หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » สงุ่น ตรีสุขี
 
เข้าชม : ๒๐๐๐๔ ครั้ง
บูรณาการหลักสังคหวัตถุกับการบริหารการประปานครหลวง ภาค ๑
ชื่อผู้วิจัย : สงุ่น ตรีสุขี ข้อมูลวันที่ : ๐๗/๐๒/๒๐๑๗
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาสุรศักดิ์ ปจฺจนฺตเสโน
  ประพันธ์ ศุภษร
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๙
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

 

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้  มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ (๑) เพื่อศึกษาหลักสังคหวัตถุในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท (๒) เพื่อศึกษาการบริหารงานการประปานครหลวงภาค ๑  (๓) เพื่อบูรณาการหลักสังคหวัตถุในการบริหารการประปานครหลวง ภาค ๑

ผู้วิจัยพบว่า  สังคหวัตถุ ๔  เป็นหลักธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสว่าเป็นหลักธรรมเครื่องยึดเหนี่ยวน้ำใจ ผูกใจคน เหมือรถม้าที่แล่นไปได้เพราะมีลิ่มสลักคอยตรึงส่วนประกอบต่างๆ ของรถม้าเข้าด้วยกัน การบริหารงานก็เช่นเดียวกัน หลักสังคหวัตถุ ๔ ทำหน้าที่เป็นกาวใจเชื่อมประสานคนทั้งหลายเข้าด้วยกัน  องค์ประกอบของสังคหวัตถุ ๔ คือ ๑) ทาน การให้ การเสียสละ เอื้อเฟื้อแบ่งปัน เพื่อประโยชน์แก่บุคคล ๒) ปิยวาจา การพูดจาด้วยถ้อยคำที่ไพเราะ อ่อนหวาน พูดความจริงใจ พูดแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์ พูดแต่คำที่ประกอบด้วยเมตตา ๓) อัตถจริยา การประพฤติที่อำนวยผลประโยชน์ความสุขให้แก่คนอื่น ๔) สมานัตตตา  คือการวางตัวอย่างเสมอต้นเสมอปลาย  วางตัวให้ถูกต้องตามกาลเทศกัลยาณมิตร คือ บุคคลผู้ประกอบไปด้วยคุณสมบัติ ๗ ประการ ผู้เป็นต้นแบบแห่งความดีงามทั้งในด้านกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม มีกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต เป็นผู้มีคุณสมบัติพร้อมแห่งการแนะนำประโยชน์สุขแก่ผู้อื่น กัลยาณมิตรเป็นปัจจัยเบื้องต้นแห่งการพัฒนาชีวิตในทุกๆ ระดับ

การบริหารงานการประปานครหลวง ภาค ๑ พบว่า การปฏิบัติตามแผนงานและภารกิจหน้าที่ขององค์กร การสร้างมนุษย์สัมพันธ์ระหว่างผู้บริหารและสมาชิกในองค์กรการประปานครหลวงอันมีผลต่อประสิทธิผลและประสิทธิภาพของงานนับว่ามีความสำคัญไม่น้อยไปกว่า แนวคิดทฤษฎีการบริหารที่ถูกนำมาใช้ในองค์กร การศึกษาวิเคราะห์และแนวทางการประยุกต์หลักมนุษยสมพันธ์ผ่านวิธีปฏิบัติตามหลักสังคหวัตถุ ๔ จึงนับว่าเป็นเรื่องสำคัญไม่น้อยที่จะทำให้ทราบว่า แนวคิดการบริหารองค์การตามหลักสังคหวัตถุ ๔ มีผลต่อประสิทธิผลและประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของการประปานครหลวง

บูรณาการการนำหลักสังคหวัตถุมาใช้ในการบริหารการประปานครหลวงพบว่า ๑) ผู้บริหารควรมีการให้ การให้อภัย ๒) ผู้บริหารควรมีหลักปิยวาจา การกล่าวคำพูดอันเป็นที่รัก ๓) ผู้บริหารควรมีหลักอัตถจริยา การประพฤติให้เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม ๔) ผู้บริหารควรมีหลักสมานัตตตา คือ การทำตนเสมอต้นเสมอปลาย คือ การปฏิบัติตนสม่ำเสมอกันในชนทั้งหลาย บูรณาการการนำหลักกัลยาณมิตรมาใช้ในการบริหารงานของผู้บริหาร พบว่า  ๑) ผู้บริหารควรเป็นผู้น่ารักเป็นที่รัก มีเมตตาต่อผู้ใต้บังคับบัญชา ๒) ผู้บริหารควรเป็นผู้ที่อุดมด้วยปัญญาทั้งทางโลก ๓) ผู้บริหารควรเป็นผู้ที่ทรงความรู้ มีภูมิปัญญาเป็นเลิศ ๔) ผู้บริหารควรเป็นผู้ที่รู้จักพูดชี้แจงให้เข้าใจ ๕) ผู้บริหารควรเป็นผู้ที่พร้อมจะรับฟังคำปรึกษาซักถามอยู่เสมอ ๖) ผู้บริหารควรเป็นผู้ที่สามารถนำเรื่องที่ยกมาอธิบายให้เข้าใจง่าย และ
๗) ผู้บริหารควร
เป็นผู้ที่ประพฤติปฏิบัติอยู่ในธรรม

บูรณาการสังคหวัตถุและกัลยาณมิตรในการบริหารงานของการประปานครหลวง พบว่า สังคหวัตถุ ๔ เป็นปัจจัยภายนอกในการบริหารงานให้เกิดประสิทธิภาพ ส่วนความเป็นกัลยาณมิตรเป็นปัจจัยภายในของผู้บริหาร ดังนั้นการบริหารงานเรื่องจริยธรรม หากบูรณาการหลักสังคหวัตถุทั้ง ๔ ประการ และหลักกัลยาณมิตรที่สนับสนุนการบริหารงานของการประปานครหลวง การประปานครหลวงจะเป็นหน่วยงานที่มีผู้เป็นต้นแบบแห่งความดีงามทั้งในด้านการบริหารงานการเอื้อเฟื้อเกื้อกูลกัน ทั้งวาจา การบำเพ็ญประโยชน์ต่อกัน และการวางตนสมควร อีกทั้งเป็นหน่วยงานที่มีผู้มีคุณสมบัติพร้อมแห่งการแนะนำประโยชน์สุขแก่ผู้อื่น กัลยาณมิตรเป็นปัจจัยเบื้องต้นแห่งการพัฒนาชีวิตในทุกๆ ระดับ

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕