หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหารุ่งเรือง ขนฺติสโห (เหิดขุนทด)
 
เข้าชม : ๒๐๐๐๘ ครั้ง
การศึกษาเปรียบเทียบปัณณัตติวัชชะและโลกวัชชะในพระพุทธศาสนาเถรวาท
ชื่อผู้วิจัย : พระมหารุ่งเรือง ขนฺติสโห (เหิดขุนทด) ข้อมูลวันที่ : ๑๗/๑๒/๒๐๑๖
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาสุพัตร์วชิราวุโธ
  เกียรติศักดิ์ นาคประสิทธิ์
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๗
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

 

วิทยานิพนธ์นี้เป็นการวิจัยเอกสารเรื่องการศึกษาเปรียบเทียบปัณณัตติวัชชะและโลกวัชชะในพระพุทธศาสนาเถรวาทนี้มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ(๑) เพื่อศึกษาปัณณัตติวัชชะในพระพุทธศาสนาเถรวาท(๒) เพื่อศึกษาโลกวัชชะในพระพุทธศาสนาเถรวาท (๓) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบปัณณัตติวัชชะและโลกวัชชะในพระพุทธศาสนาเถรวาทผลการศึกษาพบว่า

              ปัณณัตติวัชชะในพระพุทธศาสนาเถรวาทพบว่าปัณณัตติวัชชะเป็นโทษทางพระบัญญัติเป็นโทษทางพระวินัย ทำแล้วมีความผิดเฉพาะพระภิกษุ  ชาวบ้านไม่มีความผิด  เช่น  ขุดดิน ยืนปัสสาวะ  ยืนทานข้าว  ยืนดื่มน้ำ ฉันอาหารหลังเที่ยง จึงถูกปรับอาบัติทางพระวินัยและเป็นที่ติเตียนในหมู่คณะสงฆ์ด้วยกัน

โลกวัชชะในพระพุทธศาสนาเถรวาทพบว่า การกระทำผิดที่ทางฝ่ายบ้านเมืองตำหนิติเตียนว่าไม่ดีมีความผิด และแม้ปุถุชนชาวบ้านทั่วไปทำก็ไม่ดีมีความผิด  เช่น  ฆ่ามนุษย์  ลักขโมย เล่นการพนัน ดื่มเหล้า เป็นต้น แม้ว่าความผิดบางอย่างแม้วินัยไม่ระบุไว้ว่ามีความผิด แต่หากเป็นความผิดตามกฎหมายบ้านเมือง ภิกษุก็ทำไม่ได้เช่นเดียวกัน กล่าวได้ว่าเมื่อเกิดการประพฤติเสียหายขึ้นนอกจากจะผิดพระวินัยแล้วยังเป็นโลกวัชชะเป็นที่ติเตียนของชาวบ้าน

การเปรียบเทียบปัณณัตติวัชชะและโลกวัชชะในพระพุทธศาสนาเถรวาทพบว่าด้านความหมายมีความต่างกัน คือ ปัณณัตติวัชชะเป็นโทษทางวินัย ส่วนโลกวัชชะเป็นสิ่งที่ชาวโลกติเตียนสำหรับสิกขาบทของปัณณัตติวัชชะและโลกวัชชะบัญญัติเกี่ยวข้องกับศีลของพระภิกษุ  มูลเหตุปัณณัตติวัชชะก็เพื่อภิกษุสงฆ์รักษาพระวินัย ส่วนบัญญัติโลกวัชชะป้องกันการติเตือนจากชาวโลก ส่วนองค์ประกอบแห่งอาบัติมีความเหมือนกัน คือ ความเจตนา และความไม่เจตนา  โทษแห่งการล่วงละเมิดปัณณัตติวัชชะและโลกวัชชะจึงแตกต่างกันไปแต่ที่สำคัญไม่เป็นผลดีต่อพระภิกษุและคณะสงฆ์ส่วนใหญ่  หากไม่ประพฤติผิดก็จะได้ประโยชน์  คือ เพื่อให้เป็นที่ยอมรับและความผาสุกของคณะสงฆ์ ไม่ถูกติเตียนจากชาวโลก แต่จะเป็นที่ศรัทธาเลื่อมใสของบุคคลทั่วไป

ดาวน์โหลด

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕