หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระครูสันติโพธิวัตร (แสงเดือน สนฺติธมฺโม)
 
เข้าชม : ๑๖๗๖๓ ครั้ง
การศึกษาวิเคราะห์หลักศีลธรรมที่ปรากฏในบทเพลงเจรียงเบิรน : กรณีศึกษาบทเพลงเจรียงเบิรน ในอำเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์
ชื่อผู้วิจัย : พระครูสันติโพธิวัตร (แสงเดือน สนฺติธมฺโม) ข้อมูลวันที่ : ๑๗/๑๒/๒๐๑๖
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูศรีสุนทรสรกิจ
  สรเชต วรคามวิชัย
  -
วันสำเร็จการศึกษา :
 
บทคัดย่อ



                                                                  บทคัดย่อ

              วิทยานิพนธ์นี้มีจุดประสงค์เพื่อ ๑) ประวัติ พัฒนาการของบทเพลงเจรียงเบริน อำเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ๒) ศึกษาหลักศีลธรรมที่ปรากฏอยู่ในบทเพลงเจรียงเบริน  อำเภอเขวาสินรินทร์ ๓) เพื่อวิเคราะห์หลักศีลธรรมที่ปรากฏในบทเพลงเจรียงเบริน อำเภอ          เขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ผลการศึกษาพบว่า

                  เจรียงเบริน เป็นเพลงพื้นบ้านที่นิยมเล่นกันในแถบจังหวัดสุรินทร์ เจรียงเบรินเข้าใจว่าเกิดขึ้นประมาณ ๕๐-๖๐ ปีมานี้ โดยดัดแปลงมาจากบทร้องเก่าแก่ที่เรียกว่า"กัญต็อบไก”  โดยรูปแบบแล้วการเล่นเจรียงเบริน เหมือนกับการเล่นหมอลำกลอนคู่ของชาวไทยลาว และเหมือนเพลงโคราชและลำตัดของภาคกลาง คือเป็นวรรณคดีมุขปาฐะหรือวรรณคดีปากเปล่า จะมีการสัมผัสต่อเนื่องกัน และมีการใช้คำอุปมาอุปไมยหรือการใช้ความเปรียบเทียบเพื่อสร้างภาพพจน์ที่ชัดเจน

                  หลักศีลธรรมที่ปรากฎในบทเพลงเจรียงนั้นสามารถแบ่งได้ดังนี้ ศีลธรรมสำหรับชนชั้นปกครอง ศีลธรรมสำหรับบุคคลทั่วไป คือข้อควรประพฤติปฏิบัติและข้อควรละเว้น เพื่อให้เกิดความสุข ความเจริญในการดำเนินชีวิต จากการศึกษาในบทเพลงเจรียงเบรินพบว่าหลักศีลธรรมที่ปรากฎสำหรับบุคคลทั่วไปจำแนกออกเป็น ๓ ประการคือศีลธรรมสำหรับบุคคลตามฐานะศีลธรรมสำหรับบุคคลตามเพศ ศีลธรรมสำหรับบุคคลตามวัย

                  หลักศีลธรรมที่ปรากฏในบทเพลงเจรียงเบรินนั้นสามารถวิเคราะห์และสรุปลงได้ในหลักธรรมที่เกี่ยวกับเรื่องเกิด แก่ เจ็บตาย เมื่อกล่าวโดยนัยหนึ่งก็คือหลักไตรลักษณ์ในพุทธศาสนานั่นเอง เพราะทั้งการเกิดแก่เจ็บตายล้วนตั้งอยู่ในความเที่ยงแท้แน่นอน ความไม่มีแก่นสาร ของสรรพสิ่งทั้งหลาย สิ่งเหล่านี้นักเจรียงได้นำมาแต่งเป็นบทเจรียงเพื่อสอนประชาชนไม่ให้ตั้งอยู่ในความประมาท เพราะชีวิตคนเราไม่มีอะไรเที่ยงแท้แน่นอน มีการเกิด แก่ เจ็บ ตายเป็นธรรมดา
ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕