หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระครูสิริพัชรากร (พงศกร ลาคำ)
 
เข้าชม : ๑๖๘๗๓ ครั้ง
การศึกษาเชิงวิเคราะห์เรื่องอารมณ์ในพระพุทธศาสนาเถรวาท
ชื่อผู้วิจัย : พระครูสิริพัชรากร (พงศกร ลาคำ) ข้อมูลวันที่ : ๑๙/๑๒/๒๐๑๖
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระราชวชิรเมธี
  อานนท์ เมธีวรฉัตร
  รุ่งอรุณ อบเชย
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๖
 
บทคัดย่อ

                                          บทคัดย่อ

 

            วัตถุประสงค์ของการวิจัยเรื่องนี้มี ๓ ประการ คือ   ๑) ศึกษาบริบทของอารมณ์ในพระพุทธศาสนาเถรวาท   ๒) ศึกษาวิธีการรับรู้และควบคุมอารมณ์ตามทัศนะพระพุทธศาสนาเถรวาท   และ ๓) วิเคราะห์การรับรู้อารมณ์และวิธีการควบคุมปัญหาทางอารมณ์ รวมทั้งการปรับใช้ในการพัฒนาชีวิตตามทัศนะพระพุทธศาสนาเถรวาท  งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เน้นศึกษาค้นคว้าจากเอกสาร โดยสำรวจข้อมูลชั้นปฐมภูมิจากพระไตรปิฎก อรรถกถา  สำรวจข้อมูลชั้นทุติยภูมิจากตำราวิชาการทางพระพุทธศาสนา อีกทั้งเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

ผลจากการวิจัยพบว่า อารมณ์ คือ อายตนะภายนอก ๖ อย่าง ได้แก่ ๑) รูป  ๒) เสียง  ๓) กลิ่น  ๔) รส  ๕) โผฏฐัพพะ และ ๖) ธรรมารมณ์ วิธีการปฏิบัติเพื่อการควบคุมอารมณ์เรียกว่า หลักของบุญกิริยาวัตถุ หรือที่ตั้งแห่งการทำบุญที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนไว้  ดังนี้  ๑) การเอื้อเฟื้อให้ปัน       ๒) การรักษาศีล    และ ๓) การอบรมสมาธิและปัญญา ๒ ประการ คือ การทำจิตใจให้สงบ (สมาธิหรือสมถะ) และการอบรมปัญญาให้เกิดขึ้น (วิปัสสนา) ทั้งสองอย่างนี้รวมเรียกว่า ภาวนา

ผู้ปฏิบัติจำต้องเว้นจากความชั่วทั้งปวง  บำเพ็ญความดี และชำระจิตใจของตนให้สะอาด ถ้าผู้ปฏิบัติหมั่นฝึกฝนอบรมมากขึ้นโดยปฏิบัติไปตามลำดับขั้นตอนและปฏิบัติด้วยความมุ่งมั่นอดทนก็จะนำไปสู่ความสงบเยือกเย็นเพราะความสงบที่แท้จริงนั้นไม่ต้องไปแสวงหาที่อื่นใด ค้นหาได้ภายในจิตใจของเรานี้เอง เพราะความทุกข์หรือความสุขเกิดขึ้นจากใจทั้งนั้น
กล่าวโดยสรุป การที่จะทำจิตใจให้บริสุทธิ์สะอาดปราศจากอารมณ์แห่งความโลภ  ความโกรธ  และความหลง  คำสอนทางพระพุทธศาสนาให้ปฏิบัติตามหลักของบุญกิริยาวัตถุ ๓ โดยปฏิบัติตามลำดับดังนี้ คือ  เริ่มต้นที่การให้ทาน  อันเป็นการสละความตระหนี่  ความหวงแหนในทรัพย์สมบัติ ซึ่งต้องมีเจตนาให้เพื่อเสียสละอย่างแท้จริง ไม่ให้ด้วยหวังผลตอบแทน  จากนั้นก็ปฏิบัติต่อด้วยการรักษาศีล  ซึ่งจะเป็นข้อปฏิบัติเพื่อควบคุมกายวาจาให้เรียบร้อย ไม่ประพฤติผิดศีลธรรมตลอดจนกฎหมายบ้านเมือง  ซึ่งเมื่อมีศีลบริสุทธิ์แล้ว ก็จะนำไปสู่วิธีการขั้นสูงต่อไป  ซึ่งได้แก่ภาวนามัย  คือการฝึกอบรมจิตตามหลักกรรมฐาน เพื่อให้จิตใจเกิดความมั่นคง  ไม่หวั่นไหว  มีความสงบระงับดับอารมณ์ทั้งปวงลงได้  จัดเป็นผู้ฉลาดทางอารมณ์ที่สมบูรณ์ตามหลักของพระพุทธศาสนาเถรวาท

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕