หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » ศุภฤกษ์ คณิตวรานันท์
 
เข้าชม : ๒๑๐๕๖ ครั้ง
การศึกษาเชิงวิเคราะห์เรื่องความต่างของฌ็อง – ฟร็องซัวส์ ลีโยตาร์ด: กรณีศึกษาเรื่องความงามในปรัชญาศิลปะร่วมสมัย
ชื่อผู้วิจัย : ศุภฤกษ์ คณิตวรานันท์ ข้อมูลวันที่ : ๐๘/๐๒/๒๐๑๗
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(ปรัชญา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหากฤษณะ ตรุโณ
  พระมหาพรชัย สิริวโร
  สมภาร พรมทา
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๘
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

 

การศึกษาวิจัยเรื่อง การศึกษาเชิงวิเคราะห์เรื่องความต่างของฌ็อง-ฟร็องซัวส์ ลีโยตาร์ด: กรณีศึกษาเรื่องความงามในปรัชญาศิลปะร่วมสมัย มีวัตถุประสงค์ ๓ ข้อ คือ ๑. เพื่อศึกษาแนวคิด
เรื่องความต่างของฌ็อง-ฟร็องซัวส์ ลีโยตาร์ด ๒. เพื่อศึกษาแนวคิดเรื่องความงามในปรัชญาศิลปะ
ร่วมสมัย และ ๓. เพื่อวิเคราะห์แนวคิดเรื่องความต่างของฌ็อง-ฟร็องซัวส์ ลีโยตาร์ด ที่มีต่อแนวคิด
เรื่องความงามในปรัชญาศิลปะร่วมสมัย การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ

 

จากการศึกษาวัตถุประสงค์ข้อที่ ๑ พบว่า แนวคิดเรื่องความต่างของฌ็อง-ฟร็องซัวส์
ลีโยตาร์ด หมายถึง การโต้แย้งในความต่างกับสิ่งที่ไม่สามารถนำมาตัดสินได้ ที่ปฏิเสธการผูกขาดการ
ใช้เหตุผลและความรู้แบบวิทยาศาสตร์ อีกทั้งปฏิเสธการตัดสินทางคุณค่าในแบบสากล
(Universal)แต่นำเสนอคุณค่าแบบวลี  (Phrase) ที่เป็นหน่วยเล็กๆ และเป็นปัจเจก อย่างคุณค่าทางสุนทรียะ ในวัตถุประสงค์ข้อที่ ๒ พบว่าแนวคิดเรื่องความงามในปรัชญาศิลปะร่วมสมัย ปฏิเสธความหมายของ
ศิลปะแบบจารีต ซึ่งถือเป็นจุดสิ้นสุดของกฎเกณฑ์ทางศิลปะต่างๆ แนวคิดเรื่องความงามไม่มีกรอบที่
ชัดเจน แต่ให้ความหลากหลาย มีอิสระและเสรีภาพในการแสดงออกทางศิลปะ ให้ความหมายกับ
ความเป็นปัจเจกมากกว่าคุณค่าที่เป็นแบบสากล และในวัตถุประสงค์ข้อที่ ๓ พบว่าผลงานศิลปะ

ร่วมสมัยที่นำเสนอทางความคิดอย่าง การวิพากษ์ของ อาย เว่ยเว่ย (Ai Weiwei) ที่ปฏิเสธแนวคิด
เร
ื่องความงามแบบจารีต โดยให้ศิลปะไปตั้งคำถาม กับการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมของจีนใน
ยุคสมัยใหม่ ความหลากหลายของ คาร่า วอคเกอร์
(Kara Walker) ที่นำเสนอการเปิดพื้นที่ในแบบ
เรื่องเล่าขนาดเล็ก อย่างอคติเรื่องผิวสี และเชื้อชาติในสังคมอเมริกัน รวมถึงความหมายใหม่ของ
โอลาฟัวร์ อีเลียสสัน
(Olafur Eliasson) ที่จำลองธรรมชาติมาเป็นงานศิลปะ โดยปล่อยให้พื้นที่ของ
งานศิลปะเกิดปฏิสัมพันธ์กับผู้ชม และความงามที่ผ่านประสบการณ์ทางสุนทรียะที่เป็นปัจเจก

 

จากการวิเคราะห์ปัญหาดังกล่าว ผู้วิจัยขอสนับสนุนแนวคิดของลีโยตาร์ด ที่ให้ความ
สำคัญกับการแสดงออกทางศิลปะ ที่สามารถเปิดพื้นที่ของการรับรู้อย่างไม่มีขอบเขต และข้อจำกัด
ทางภาษา ศิลปะเป็นเหมือนวลี หรือหน่วยเล็กๆ ที่สามารถสื่อความรู้สึกของมนุษย์ผ่านคุณค่าทาง
สุนทรียะในแบบปัจเจก ไม่ใช่เกณฑ์ทางสังคม แนวคิดของลีโยตาร์ดได้ปลุกให้เราท้าทาย และปฏิเสธ
กฎเกณฑ์ที่มีแบบเดียว พื้นที่ทางสังคมที่ไม่เปิดโอกาสให้กับคนส่วนน้อย โดยการไม่ยอมรับกติกาที่มี
เกณฑ์ตัดสินแบบผูกขาด

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕