หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระเสมา สุเมโธ (ป้อมสนาม)
 
เข้าชม : ๑๖๗๕๘ ครั้ง
ศึกษาพุทธทำนายในคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาท
ชื่อผู้วิจัย : พระเสมา สุเมโธ (ป้อมสนาม) ข้อมูลวันที่ : ๑๗/๑๒/๒๐๑๖
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระหัสดี กิตฺตินนฺโท
  เสรี ศรีงาม
  -
วันสำเร็จการศึกษา :
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

                 งานวิทยานิพนธ์เรื่องนี้  มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาพุทธทำนายในคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาท  โดยการวิจัยได้แบ่งเนื้อหาออกเป็น    ส่วน  คือ ส่วนแรกเป็นการศึกษาเกี่ยวกับพุทธทำนายที่ปรากฏในคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาท  โดยได้อธิบายความเป็นมา  ลักษณะสำคัญ  ประเภท  และตีความของพุทธทำนาย  ส่วนที่สอง  เป็นการศึกษาเกี่ยวกับปัญหาในสังคมปัจจุบันที่สอดคล้องกับพุทธทำนาย  และส่วนที่สามเป็นการศึกษาเกี่ยวกับหลักธรรมที่นำไปประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาในสังคมปัจจุบัน

                 ผลการวิจัยสรุปได้ว่า  ส่วนแรกพุทธทำนายนี้มีความเป็นมาในพระไตรปิฎกเป็นพุทธพจน์และปรากฏในคัมภีร์อรรถกถาเนื้อหาได้อธิบายความเป็นมาของพุทธทำนายเกี่ยวกับความฝัน  ๑๖  ประการของพระเจ้าปัสเสนทิโกศล ซึ่งลักษณะสำคัญของพุทธทำนายมีลักษณะการเปรียบเทียบ  การตีความ  การนำเสนอแบบเหนือจริง  มีการอุปมาอุปมัยข้ามยุคสมัยบอกถึงปัญหาต่าง ๆ  ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต  และปัญหาผู้วิจัยวิเคราะห์ถึงปัญหาต่าง ๆ  ได้     ประเภท  คือ  เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ,  เกี่ยวกับจริยธรรมของบุคคลด้านพฤติกรรมทางเพศและความกตัญญู, เกี่ยวกับสังคมการเมืองและเศรษฐกิจ,  และเกี่ยวกับพุทธบริษัท

                 ส่วนที่สอง  เป็นการศึกษาถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมปัจจุบันที่สอดคล้องกับพุทธทำนาย  โดยปัญหาที่มีผลกระทบต่อผู้คนในสังคมและสอดคล้องกับพุทธทำนายสามารถจัดกลุ่มของปัญหาได้  ๔ กลุ่ม  คือ  ๑.  ปัญหาสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ,  ๒.  ปัญหาด้านจริยธรรม,  ๓.  ปัญหาความเสื่อมคุณธรรมของผู้ปกครองและเศรษฐกิจ  และ  ๔.  ปัญหาด้านศาสนา

                 ส่วนที่สาม  หลักธรรมที่นำไปประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาสังคมปัจจุบันที่สอดคล้องกับพุทธทำนาย  คือ  การนำเอาหลักธรรมที่สอดคล้องกับปัญหาที่เกิดขึ้น  และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาได้จริงมาประยุกต์ใช้  โดยจักเห็นได้ว่าหลักธรรมทางพุทธศาสนานั้นเมื่อได้ศึกษาโดยเข้าใจถึงปัญหาก็จะสามารถนำไปแก้ไขปัญหาสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ  ปัญหาการขาดจริยธรรม  ปัญหาการเมือง ปัญหาเศรษฐกิจ ได้เป็นอย่างยิ่ง

ดาวน์โหลด

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕