หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระครูปรีชาธรรมวิจิตร (จิตรกร อภิวโร)
 
เข้าชม : ๑๖๗๕๗ ครั้ง
การบริหารจัดการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสังฆาธิการจังหวัดสมุทรปราการ
ชื่อผู้วิจัย : พระครูปรีชาธรรมวิจิตร (จิตรกร อภิวโร) ข้อมูลวันที่ : ๓๐/๑๒/๒๐๑๖
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  อภินันท์ จันตะนี
  พระครูสังฆรักษ์เกียรติศักดิ์ กิตฺติปญฺโญ
  -
วันสำเร็จการศึกษา :
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

               การศึกษาวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ เพื่อ ๑) ศึกษาวิเคราะห์สภาพทั่วไปและปัญหาอุปสรรคการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสังฆาธิการ ๒) ศึกษาแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวกับการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสังฆาธิการ ๓) เพื่อบูรณาการการบริหารจัดการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสังฆาธิการจังหวัดสมุทรปราการ  ระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสมผสานวิธี  ศึกษาการวิจัยเชิงคุรภาพเป็นงานวิจัยหลัก และศึกษาการวิจัยเชิงปริมาณเป็นงานวิจัยสนับสนุน โดยงานวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการศึกษาวิจัยเอกสาร โดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) ที่เป็นพระสังฆาธิการและประชาชนทั่วไป จำนวน ๒๐ รูป/คน และการสนทนากลุ่มเฉพาะ (Focus Group Discussion) กับผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน ๙ รูป/คน เพื่อยืนยันรูปแบบการบริหารจัดการการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสังฆาธิการจังหวัดสมุทรปราการ และการวิจัยเชิงปริมาณโดยแบบสอบถามจำนวน ๒๙๗ ชุด วิเคราะห์โดย โปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์วิเคราะห์ค่าสถิติพรรณา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 

               ผลการวิจัยพบว่า

              ๑. สภาพปัญหาการบริหารจัดการยังขาดความกระตือรือร้นเนื่องจากไม่มีศาสนาอื่นเป็นคู่แข่งและสภาพภูมิศาสตร์ไม่เอื้อต่อการบริหารจัดการด้านการเผยแผ่สืบเนื่องจากเขตพื้นที่ดังกล่าวยังมีหน่วยธุรกิจชุมชนมากมาย พระสงฆ์ต้องรับบทบาทหน้าที่ที่ไม่ตรงสายงานที่ตนเองถนัด เพราะเจ้าคณะพระสังฆาธิการส่วนหนึ่งได้มอบหมายภาระหน้าที่ให้พระเลขาฯ ได้ทำบทบาทหน้าที่แทน ปัญหาในการวางแผนงานจึงเป็นปัญหาเพราะเป้าหมายของงานไปถึงผู้รับผิดชอบและปฏิบัติหน้าที่โดยตรง

              ๒. การบริหารจัดการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสังฆาธิการจังหวัดสมุทรปราการ ผลการศึกษาการบริหารจัดการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสังฆาธิการจังหวัดสมุทรปราการ  โดยรวมพบว่า  อยู่ในระดับมาก  (= ๓.๗๓)  เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน  พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมาก ทั้งนี้ด้านที่มีการบริหารจัดการมากที่สุดคือ  ด้านการอำนวยการ  (= ๓.๙๒)  รองลงมาคือ ด้านการจัดองค์การ (= ๓.๘๘) และด้านที่มีส่วนร่วมน้อยที่สุด คือ ด้านการควบคุม  (= ๓.๔๑)

              ๓. แนวทางการบริหารจัดการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสังฆาธิการจังหวัดสมุทรปราการพบว่าแนวทางการบริหารจัดการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสังฆาธิการจังหวัดสมุทรปราการ ๑) ควรเพิ่มการจัดอบรมและเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้แก่พระภิกษุสามเณรภายในวัดให้มากกว่านี้ เพื่อให้พระภิกษุและสามเณรสามารถเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้แก่ประชาชนได้ถูกต้องตรงตามหลักธรรมในพระพุทธศาสนา ๒) ควรตั้งทุนมูลนิธิเพื่อเตรียมดำเนินการเผยแผ่ไว้โดยเฉพาะ ๓) ควรจัดหาบุคลากรด้านการเผยแผ่เพิ่มเติม ๔) ต้องเริ่มต้นสร้างทีมงานในกลุ่มพระเผยแผ่ด้วยกัน แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันและกัน ๕) ควรมีการฝึกฝนอบรมในเรื่องอาจาระความประพฤติตลอดถึงฝ่ายปกครองก็ต้องดูแล พระภิกษุสามเณรอย่างเคร่งครัด ๖) ควรมีการสนับสนุนการเผยแผ่พระพุทธศาสนามากกว่านี้ และในการเผยแผ่ควรมีการสอดแทรกวัฒนธรรมท้องถิ่นและวิถีชีวิตในชนบทด้วย ๗) ควรให้โอกาสพระรุ่นใหม่ๆ ได้มีโอกาสฝึกหัดการแสดงธรรมในโอกาสต่างๆ  ๘) ควรมีเวทีสำหรับให้พระภิกษุสามเณรได้มีโอกาสแสดงธรรมบ้าง ๙) ควรมีการพัฒนารูปแบบการเผยแผ่ให้ทันยุคสมัยเพื่อไม่ให้เกิดความน่าเบื่อหน่าย ๑๐) ควรมีการจัดหาทรัพยากรที่สำคัญในการเผยแผ่ให้เพียงพอ เช่น ควรมีสถานที่ในการศึกษาธรรมะประจำวัดต่างๆ หรือประจำหมู่บ้านเป็นต้น

ดาวน์โหลด

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕