หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหาเสฏฐวุฒิ วชิรญาโณ (ปาสวน)
 
เข้าชม : ๑๖๗๖๐ ครั้ง
การศึกษาวิเคราะห์หลักความดีในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท
ชื่อผู้วิจัย : พระมหาเสฏฐวุฒิ วชิรญาโณ (ปาสวน) ข้อมูลวันที่ : ๑๙/๑๒/๒๐๑๖
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระสุธีธรรมานุวัตร
  พระมหาสุทิตย์ อาภากโร
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๖
 
บทคัดย่อ

                                                    บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ ได้แก่ (๑) เพื่อศึกษาหลักความดีในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท (๒) เพื่อศึกษาหลักธรรมที่สัมพันธ์กับการส่งเสริมความดีในคัมภีร์พระพุทธศาสนา (๓) เพื่อศึกษาวิเคราะห์หลักธรรมที่สัมพันธ์กับการส่งเสริมความดีในทัศนะของ
พระเถระในสังคมไทย
                ผลการวิจัยพบว่า หลักความดี เมื่อกล่าวโดยนัยทางธรรมชาติ หมายถึง คุณสมบัติทางจิตใจของมนุษย์ เมื่อกล่าวโดยเหตุ “ความดี หรือ บุญกุศล” ก็คือ คุณธรรมเป็นเครื่องชำระจิตใจของมนุษย์ให้สะอาดบริสุทธิ์และผ่องใส และเมื่อกล่าวโดยผล “ความดี หรือบุญกุศล” ก็คือ ความสุขที่มนุษย์ที่จะได้รับนั้นก็คือความสุข ในทางพระพุทธศาสนามีทัศนคติว่า การกระทำที่ถือว่า “ดีหรือชั่ว” นั้น ต้องเป็นการกระทำที่มีความจงใจ หรือมีเจตนา การกระทำที่ประกอบด้วยเจตนา เรียกว่า “กรรม” การกระทำที่ดี นั้นคือ การกระทำที่เกิดจากเจตนาดีที่ประกอบด้วยกุศลมูลหรือรากเหง้าแห่งความดี ได้แก่ความไม่โลภ ความไม่โกรธ ความไม่หลงผิด จากทำนองครองธรรม ส่วนการกระทำชั่วก็เกิดจากเจตนาชั่วที่ประกอบด้วยอกุศลมูลซึ่งเป็นรากเหง้าแห่งความชั่ว ได้แก่ความโลภ ความโกรธ ความหลงผิดจากทำนองครองธรรม
               หลักธรรมที่สัมพันธ์กับการส่งเสริมความดีของสังคมในคัมภีร์พระพุทธศาสนา โดยแบ่งออกเป็นหลักธรรมที่ส่งเสริมความดีด้านความสัมพันธ์เช่น สังคหวัตถุ ๔  สาราณียธรรม ๖ และทิศ ๖ เป็นต้น  หลักธรรมที่ส่งเสริมความดีด้านการปกครองเช่น พรหมวิหาร๔ ทศพิธราชธรรม และ   อปริหานิยธรรม ๗ เป็นต้น หลักธรรมที่ส่งเสริมความดีด้านความยุติธรรมเช่น อคติ ๔ เป็นต้น  และหลักธรรมที่ส่งเสริมด้านด้านความเสมอภาคเช่น การใช้หลักในเกสปุตติสูตร ๑๐ เป็นต้น  หลักธรรมทั้งหมดที่กล่าวมาแล้วข้างต้นเป็นหลักธรรมที่แสดงออกถึงความประพฤติดี ทางกาย วาจาและใจ เป็นข้อปฏิบัติเพื่อการทำความดีในทางพระพุทธศาสนาโดยก่อให้เกิดประโยชน์แก่ตน  และความสงบสุขของสังคมโดยส่วนรวม
                 การวิเคราะห์หลักธรรมที่สัมพันธ์กับความดีในทัศนะของพระเถระในสังคมไทย โดยพระเถระทั้ง ๑๐รูป ได้กล่าวถึง หลักความดีตามแนวทางในพระไตรปิฎก ส่วนที่แตกต่างไปได้แก่ การเปรียบเทียบ  ความดี เปรียบเหมือน มิตรพิเศษ ทำความดี เปรียบเหมือนแสงไฟ ความดี เปรียบเหมือนอาภรณ์ของคนดี นอกจากนั้นยังกล่าวว่า คนที่จะถึงนิพพานได้ต้องทำดีให้พร้อมทั้งกาย วาจา และใจ พระนิพพานหรือเป้าหมายสูงสุดในพระพุทธศาสนาซึ่งเป็นการหลุดพ้นปราศจากกิเลสเครื่องร้อยรัดทั้งปวง เมื่อบุคคลก้าวเข้าสู่สภาวะของพระนิพพานแล้วจะเป็นชีวิตที่ดีที่สุด การบรรลุธรรมสำเร็จเป็นพระอรหันต์ เป็นการเข้าถึงจุดหมายสูงสุดคือ พระนิพพาน

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕