หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระกฤษฎา สุทฺธิโก (สารนอก)
 
เข้าชม : ๒๐๐๑๔ ครั้ง
ภาวะผู้นำตามหลักสัปปุริสธรรมของพระราชวชิรเมธี, ดร. (วีระ วรปญฺโญ) (สาขารัฐประศาสนศาสตร์)
ชื่อผู้วิจัย : พระกฤษฎา สุทฺธิโก (สารนอก) ข้อมูลวันที่ : ๒๐/๐๒/๒๐๑๗
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระเทพปริยัติเมธี
  อัครเดช พรหมกัลป์
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๙
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง ภาวะผู้นำตามหลักสัปปุริสธรรมของพระราชวชิรเมธี,ดร. (วีระ วรปญฺโ)
มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎีและหลักพุทธธรรมที่เกี่ยวข้องภาวะผู้นำ ๒) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำตามหลักสัปปุริสธรรมของพระราชวชิรเมธี,ดร. และ ๓) เพื่อนำเสนอการประยุกต์ใช้ภาวะผู้นำตามหลักสัปปุริสธรรมของพระราชวชิรเมธี, ดร. การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษางานวิจัยในเชิงเอกสาร (Documentary  Research) โดยศึกษาข้อมูลจากพระไตรปิฎกอรรถกถา ฎีกา หนังสือ เอกสาร ตำรา และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะผู้นำและภาวะผู้นำตามหลักสัปปุริสธรรม พร้อมทั้งผสมผสานกับการศึกษาเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key informants) จำนวน ๒๐ รูปหรือคน  แล้วนำมาวิเคราะห์สรุปข้อมูลในเชิงลึก

ผลการวิจัย พบว่า

๑.จากการศึกษาวิเคราะห์ ผู้นำ หมายถึง บุคคลที่ได้รับการยอมรับจากผู้อื่นทั้งภายในและภายนอกองค์กร เป็นบุคคลที่สามารถกำหนดทิศทางความอยู่รอดขององค์กร และเป็นผู้ประสานงานให้กิจกรรมต่างๆ ในองค์กรดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพตามเป้าหมายและวิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้ ทั้งนี้ผู้นำในลักษณะข้างต้นนั้นสามารถที่จะมีหรือแสดงออกถึงความมีภาวะผู้นำได้ตามทฤษฎีตามกรอบแนวคิดของทฤษฎีใน ๘ กลุ่ม ดังนี้ ๑) ทฤษฎีภาวะผู้นำเชิงการบริหาร ๔ ระบบ ๒) ทฤษฎีภาวะผู้นำตามสถานการณ์ ๓) ทฤษฎีภาวะผู้นำตามแบบจำลองของฟีดเลอร์ ๔) ทฤษฎีเกี่ยวกับภาวะผู้นำการตัดสินใจ ๕) ทฤษฎีภาวะผู้นำเชิงเส้นทาง-เป้าหมาย ๖) ทฤษฎีภาวะผู้นำที่เน้นรูปแบบการใช้อำนาจในการตัดสินใจ ๗) ทฤษฎีภาวะผู้นำที่มุ่งเน้นการมีส่วนร่วม และ ๘) ทฤษฎีผู้นำตาข่ายบริหาร

๒.การวิเคราะห์ภาวะผู้นำตามหลักสัปปุริสธรรมของพระราชวชิรเมธี, ดร. (วีระ วรปญฺโ)
๑) ด้านธัมมัญญุตา พบว่า พระราชวชิรเมธี
, ดร. (วีระ วรปญฺโ) ถือเป็นผู้นำที่รู้จักเหตุหรือหลักการและรู้ถึงวิธีการที่จะบรรลุถึงเป้าหมาย ว่าจะมีส่วนสนับสนุนส่งเสริมให้สังคมนี้เกิดความเจริญได้อย่างไร
๒) อัตถัญญุตา เป็นผู้ที่รู้จักจุดมุ่งหมาย รู้เป้าหมายของการทำงาน และลงมือปฏิบัติอย่างมีเป้าหมาย
๓) อัตตัญญุตา รู้ว่าอยู่ในฐานะใด มีความรู้ ความสามารถ และปัญญา ๔) มัตตัญญุตา รู้จักประมาณคือความเหมาะสมพอดีจะทำกิจการ พอดีกับความรู้ความสามารถ ฐานะ หน้าที่ ของตน ๕) กาลัญญุตา

เป็นผู้นำที่รู้จักกาลเวลาและใช้เวลาเป็นเงื่อนไขให้เกิดความสอดคล้องกับการดำเนินงาน ๖) ปริสัญญุตา เป็นผู้นำที่รู้จักชุมชนหรือสังคม และสามารถเข้าถึงชุมชนและสังคมได้ และ ๗) ปุคคลปโลปรัญญุตา
การเป็นผู้นำที่รู้จักบุคคล รู้จักความแตกต่างของบุคคลในสังคม และมอบหมายงานให้แก่บุคคลที่มีความถนัดมีความสามารถในด้านนั้นๆ

๓.การประยุกต์ใช้ภาวะผู้นำตามหลักสัปปุริสธรรมของพระราชวชิรเมธี, ดร. (วีระ วรปญฺโ) ๑) ด้านธัมมัญญุตา พบว่า พระราชวชิรเมธี, ดร.(วีระ วรปญฺโ) ท่านยึดหลักการปกครองคณะสงฆ์อย่างเป็นขั้นตอน เป็นผู้ทรงไว้ผู้ทรงไว้ซึ่งหลักการแห่งพระธรรมวินัย รู้กฎระเบียบการบริหารงานคณะสงฆ์
๒) ด้านอัตถัญญุตา การรู้จักผล ท่านมีจุดหมายหรือเป้าหมายในการบริหารกิจการคณะสงฆ์ บริหารกิจการคณะสงฆ์โดยยึดผลประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก ได้นำผลที่มีการคิดจากโครงการต่างๆ มาพัฒนากิจการคณะสงฆ์ ๓) ด้านอัตตัญญุตา การรู้ตน ท่านเป็นผู้มีวิสัยทัศน์ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการบริหารกิจการคณะสงฆ์ เป็นผู้มีจิตใจโอบอ้อมอารีและมีความเสียสละ วางตนเหมาะสมกับฐานะภาวะผู้นำ
๔) ด้านมัตตัญญุตา การรู้ประมาณ ท่านได้บริหารงบประมาณอย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด รู้จักพอประมาณในการยินดีปัจจัย ๔ ใช้เสนาสนะให้พอสมควรแก่สมณะสารูป ๕) ด้านกาลัญญุตา ท่านเป็นผู้รู้จักการบริหารงานเวลาหรือวางแผนในการบริหาร เป็นผู้ที่แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ทันต่อเหตุการณ์และเวลา บริหารจัดการเวลาให้สมควรแก่งานและสถานที่ ๖) ด้านปริสัญญุตา การรู้ชุมชน ท่านเป็นผู้มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับทุกคนและทุกองค์กร ให้ความสำคัญกับประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตัว สามารถนำความสงบสุขมาสู่สังคมโดยอาศัยหลักธรรม ๗) ด้านปุคคลปโลปรัญญุตา การรู้จักบุคคล
ท่านแต่งตั้งบุคคลผู้ดำรงตำแหน่งในการบริหารงานได้อย่างเหมาะสม มีการสรรเสริญบุคคลที่ควรสรรเสริญให้เป็นที่ประจักษ์ มีการพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้มีความรู้ตามความเหมาะสม

ดาวน์โหลด

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕