หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระอนุชา ถิรธมฺโม (แสงเมือง)
 
เข้าชม : ๒๐๐๑๐ ครั้ง
การบริหารการจัดการสิ่งแวดล้อมของเทศบาลเมืองวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์(สาขารัฐประศาสนศาสตร์)
ชื่อผู้วิจัย : พระอนุชา ถิรธมฺโม (แสงเมือง) ข้อมูลวันที่ : ๒๒/๐๒/๒๐๑๗
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  อภิชญาณัฐโศภา อบสิน
  พระครูสังฆรักษ์เกียรติศักดิ์ กิตฺติปญฺโญ
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๙
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาการบริหารการจัดการสิ่งแวดล้อมของเทศบาลเมืองวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ ๒) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชน ต่อการบริหารการจัดการสิ่งแวดล้อมของเทศบาลเมืองวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ ๓) เพื่อศึกษา ปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะต่อการบริหารการจัดการสิ่งแวดล้อมของเทศบาลเมืองวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์

ดำเนินการตามระเบียบการวิจัย แบบเชิงผสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัย คือ ประชาชนในชุมชนเขตเทศบาลเมืองวิเชียรบุรีจังหวัดเพชรบูรณ์ ซึ่งมีจำนวน ๒๓,๔๙๙ คน จำนวน ๓๙๓ คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม โดยมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ ๐.๙๗๔ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือค่าความถี่ ค่าร้อยละ หาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที และการทดสอบค่าเอฟ ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด คำถามปลายเปิด เป็นความเรียงประกอบตาราง โดยการแจกแจงความถี่ของผู้ตอบ และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน ๘ รูป/คน โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท

 

ผลการวิจัยพบว่า

๑) ประชาชนมีความคิดเห็นต่อการบริหารการจัดการสิ่งแวดล้อมของเทศบาลเมือง
วิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยภาพรวมอยู่ระดับมาก (
=.๔๒,S.D.=๐.๖๐๓) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ประชาชนมีความคิดเห็นต่อการบริหารการจัดการสิ่งแวดล้อมของเทศบาลเมือง
วิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ ด้านการทบทวนการจัดการ ซึ่งอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนด้านการกำหนดนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม ด้านการวางแผนการดำเนินงานสิ่งแวดล้อม ด้านการดำเนินการและการปฏิบัติการ และด้านการตรวจสอบและการปฏิบัติงานแก้ไข ซึ่งอยู่ในระดับมาก

 

 

๒) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชน ต่อการบริหารการจัดการสิ่งแวดล้อมของเทศบาลเมืองวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ พบว่า ประชาชนที่มีเพศต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารการจัดการสิ่งแวดล้อมของเทศบาลเมืองวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้ ส่วนประชาชนที่มี อายุ ระดับการศึกษา และรายได้ต่อเดือน มีความคิดเห็นในการบริหารการจัดการสิ่งแวดล้อมของเทศบาลเมืองวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยภาพรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ จึงยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้

๓) ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการบริหารการจัดการสิ่งแวดล้อมของเทศบาลเมืองวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ พบว่า ปัญหาและอุปสรรค คือ ประชาชนในเขตเทศบาลเมืองวิเชียรบุรี ยังไม่เข้าใจในนโยบาย และโครงการการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เป็นรูปธรรม การดําเนินงานไมเปนไปตามนโยบายที่วางไว อันเนื่องมาจากปญหาระยะเวลาในการดําเนินโครงการไมเหมาะสม เชน เวลาในการดําเนินการนอยเกินไป และขาดพื้นกำจัดขยะเปียก ขยะแห้ง และขยะอันตราย ที่เหมาะสม

ข้อเสนอแนะ ควรส่งเสริมให้ประชาชน ในเขตเทศบาลเมืองวิเชียรบุรีได้รับรู้ถึงนโยบายในโครงการการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่จัดทำขึ้นโดยการประชาสัมพันธ์ทำเอกสารหรือจัดทำเอกสารแจกในการกำหนดโครงการต่างๆ ของการจัดการสิ่งแวดล้อม โดยเปิดโอกาสให้ประชนชนเข้ามามีส่วนร่วมในการระบุปัญหาต่างๆ ของการกำหนดโครงการต่างๆ เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของประชาชนในชุมชน และควรมีการจัดตั้งศูนย์รับซื้อขยะในชุมชนเทศบาลเมือง
วิเชียรบุรี เพื่อลดปัญหายะเปียก ขยะแห้ง และขยะอันตราย ในชุมชนเทศบาลเมืองวิเชียรบุรี

 

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕