หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » สวิต มัคราช
 
เข้าชม : ๒๐๐๑๕ ครั้ง
ศึกษาเปรียบเทียบการบริหารเชิงพุทธกับหลักธรรมาภิบาล
ชื่อผู้วิจัย : สวิต มัคราช ข้อมูลวันที่ : ๑๗/๑๒/๒๐๑๖
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาปรีดา ขนฺติโสภโณ
  อุทัย เอกสะพัง
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๖
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

 

วิทยานิพนธ์  เรื่อง  ศึกษาเปรียบเทียบการบริหารเชิงพุทธกับหลักธรรมาภิบาล       มีวัตถุประสงค์  ดังนี้  ๑)  เพื่อศึกษาหลักการและแนวคิดเกี่ยวกับการบริหารเชิงพุทธ                   ๒)  เพื่อศึกษาหลักการและแนวคิดเกี่ยวกับหลักธรรมาภิบาล  ๓)  เพื่อเปรียบเทียบหลักการ            และแนวคิดของการบริหารเชิงพุทธกับหลักการและแนวคิดหลักธรรมาภิบาล  ดำเนินการศึกษาโดยการศึกษาเอกสาร  และรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ  ทั้งเอกสารชั้นปฐมภูมิ  ได้แก่  พระไตรปิฎก  และเอกสารชั้นทุติยภูมิ  ได้แก่  งานวิจัย  วิทยานิพนธ์  เอกสาร  สิ่งตีพิมพ์ทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการบริหารเชิงพุทธและหลักธรรมาภิบาล  นำข้อมูลที่ได้มาจัดประเภทตามหัวเรื่อง        ที่กำหนด  วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา  เรียบเรียงเพื่อนำเสนอข้อมูลและข้อเสนอแนะ 

ผลการวิจัยพบว่า

๑)    หลักการและแนวคิดเกี่ยวกับการบริหารเชิงพุทธ  เป็นการนำหลักการบริหาร       ทางพระพุทธศาสนามาใช้ในการบริหาร  ตลอดจนใช้การบริหารเชิงพุทธมาเป็นแนวทางหรือหลักการดำเนินงานอย่างถูกวิธีและดีงามตามความเหมาะสม  มีหลักสำคัญ    ประการ  คือ  การครองตน  การครองคน  และการครองงาน

๒)    หลักการและแนวคิดเกี่ยวกับหลักธรรมาภิบาล  พบว่า  เป็นการบริหารที่ว่าด้วย   การสร้างระบบการบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี  เพื่อส่งเสริมและผลักดันให้ภาครัฐ          ภาคธุรกิจ  ภาคเอกชน  และภาคประชาชนได้ตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ในการบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมให้มีประสิทธิภาพตามหลักกฎหมาย มีส่วนรับผิดชอบในระบบการบริหารจัดการบ้านเมืองและสังคม  โดยอาศัยหลัก    ประการ  คือ  หลักนิติธรรม  หลักคุณธรรม  หลักความโปร่งใส  หลักการมีส่วนร่วม  หลักความรับผิดชอบ  และหลักความคุ้มค่า

๓)    การเปรียบเทียบหลักการและแนวคิดของการบริหารเชิงพุทธกับหลักการและแนวคิดของหลักธรรมาภิบาล  พบว่า  มีความสอดคล้องกันในส่วนของเป้าหมายที่ต้องการให้เกิดประโยชน์สูงสุด  ทั้งแก่บุคคล  องค์กร  และสังคม  แต่อาจจะมีข้อแตกต่างในรายละเอียด  หรือวิธีการปฏิบัติ  กล่าวคือ  การครองตนตามหลักการบริหารเชิงพุทธ  เป็นการปฏิบัติตามหลักสัปปุริสธรรม          คือ  รู้จักเหตุ  รู้จักผล  รู้จักตน  รู้จักประมาณ  รู้จักกาล  รู้จักชุมชน  และรู้จักบุคคล                 ส่วนหลักธรรมาภิบาลให้ความสำคัญกับการปฏิบัติตนตามหลักคุณธรรมที่เป็นหลักของความดีงาม      ที่ปลูกฝังอยู่ในจิตใจ  เป็นเครื่องยึดเหนี่ยว  ควบคุมพฤติกรรมที่สะท้อนออกมาให้ถูกต้องเหมาะสม  และหลักความรับผิดชอบต่อการตัดสินใจ  การกระทำและผลงานของตนที่ปรากฏ  รับผิดชอบต่อสมาชิก  ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย  องค์กร  และสังคม

การครองคนตามหลักการบริหารเชิงพุทธเน้นการปฏิบัติตามหลักสังคหวัตถุ        ซึ่งเป็นธรรมยึดเหนี่ยวใจบุคคล  และประสานหมู่ชนไว้ในความสามัคคี  ประกอบด้วย  ทาน  ปิยวาจา  อัตถจริยา  และสมานัตตตา  ส่วนหลักธรรมาภิบาลเน้นที่หลักนิติธรรม  อันเป็นการใช้กฎเกณฑ์  ระเบียบวินัย  ข้อบังคับ  กติกา  หรือข้อตกลง  มาเป็นบรรทัดฐานในการบริหาร  อย่างยุติธรรม    เสมอภาค  เป็นธรรม  และชอบธรรม  ได้รับการยอมรับและปฏิบัติตามจากสังคม  และสมาชิก       และหลักการมีส่วนร่วม  เปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องได้ร่วมรับรู้  แสดงความคิดเห็น  ร่วมปฏิบัติ        หรือร่วมตัดสินใจ  ตลอดจนร่วมสนับสนุน  ติดตาม  และตรวจสอบ

การครองงานตามหลักการบริหารเชิงพุทธเน้นการปฏิบัติตามหลักอิทธิบาท         ซึ่งเป็นคุณธรรมที่นำไปสู่ความสำเร็จแห่งผลที่มุ่งหมาย  ประกอบด้วย  ฉันทะ  วิริยะ  จิตตะ          และวิมังสา  ส่วนหลักธรรมาภิบาลให้ความสำคัญกับหลักความโปร่งใส  คือการสร้างความไว้วางใจ   ซึ่งกันและกันโดยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารให้สมาชิกในสังคมเข้าถึงได้  และมีส่วนร่วมในการตรวจสอบ  และหลักความคุ้มค่า  คือการใช้ทรัพยากรที่มีจำกัด  ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อส่วนรวม  ทำให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล  มีการรายงานผลการทำงานอย่างต่อเนื่อง 

ดาวน์โหลด

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕