หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหาประสาน อนุวตฺโต (ทัศนารุณพงศ์)
 
เข้าชม : ๑๖๘๗๑ ครั้ง
การพัฒนาการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ชื่อผู้วิจัย : พระมหาประสาน อนุวตฺโต (ทัศนารุณพงศ์) ข้อมูลวันที่ : ๐๙/๐๑/๒๐๑๗
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูสังวรสุตกิจ
  บุษกร วัฒนบุตร
  -
วันสำเร็จการศึกษา :
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

   

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑)เพื่อศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ๒)เพื่อศึกษาวิเคราะห์สภาพทั่วไปของการพัฒนาการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา๓) เพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนาการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสานวิธี (Mixed Method Research)ระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ที่ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก
(
In-depth Interview) จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ๒๕ รูป/คน เพื่อหาการพัฒนารูปแบบเบื้องต้นก่อนนำเสนอต่อการสนทนากลุ่มเฉพาะ (Focus Group Discussion)  ) และการสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วม (Non-Participant Observation) ก่อนจะนำข้อมูลที่ได้นำไปสู่การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research)ที่ใช้การศึกษาวิจัยเชิงสำรวจ (Qualitative Research)จากกลุ่มตัวอย่าง ๓๗๑ รูป/คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire)

ผลการวิจัยพบว่า

๑. การพัฒนาการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยามุ่งเน้นให้ประชาชนได้มีความรู้ความเข้าใจในหลักธรรมแล้วน้อมนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวัน ได้แก่ การเทศนา การปาฐกถาในโอกาสและสถานที่ต่างๆ ทั้งในวัดและนอกวัด
การบรรยายธรรมทางวิทยุและโทรทัศน์ การเผยแผ่ธรรมด้วยสื่อต่างๆ เช่น หนังสือ หนังสือพิมพ์หรือวีดีทัศน์

๒ . สภาพทั่วไปของการพัฒนาการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีการแบ่งแยกที่พัก ตามเพศของผู้ใช้ มีความสะอาด บรรยากาศร่มรื่นมีต้นไม้เยอะ มีการจัดสถานที่สำหรับการเดินจงกรม มีอาคารนั่งฟังธรรมะบรรยายเพียงพอ มีอาคาร ศาลามีอากาศถ่ายเทสะดวกไม่อึดอัด มีอาหารพร้อมเพียงพอ ด้านวิทยากร คือ วิทยากรมีความเข้าใจหลักธรรมะในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างดี เจ้าสำนักปฏิบัติธรรมมีความเป็นผู้นำ ด้านการบริหาร คือ เจ้าสำนักสนใจเห็นความสำคัญของการศึกษาปฏิบัติธรรมและเผยแผ่ธรรมะอย่างแท้จริง มีการจัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายที่ชัดเจน

๓. รูปแบบการแสดงธรรมเทศนา คือ นักเทศน์แบบไม่อ่านหนังสือ แต่ถือหนังสือเทศน์เป็นคัมภีร์ประคองไว้เพื่อเป็นการแสดงความเคารพรูปแบบการบรรยายธรรมหรือปาฐกถาธรรม คือ กล่าวธรรมะหรือแสดงธรรมโดยการยืนปาฐกถาธรรม ที่ไม่เน้นรูปแบบพิธีในการแสดงธรรมรูปแบบปฏิบัติและวิธีฝึกปฏิบัติ คือ การจัดรูปแบบการฝึกอบรมเน้นความเป็นธรรมชาติ กลมกลืนกับธรรมชาติ ไม่เน้นสิ่งปลูกสร้างให้แปลกไปจากธรรมชาติ มีการปลูกต้นไม้เสริม ให้มีความสงบร่มรื่น

 

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕