หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระถนัด ปสนฺนจิตฺโต (น้อยกง)
 
เข้าชม : ๒๐๐๐๕ ครั้ง
การบริหารจัดการบริหารโครงการปฏิบัติธรรมเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต วัดทุ่งสะเดียง อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์
ชื่อผู้วิจัย : พระถนัด ปสนฺนจิตฺโต (น้อยกง) ข้อมูลวันที่ : ๒๑/๐๒/๒๐๑๗
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระเทพปริยัติเมธี
  อัครเดช พรหมกัลป์
  -
วันสำเร็จการศึกษา :
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

 

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ ๑) เพื่อศึกษาการบริหารจัดการโครงการปฏิบัติธรรมเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตวัดทุ่งสะเดียง ตำบลสะเดียง อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ ๒) เพื่อเปรียบเทียบการบริหารจัดการโครงการปฏิบัติธรรมเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตวัดทุ่งสะเดียง ตำบลสะเดียง อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ ๓) เพื่อศึกษาปัญหาข้อเสนอแนะและแนวทางแก้ไขในการบริหารจัดการโครงการปฏิบัติธรรมเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตวัดทุ่งสะเดียง ตำบลสะเดียง อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสม (Mixed Methods Research) ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Quantitative Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยจำนวน ๓๔๕ คน จากประชาชนในตำบลสะเดียง อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวน ๒,๕๒๕ คน โดยใช้สูตรของ Taro Yamane เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติดังนี้ค่าความถี่ (Frequencies) ร้อยละค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ทดสอบค่าที (t-test) ทดสอบค่าเอฟ  (F-test) วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference: LSD) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informant) จำนวน ๙ รูป/คน และใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท

ผลการวิจัยพบว่า

๑. ความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการบริหารโครงการปฏิบัติธรรมเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตวัดทุ่งสะเดียง ตำบลสะเดียง อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก (  = ๓.๙๖) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า การประเมินสภาวะแวดล้อม (  = ๓.๙๔) การปะเมินปัจจัยนำเข้า
(  = ๓.๘๒) การประเมินกระบวนการ (  = ๔.๐๑) และการประเมินผลผลิต (  = ๔.๐๕)

๒. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการบริหารโครงการปฏิบัติธรรมเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตวัดทุ่งสะเดียง ตำบลสะเดียง อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ พบว่าไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐาน
ส่วนประชาชนที่มีเพศ อายุ และระดับการศึกษา พบว่าแตกต่างกัน จึงยอมรับสมมติฐาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕

๓. ปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการบริหารจัดการบริหารโครงการปฏิบัติธรรมเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตวัดทุ่งสะเดียง ตำบลสะเดียง อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ พบว่า ๑) ด้านทักษะในการวางแผน ควรมีการวางแผน การติดตามผล และแก้ไขจุดบกพร่องของการปฏิบัติธรรม เมื่อได้รับการอบรมแล้วควรปล่อยให้ผ่อนคลายในสวนป่าเพื่อให้ปฏิบัติเอง และต้องมีการวางแผน การแจ้งข่าวสารต่าง ให้ชัดเจน และควรแจ้งล่วงหน้า ๒) ด้านทักษะในการปฏิบัติ ควรสำรวม สังวร ระวังทุกขั้นตอนของอิริยาบถทั้งเก้าอย่างทางธรรมชาติ คือ นอน นั่ง ยืน เดิน กิน ดื่ม ทำ พูด คิด ให้ปกติอยู่เสมอ มีความคล่องแคล่ว ว่องไว เดินอย่างมีสติ ไม่เอะอะ ยืนพูดอย่างมั่นคง มีบุคลิกภาพที่ดี และการบริหารจัดการในการเจริญภาวนาในอิริยาบถต่าง ๆ เช่น การนั่ง นอน ยืน เดิน การรับประทานอาหาร ๓) ด้านทักษะในการติดตามและประเมินผล ควรปรับปรุงเนื้อหาให้เข้าใจง่าย และเข้ากับสถานการณ์ปัจจุบัน เพื่อสามารถปฏิบัติได้จริง ควรมีการทำแบบประเมินผลในการบริหารจัดการโครงการปฏิบัติธรรม และควรมีการให้การบริการของเจ้าหน้าที่ขณะเข้ารับการฝึกอบรมที่เพียงพอ และ ๔) ด้านทักษะในการจัดการปัญหา ควรมีการเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นของการดำเนินการบริหารจัดการทุกขั้นตอน ควรมีการประชาสัมพันธ์ข่าวสารการฝึกอบรมและปฏิบัติธรรมชัดเจนเพื่อความเข้าใจในทิศทางเดียวกัน และควรมีการประสานงานกับชุมชมให้มีส่วนร่วมในการกิจกรรมเพื่อให้โครงการดำเนินไปอย่างราบรื่น

ดาวน์โหลด

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕