หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระอำพันธ์ เสฏฺฐธมฺโม (เสมาคำ)
 
เข้าชม : ๒๐๐๓๐ ครั้ง
ภาวะผู้นำตามหลักปาปณิกธรรมของเจ้าอาวาสในอำเภอบึงสามพัน จังหวัดเพชรบูรณ์(สาขารัฐประศาสนศาสตร์)
ชื่อผู้วิจัย : พระอำพันธ์ เสฏฺฐธมฺโม (เสมาคำ) ข้อมูลวันที่ : ๒๒/๐๒/๒๐๑๗
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  อัครเดช พรหมกัลป์
  พระครูนิวิฐศีลขันธ์
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๙
 
บทคัดย่อ

                                          บทคัดย่อ


              การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ ๑) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำตามหลักปาปณิกธรรมของเจ้าอาวาสในอำเภอบึงสามพัน จังหวัดเพชรบูรณ์ ๒) เพื่อเปรียบเทียบภาวะผู้นำตามหลักปาปณิกธรรมของเจ้าอาวาสในอำเภอบึงสามพัน จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ          ๓) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะต่อภาวะผู้นำตามหลักปาปณิกธรรมของเจ้าอาวาสในอำเภอบึงสามพัน จังหวัดเพชรบูรณ์  
ดำเนินการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methods Research) โดยการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ใช้การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) จากกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ พระสงฆ์ในพื้นที่อำเภอบึงสามพัน จังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวน ๑๗๘ รูป เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของประชากร คือ ค่าความถี่ (Frequencies) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการทดสอบสมมติฐาน เพื่อเปรียบเทียบภาวะผู้นำตามหลักปาปณิกธรรมของเจ้าอาวาสในอำเภอบึงสามพัน จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล สถิติที่ใช้คือ การทดสอบค่าเอฟ (F-Test) ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One way ANOVA) เมื่อพบว่ามีความแตกต่างจะทำการเปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีผลต่างเป็นสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference : LSD.) และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) จำนวน ๙ รูป/คน และใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท

  ผลการวิจัยพบว่า
              ๑) ภาวะผู้นำตามหลักปาปณิกธรรมของเจ้าอาวาสในอำเภอบึงสามพัน จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( =3.47) เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ  ด้านวิธูโร ( =3.61) รองลงมาคือ ด้านนิสสยสัมปันโน ( =3.45) และด้านจักขุมา ( =3.34) ตามลำดับ
            ๒) ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า พระสงฆ์ที่มี อายุ พรรษา วุฒิการศึกษานักธรรม วุฒิการศึกษาบาลีและวุฒิการศึกษาสามัญ ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อภาวะผู้นำตามหลักปาปณิกธรรมของเจ้าอาวาสในอำเภอบึงสามพัน จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย
             ๓) ปัญหา อุปสรรค ของภาวะผู้นำตามหลักปาปณิกธรรมของเจ้าอาวาสในอำเภอ     บึงสามพัน จังหวัดเพชรบูรณ์ พบว่า เจ้าอาวาสบางครั้งยังขาดการใคร่ครวญในการปฏิบัติงานในด้านการบริหารการปกครอง  ไม่ค่อยมีความรู้ความสามารถในทางการบริหารอีกทั้งความคิดยังไม่กว้างไกลยังไม่ค่อยมีการนำความรู้ ความคิดมาปรับใช้ในการปกครองคณะสงฆ์อีกทั้งการบริหารจัดการงบประมาณ และการเงินยังเกิดประโยชน์ไม่ดีเท่าที่ควร แนวทางพัฒนาภาวะผู้นำตามหลัก        ปาปณิกธรรมของเจ้าอาวาสในอำเภอบึงสามพัน จังหวัดเพชรบูรณ์พบว่า เจ้าอาวาสควรใคร่ครวญในการปฏิบัติงาน การบริหารการปกครอง ควรศึกษาหาความรู้ เพื่อนำความคิด ความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ในการบริหารงานการปกครองคณะสงฆ์ ควรนำเทคโนโลยีเข้ามาจัดการระบบข้อมูลเบื้องต้นภายในการปกครองเพื่อให้การบริหารงบประมาณ และการเงินเกิดประโยชน์สูงสุด

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕