หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหากฤตวิทย์ อธิฏฺฐาโน (สนธิสุข)
 
เข้าชม : ๒๐๐๑๘ ครั้ง
ศึกษาเปรียบเทียบแนวความคิดประชาธิปไตยในพุทธปรัชญาเถรวาทกับแนวคิดประชาธิปไตยในสังคมปัจจุบัน(๒๕๔๘)
ชื่อผู้วิจัย : พระมหากฤตวิทย์ อธิฏฺฐาโน (สนธิสุข) ข้อมูลวันที่ : ๑๔/๐๑/๒๐๑๑
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(ปรัชญา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
 
 
 
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๔๘
 
บทคัดย่อ

     งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อการศึกษาเปรียบเทียบแนวคิดประชาธิปไตยในพุทธปรัชญาเถรวาทกับแนวคิดประชาธิปไตยในสังคมปัจจุบัน โดยผู้วิจัยได้แบ่งประเด็นที่สำคัญในการศึกษาออกเป็น ๓ ประเด็น คือ (๑) แนวคิดประชาธิปไตยในพุทธปรัชญาเถรวาท (๒) แนวคิดประชาธิปไตยในสังคมปัจจุบัน (๓) การศึกษาเปรียบเทียบแนวคิดประชาธิปไตยในพุทธปรัชญาเถรวาทกับแนวคิดประชาธิปไตยในสังคมปัจจุบัน
ผลการศึกษามีดังนี้
๑. ในพุทธปรัชญาเถรวาท ไม่มีการแบ่งการปกครองที่ชัดเจนว่าเป็นแบบไหนแต่อย่างไรก็ตาม การปกครองนั้นก็เพื่อสันติของสังคมโลกโดยส่วนรวม การปกครองตามหลักพุทธปรัชญาเถรวาท ได้แก่ การปกครองโดยยึดหลักอปริหานิยธรรม ๗ และหลักอธิปไตย ๓ ประการ พระพุทธเจ้าได้ตรัสหลักการของอธิปไตยไว้ ๓ ประการด้วยกัน คือ
๑) อัตตาธิปไตย คือ ความมีตนเป็นใหญ่
๒) โลกาธิปไตย คือ ความมีโลกเป็นใหญ่
๓) ธรรมาธิปไตย คือ ความมีธรรมเป็นใหญ่
พุทธปรัชญาไม่เน้นหลักอธิปไตยในเชิงการเมืองและการปกครอง แต่เราสามารถนำเอาอธิปไตยทั้ง ๓ ที่กล่าวแล้วไปประยุกต์ใช้กับระบบการเมือง การปกครองได้ หรือแม้แต่การทำงานทุกอย่าง ซึ่งเป็นการนำเอาหลักธรรมไปประยุกต์ใช้นั่นเองปไตยนั้น มีทั้งแบบโดยตรง และโดยอ้อม กล่าวคือ แบบโดยตรง คือการที่ประชาชน มีส่วนร่วมในการปกครองโดยตรง ประชาชนใช้อำนาจปกครองกันเองเลือกเจ้าหน้าที่ของรัฐด้วยตนเอง การปกครองลักษณะนี้เหมาะสำหรับ กลุ่มประเทศเล็กๆ มีประชากรไม่มากนัก เช่น นครรัฐกรีกในสมัยโบราณ ส่วนประชาธิปไตยแบบโดยอ้อมนั้น คือ การที่ประชาชนเลือกผู้แทน เข้าไปทำหน้าที่ใช้อำนาจอธิปไตยทางด้านนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการแทนประชาชน ประชาธิปไตยเช่นนี้ แบ่งรูปแบบของรัฐบาล เป็น ๓ ระบบ คือ แบบรัฐสภา แบบประธานาธิบดี และแบบกึ่งรัฐสภา กึ่งประธานาธิบดี
๓. ระบบการบริหารการปกครองในพุทธปรัชญาเถรวาทเป็นประชาธิปไตยแบบโดยตรง ซึ่งมีลักษณะกรรมวิธีและกระบวนการที่แตกต่างไปจากประชาธิปไตยในปัจจุบัน เพราะประชาธิปไตยตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาทนั้น เป็นประชาธิปไตยที่ทั้งผู้ปกครอง และ ผู้อยู่ใต้ปกครองจะต้องมีคุณธรรมด้วยกัน เพื่อความเจริญของสถาบัน สังคมประเทศชาติ หรือสังคมโลก ส่วนประชาธิปไตยในปัจจุบันนั้น มุ่งเน้นไปในเชิงปริมาณเป็นเกณฑ์ตัดสิน เช่น การหาเสียงเลือกตั้ง คะแนนที่ได้ เหล่านี้ เป็นเครื่องตัดสินความเป็นประชาธิปไตย ส่วนหลักการ ที่ว่า ประชาธิปไตยต้องมี สิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาค และภราดรภาพนั้น เป็นเพียงอุดมคติ เพราะถ้าจะให้เป็นประชาธิปไตยที่แท้จริง จะต้องมีการพัฒนารากฐานของภูมิปัญญาปัจเจกชน ให้มีคุณธรรมและจริยธรรม กล่าวโดยสรุปคือ ต้องมีการพัฒนาให้สามารถนำไปถึงขั้นธรรมาธิปไตยให้ได้ จึงจะเป็นการปกครองที่ถูกต้องตามอุดมคติการปกครองแบบพุทธปรัชญาเถรวาท

Download : 254867.pdf

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕