หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » ดวงพร อาภาศิลป์
 
เข้าชม : ๒๐๐๐๙ ครั้ง
แนวคิดทางจริยธรรมของมหายานจากงานของท่านอสังคะ สำหรับภาวะผู้นำยุคปัจจุบัน
ชื่อผู้วิจัย : ดวงพร อาภาศิลป์ ข้อมูลวันที่ : ๐๖/๐๒/๒๐๑๗
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาสมบูรณ์ วุฑฺฒิกโร
  วัชระ งามจิตรเจริญ
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๙
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สังเคราะห์แนวคิดทางจริยธรรมจากงานของท่านอสังคะสำหรับการประยุกต์ใช้กับภาวะผู้นำยุคปัจจุบัน  แนวคิดดังกล่าวมาจากศีลปฏละ (บทที่เกี่ยวกับศีล)ซึ่งปรากฎในงานโพธิสัตวภูมิของท่านอสังคะผู้เป็นพระภิกษุและนักปราชญ์ชาวอินเดีย อสังคะเน้นว่าศีลของพระโพธิสัตว์มีลักษณะหลัก 2 ประการคือ แก่นของศีล (สวภาวศีล)  และศีลทั้งมวล (สรฺวศีล) ซึ่งประกอบไปด้วยศีล 3 ประเภท คือ ศีลแห่งการควบคุมตน ศีลแห่งการสะสมกุศลธรรม และศีลแห่งการทำประโยชน์ให้สรรพสัตว์ ศีลทั้งสามประเภทนี้เป็นงานทั้งหมดของพระโพธิสัตว์ ศีลของพระโพธิสัตว์นั้น สมบูรณ์เพราะประกอบไปด้วยศีลของพระภิกษุและของฆราวาส  แนวคิดเรื่องศีลหรือจริยธรรมของพระโพธิสัตว์ดังกล่าวสามารถนำมาใช้กับภาวะผู้นำยุคปัจจุบันซึ่งเน้นการเชื่อมโยงองค์กรกับบริบทที่กว้างขึ้นและเน้นการพัฒนาและขับเคลื่อนบุคลากรเพื่อมุ่งไปสู่ความยั่งยืนขององค์กร แนวคิดทางจริยธรรมดังกล่าวเป็นประโยชน์ในการเชื่อมโยงทฤษฎีภาวะผู้นำทางจริยธรรมต่างๆ ทำให้ทราบถึงคุณลักษณะทางจริยธรรมของภาวะผู้นำซึ่งอยู่บนพื้นฐานของความไม่เห็นแก่ตน และประกอบไปด้วยความฉลาดทางปัญญา กุศโลบาย คุณธรรมและความข่มกลั้น ความฉลาดทางปัญญาจะทำให้ผู้นำมีวิสัยทัศน์และมีความคิดสร้างสรรค์ กุศโลบายจะทำให้ผู้นำสามารถเลือกใช้วิธีการที่เหมาะสมเพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงเชิงปฎิรูปและความยืดหยุ่นต่อสถานการณ์ที่ผันผวน ความสามารถข่มกลั้นหรือควบคุมตนให้เป็นไปตามมาตรฐานทางจริยธรรมและการประพฤติตนอย่างมีคุณธรรมจะทำให้ผู้นำสามารถสร้างแรงบันดาลใจและเป็นแบบอย่างให้ผู้ตามปฎิบัติตาม แนวคิดเกี่ยวกับการที่ผู้มุ่งสู่หนทางแห่งพระโพธิสัตว์ต้องปฏิบัติอยู่ในศีลทั้งสามประเภทโดยต่อเนื่องเป็นกระบวนการสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับภาวะผู้นำยุคปัจจุบัน โดยผู้นำควรสร้างหรือมีหลักยึดทางจริยธรรมและดำรงไว้ซึ่งจริยธรรมของตนอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งช่วยพัฒนาค่านิยมทางจริยธรรมและความประพฤติที่มีคุณธรรมของผู้ตาม ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ของผู้ตามและเพื่อความยั่งยืนขององค์กร

ดาวน์โหลด

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕