หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » ณัฐธีร์ คีรีกมลพัฒน์
 
เข้าชม : ๒๐๐๔๙ ครั้ง
การศึกษาแนวทางการใช้วาจาเชิงพุทธเพื่อส่งเสริมการค้าขาย
ชื่อผู้วิจัย : ณัฐธีร์ คีรีกมลพัฒน์ ข้อมูลวันที่ : ๐๙/๐๒/๒๐๑๗
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระสุธีธรรมานุวัตร
  บุญเลิศ โอฐสู
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๙
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

              วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย ๓ ประการคือ ๑) เพื่อศึกษาความสำคัญการใช้วาจาเชิงพุทธที่ส่งเสริมการใช้วาจา ๒) เพื่อศึกษาหลักธรรมและทฤษฎีเพื่อส่งเสริมการค้าขายที่เกี่ยวข้องการใช้วาจา   ๓) เพื่อวิเคราะห์ใช้แนวทางการใช้วาจาเชิงพุทธเพื่อส่งเสริมการค้าขาย

              การวิจัยพบว่า วาจามีความสำคัญอย่างมากซึ่งจะส่งผลต่อผู้กล่าว และนำมาใช้อย่างมีสติ เพื่อการใดๆคือ เพื่อการสื่อสาร,สร้างสัมพันธ์ หรือพูดด้วยความมีเมตตาต่อสรรพสัตว์ทั้งหลาย หรือการพูดเพื่อการสร้างธุรกิจการค้าขายก็สามารถทำให้เจริญก้าวหน้าและมีผลต่อความสำเร็จได้  หากการกล่าววาจานั้นประกอบด้วยเจตนาคือเป็นคำจริง เปนคําสุภาพ  ไม่พูดเพ้อเจ้อ ไม่พูดส่อเสียด  พูดถูกกาลเวลา และถูกสถานที่ ประโยชน์ของการใช้สัมมาวาจาก็จะ ทำให้มีความเจริญก้าวหน้าทั้งทางการค้าขายและสร้างสายสัมพันธ์กับสังคมที่มีความแตกแยกและไม่มีความสุขกันในยุคปัจจุบัน เพื่อจักได้นำหลักธรรมไปปรับใช้เพื่อสร้างสรรค์ต่อความเจริญให้แก่สังคม ส่งเสริมความสามัคคีในกลุ่มงาน  

     หลักธรรมที่ศึกษาทางพุทธศาสนาที่เกี่ยวข้องเพื่อส่งเสริมกับการใช้วาจาเพื่อการค้าขาย  ผู้กล่าวหรือผู้ที่นำไปใช้ จะได้เข้าใจถึงหลักธรรมที่สัมพันธ์เพื่อไปส่งเสริมกับการพูดและการสื่อสารโดยใช้วาจาเป็นเครื่องมือ ในวิทยานิพนธ์ฉบับนี้เขียนขึ้นเพื่อการศึกษาหลักธรรมทางพุทธศาสนาไปปรับใช้กับการค้าขาย เพื่อจะประสบผลสำเร็จในอาชีพ ที่จะต้องนำเอาวาจาอ่อนหวาน สุภาพ พูดได้ด้วยการมีใจที่เมตตาต่อสรรพสัตว์และสิ่งแวดล้อมของสังคมอันจะนำมาซึ่งความสุขและสงบร่มเย็น แต่ในงานวิจัยฉบับนี้ ผู้วิจัยได้ศึกษาถึงหลักธรรม อันจะนำไปเพื่อการส่งเสริมทางการค้าขายซึ่งเป็นอาชีพหนึ่ง ที่จะนำการใช้การ กล่าววาจาไปใช้ประกอบอาชีพเป็นหลักต่อการค้าขาย ผู้ค้าขายจำต้องแสดงออกทางกายอย่างสุจริต วาจาที่จะนำการใช้การกล่าววาจาไปใช้ประกอบกล่าวแล้วมีคนชมชอบและมีใจสุจริต ซึ่งสอดคล้องกับหลักธรรม ดังนี้  หลักธรรมที่ส่งเสริมและเกี่ยวข้องการใช้วาจา ๑. ได้แก่ ๑) ศีล๕  ๒) เบญจธรรม  ๓) อิทธิบาท๔ และ ๔) พรหมวิหาร๔  ๒. หลักธรรมที่ส่งเสริมทางการแสดงออกทางอ้อมของการใช้วาจา  ได้แก่ ๑) ฆราวาสธรรม ๔  ๒) อริยมรรคมีองค์๘  . หลักธรรมที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการค้าขาย ได้แก่  ๑) สังคหวัตถุ ๔   ๒) มิจฉาวณิชชา  ๓) ปาปณิกธรรม๓  ๔) โภควิภาค๔   และ ๕) หลักปฏิสัมภิทา ๔    หลักธรรมที่กล่าวมานี้ ผู้วิจัยศึกษาแล้วเห็นว่า มีความสำคัญและส่งเสริมกับการใช้วาจาเพื่อการค้าขาย   ให้ผู้ค้าขายเป็นคนดีมีศีลธรรม ทั้งทางกาย ทางวาจาและทางใจ  พร้อมช่วยส่งเสริมให้ผู้ค้าขายประสบผลสำเร็จในอาชีพเจริญรุ่งเรืองในอาชีพนักธุรกิจค้าขาย

             การศึกษาแนวทางการใช้วาจาเชิงพุทธเพื่อส่งเสริมกับการค้าขาย  เพื่อมาปรับใช้ในสังคมปัจจุบัน ผู้ค้าขายต้องมีความรู้ มีปัญญาเท่าทันต่อเหตุการณ์  มีความรับผิดชอบต่ออาชีพ มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีเมตตาต่อลูกค้า คือ ไม่พูดเพ้อเจ้อ และมีความโลภ ที่จะไปหลอกลวงลูกค้าหรือผู้มุ่งหวัง โดยหวังผลกำไร ที่มากมาย พูดเกินความเป็นจริงเท่ากับหลอกลวงให้เชื่อโดยมีเจตนาทำให้ผู้ฟังหลงผิดและเชื่อตามโดยขาดความเข้าใจและไว้ใจกับตัวผู้ค้าขาย เป็นการทำให้ผู้ขายได้ผลกำไรหรือผลตอบแทนกลับมาอย่างไม่บริสุทธ์  ซึ่งขัดต่อหลักการทางพุทธศาสนาหรือหลักธรรมต่างๆที่กล่าวมา อันเป็นเหตุของการประพฤติและปฏิบัติที่ผิดกับสัมมาชีพ และก่อเกิดของความไม่เจริญรุ่งเรืองทางการค้าขายและความไม่บริสุทธ์กับการกล่าวสัมมาวาจา และคำสุภาพอ่อนโยน คำสัตน์จริง ซึ่งเป็นรากฐานของการประกอบอาชีพนักธุรกิจค้าขาย  ที่ต้องสร้างความพึงพอใจต่อลูกค้า ฉะนั้นผู้ค้าขายควรที่จะต้องนำหลักธรรมไปใช้และปรับให้เข้ากับการประพฤติปฏิบัติอย่างเคร่งครัด  โดยไปพูดความหลอกลวงลูกค้าหรือผู้มุงหวัง มีความมั่นใจในการกล่าววาจาที่ดี  มีคุณธรรมในจิตใจ คือ มีความซื่อสัตย์และจริงใจกับลูกค้า  ขายสิ่งที่เป็นประโยชน์เหมาะสม  ให้กับผู้ซื้อหรือลูกค้าที่สมควรแก่ฐานะซื้อ ในเวลาที่เหมาะสม สร้างกัลยาณมิตร  ยึดในหลักคุณธรรมและพัฒนาอาชีพการค้าของตนเอง  เพื่อความเจริญมั่นคงถาวรและความก้าวหน้าสืบไปในอนาคต. 

ดาวน์โหลด

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕