หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระสมบูรณ์ ชินวํโส (วิชัย)
 
เข้าชม : ๑๖๗๖๔ ครั้ง
การศึกษาวิเคราะห์คุณค่าหลักพุทธธรรมที่ปรากฏในวรรณคดีวิจักษ์ประเภทบทร้อยกรอง ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช ๒๕๕๑
ชื่อผู้วิจัย : พระสมบูรณ์ ชินวํโส (วิชัย) ข้อมูลวันที่ : ๒๑/๑๒/๒๐๑๖
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระหัสดี กิตฺตินนฺโท
  สุรพงษ์ คงสัตย์
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๗
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย ๓ ประการ คือ (๑) เพื่อศึกษาประวัติและเนื้อหาของวรรณคดีวิจักษ์ ประเภทบทร้อยกรอง  (๒)  เพื่อศึกษาวิเคราะห์หลักพุทธธรรมที่ปรากฏในวรรณคดีวิจักษ์ ประเภทบทร้อยกรอง  (๓) เพื่อศึกษาวิเคราะห์คุณค่าหลักพุทธธรรมที่ปรากฏในวรรณคดีวิจักษ์ ประเภทร้อยกรองต่อสังคมไทยและในการศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงเอกสาร (Document Research) ใช้ข้อมูลจาก คัมภีร์พระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา อนุฎีกา และเอกสารหนังสือรวมทั้งวิทยานิพนธ์ที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย และนำข้อมูลมาวิเคราะห์เรียบเรียงเชิงพรรณนาวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่า

วรรณคดี เป็นผลงานการประพันธ์ที่สร้างสรรค์ขึ้นอย่างมีศิลปะและสืบทอดกันมาเป็นเวลานาน เป็นหนังสือที่ได้รับการยกย่องว่าแต่งดี มีคุณค่า เป็นบทประพันธ์ที่ผู้แต่งมีศิลปะในการเขียน ทำให้ความสนุกสนานเพลิดเพลินเร้าอารมณ์ เป็นต้น จึงก่อให้เกิดความประทับใจแก่ผู้อ่าน เนื่องจากวรรณคดี  ประเภท กาพย์ กลอน ของไทยได้มีวิวัฒนาการความเป็นมาก่อนสมัยสุโขทัย เช่น เพลง  กลอน  โคลง เป็นต้น ปัจจุบันลักษณะของร้อยกรองไทยมีกระบวนการเปลี่ยนแปลงของวรรณคดีไทยจากสภาพแรกเริ่มไปสู่สภาวะที่เจริญงอกงามขึ้น ทั้งในด้านรูปลักษณ์ต่างๆ จึงมีรูปแบบแตกต่างจากร้อยกรองในอดีต ดังนั้น การอ่านร้อยกรองปัจจุบันจึงต้องใช้วิธีการวิเคราะห์ตามเกณฑ์ต่างๆ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านอย่างมากมาย เช่น ด้านความบันเทิง การอบรมตน  วัฒนธรรม สร้างเสริมสติปัญญา ทำให้เข้าใจตนเอง ประสานความเข้าใจมีผลต่อการสร้างสรรค์สังคมรู้เท่าทันโลกและชีวิต

หนังสือเรียนภาษาไทย ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. ๒๕๕๑          มีบทสุภาษิตประเภทร้อยกรองที่ปรากฏใน วรรณคดีนิราศภูเขาทอง และโคลงโลกนิติ อันประกอบด้วยหลักธรรมต่างๆ ที่สอดแทรกในเนื้อหา คือ กฎแห่งกรรม ไตรลักษณ์ อธิฐานธรรม โลกธรรม และความกตัญญู เป็นต้น เพื่อนำไปประพฤติปฏิบัติตน ให้เข้าใจชีวิตตามความเป็นจริง  ในสภาวธรรมทั้งหลาย และสามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน ให้ประพฤติชอบทางกาย วาจาและใจ ยึดมั่นอยู่ในคุณงามความดี เพื่อพัฒนาศักยภาพความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์

หลักธรรมที่เกิดขึ้นในวรรณคดีประเภทร้อยกรอง ยังเป็นตัวกำหนดเสริมสร้างประโยชน์ให้เกิดคุณค่าในด้านต่างๆของสังคมไทยมีคุณค่าทางอารมณ์ ด้านคุณธรรม ด้านความงดงามของภาษาด้านพระพุทธศาสนา ด้านสังคม ด้านวัฒนธรรม ด้านการศึกษา การเมืองการปกครอง และคุณค่าด้านแง่คิดและคติชีวิต อันจะเป็นประโยชน์และสร้างสิ่งที่ดีงามของสังคม อันมีขนบธรรมเนียมประเพณี  ความเชื่อ  ค่านิยมและจริยธรรม เพื่อสร้างสรรค์จรรโลงสังคมร่วมกัน มีความสงบสุขภายในสังคม นำไปสู่สภาพของสังคมมนุษย์ที่ดีกว่า

ดาวน์โหลด

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕