพื่อศึกษาวิธีการเผยแผ่หลักธรรมของพุทธทาสภิกขุ, และเพื่อศึกษาวิเคราะห์วิธีการเผยแผ่หลักธรรมของพุทธทาสภิกขุ    ศึกษาวิธีดำเนินการวิจัย  ศึกษาข้อมูลจากคัมภีร์พระไตรปิฎก  อรรถกถา  ตำรา  เอกสารทางวิชาการ  และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง  ผลการศึกษาวิจัยพบว่า

 

                 ๑.  วิธีการเผยแผ่หลักธรรมของพระพุทธเจ้า เป็นการเผยแผ่หลักธรรมที่มีเป้าหมาย คือ บุคคล  โดยใช้วิธีการสอนตามจริตของบุคคล  และใช้หลักโอวาทปาติโมกข์  คือการไม่เบียดเบียน  ไม่ทำบาป  ทำจิตใจให้บริสุทธิ์ผ่องใส  และส่งพระสาวกไปประกาศชุดแรก จำนวน ๖๐ รูป เป็นการปลูกฝังอบรมให้พุทธศาสนิกชนเป็นคนดีมีศีลธรรมนั้น  ถือว่าเป็นหน้าที่โดยตรงของพระสงฆ์สาวกตั้งแต่ครั้งพุทธกาลจนถึงปัจจุบัน  งานเผยแผ่พุทธธรรมเป็นงานที่สำคัญยิ่งของคณะสงฆ์ประการหนึ่ง วิธีการเผยแผ่พุทธธรรมในสมัยพุทธกาลนั้นพระพุทธองค์ทรงใช้วิธีการเผยแผ่แบบประยุกต์ให้เข้ากับสังคมสภาพแวดล้อม  ชุมชน  จารีตประเพณีรวมทั้งอุปนิสัยและระดับภูมิปัญญาของผู้ฟังแต่ละคน  ทรงให้เทคนิคและวิธีการที่หลากหลายแตกต่างกันไป  เช่น  ทรงใช้อุบายในการเลือกคน  หรือการรู้จักรอจังหวะและโอกาส  เป็นต้น  หลังจากพระพุทธองค์เสด็จดับปรินิพพาน  พระสาวกทั้งหลายก็มีการทำสังคายนาพระธรรมวินัย    และหลังสังคายนาครั้งที่ ๓ ที่มีพระเจ้าอโศกมหาราชเป็นประธานฝ่ายคฤหัสถ์ผู้อุปถัมภ์  ก็ได้ส่งพระเถระออกประกาศพระพุทธศาสนาไปทั่วโลกมีจำนวน    สาย

                 ๒.  วิธีการเผยแผ่หลักธรรมของพุทธทาสภิกขุ  ท่านพุทธทาส มีนามเดิมว่า เงื่อม นามสกุล พานิช เกิดเมื่อ วันอาทิตย์ ขึ้น ๗ ค่ำ เดือน ๗ ปีมะเมีย วันที่ ๒๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๔๙ ในสกุลของพ่อค้าที่ตลาด พุมเรียง ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี บิดา ชื่อ เซี้ยง มารดาชื่อ เคลื่อน มีน้องสองคน เป็นชายชื่อยี่เก้ย และเป็นหญิงชื่อกิมซ้อย บิดาของท่านมีเชื้อสายจีน ประกอบอาชีพหลักคือการค้าขายของชำ บวชเป็นพระ ตามคตินิยมของชายไทยที่วัดโพธาราม ไชยา ได้รับฉายาว่า"อินทปัญโญ" แปลว่า ผู้มีปัญญา อันยิ่งใหญ่ เดิมท่านตั้งใจจะบวชเรียน ตามประเพณี เพียง ๓ เดือน แต่ ความสนใจ ความซาบซึ้ง ความรู้สึกเป็นสุข และสนุกในการศึกษาและเทศน์แสดงธรรม ตลอดชีวิต ของ ท่านอาจารย์พุทธทาส ท่านย้ำอยู่เสมอว่า "ธรรมะ คือ หน้าที่" เป็นการทำหน้าที่ เพื่อความอยู่รอด แต่ที่ทำให้สังคมโลกได้รับรู้มาก  คือ  ปณิธาน ๓  ข้อ  ข้อที่๓ ที่กล่าวถึง  การดึงมนุษย์ให้ออกจากวัตถุนิยม  ข้อนี้เป็นข้อที่องค์การสหประชาชาติได้มอบรางวัลเกียติยศบุคคลสำคัญของโลก  คือ รางวัลยูเนสโกให้ พุทธทาสได้ทำหน้าที่ ในฐานะ ทาสผู้ซื่อสัตย์ ของพระพุทธเจ้า ทุกอณูแห่งลมหายใจ เข้าออก จนแม้วาระสุดท้าย แห่งชีวิต จึงไม่น่าสงสัยเลยว่า ผลงาน ที่ท่าน สร้างสรรค์ ไว้ เพื่อ เป็น มรดก ทางธรรมนั้น จะมีมากมาย

 

                 ๓. ผลของวิธีการเผยแผ่หลักธรรมของพุทธทาสภิกขุ  ได้เริ่มงานศึกษาค้นคว้าหลักพุทธธรรมและงานเผยแผ่มาตั้งแต่ ปี พ.ศ. ๒๔๗๓   ผลงานเขียนเรื่องแรกเป็นบทความชื่อ  ประโยชน์แห่งทาน  ต่อมาเมื่อท่านเดินทางกลับถึงบ้านเกิดแล้วได้เขียนบทความ  วิจารณ์สภาพพระพุทธศาสนาและบทบาทของพระสงฆ์เรื่องการปฏิบัติธรรม  พูดบรรยายธรรมะมีผู้สนใจฟังมากสถานที่ปฏิบัติธรรมและการศึกษาค้นคว้าหลักพุทธธรรมเพื่อการเผยแผ่ที่ทุกคนรู้จักกันอย่างดีในยุคปัจจุบันที่เรียกว่า  สวนโมกขพลาราม ท่านพุทธทาสได้ย้ำอยู่เสมอว่า "ธรรมะ คือ หน้าที่" ที่ทั้งทางฝ่ายกายและฝ่ายวิญญาณของมนุษย์ และท่านได้ทำหน้าที่ในฐานะทาสผู้ซื่อสัตย์ของพระพุทธเจ้า  ผลงานการแต่งหนังสือธรรมะของท่านพุทธทาสที่ทรงคุณค่าและมีผู้สนใจอ่านมาก เช่น หนังสือ  คู่มือมนุษย์  ผลงานเรื่องนี้ได้รับความนิยมอย่างสูงสุดสามารถอ่านเข้าใจได้ถึงตัวตนที่แท้จริงของมนุษย์ได้อย่างลึกซึ้ง  หนังสือ  แก่นพุทธศาสน์  ผลงานเรื่องนี้เป็นผลงานที่สำคัญและเป็นหัวใจสำคัญของผู้สนใจศึกษาธรรมะทั้งหลาย  หนังสือเรื่องนี้ได้รับรางวัลขององค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติหรือยูเนสโก เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๘

 

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕