หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระครูปลัดเอกกร ติสาโร
 
เข้าชม : ๒๐๐๑๖ ครั้ง
ภาวะผู้นำตามหลักพุทธธรรมของนายกองค์การบริหารส่วนตำบลฝายนาแซง อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์(สาขารัฐประศาสนศาสตร์)
ชื่อผู้วิจัย : พระครูปลัดเอกกร ติสาโร ข้อมูลวันที่ : ๒๒/๐๒/๒๐๑๗
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  อัครเดช พรหมกัลป์
  พระครูนิวิฐศีลขันธ์
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๙
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

 

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ ๑) เพื่อศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับการเป็นผู้นำตามหลักพุทธธรรมของนายกองค์การบริหารส่วนตำบลฝายนาแซง อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ ๒) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อภาวะผู้นำตามหลักพุทธธรรมของนายกองค์การบริหารส่วนตำบลฝายนาแซง อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล         ๓) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะต่อภาวะผู้นำตามหลักพุทธธรรมของนายกองค์การบริหารส่วนตำบลฝายนาแซง อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยในการศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methods Research) ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) จากแบบสอบถาม (Questionnaire) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) เพื่อสนับสนุนข้อมูลเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลภาคสนาม (Field Study) จากประชาชนในตำบลฝายนาแซง อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวน ๓๔๙ คน ผู้วิจัยได้วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ โดยหาค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation : S.D.) ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที (t-test) และค่าเอฟ (F-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) เมื่อพบว่ามีความแตกต่างจะทำการเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ โดยใช้วิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference : LSD)

 

 

 

 

ผลการวิจัยพบว่า

๑. ความคิดเห็นของประชาชนต่อภาวะผู้นำตามหลักพุทธธรรมของนายกองค์การบริหารส่วนตำบลฝายนาแซง อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = ๔.๔๙, S.D. ๐.๖๓๗) เมื่อพิจารณารายละเอียดแต่ละด้านพบว่า ภาวะผู้นำตามหลักพุทธธรรมของนายกองค์การบริหารส่วนตำบลฝายนาแซง อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ ในด้านปัญญาพละ กำลังความรู้หรือความฉลาด อยู่ในระดับมากที่สุด ( = ๔.๕๐, S.D. ๐.๖๐๗) ส่วนด้านอื่นๆ ที่เหลืออยู่ในระดับมาก

๒. ผลเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อภาวะผู้นำตามหลักพุทธธรรมของนายกองค์การบริหารส่วนตำบลฝายนาแซง อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ พบว่า ประชาชนที่มีเพศ ระดับการศึกษา อาชีพและรายได้ ไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐาน ส่วนประชาชนที่มีอายุ แตกต่างกัน ยอมรับสมมติฐาน ว่ามีความคิดเห็นต่อภาวะผู้นำตามหลักพุทธธรรมของนายกองค์การบริหารส่วนตำบลฝายนาแซง อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕

๓. ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับภาวะผู้นำตามหลักพุทธธรรมของนายกองค์การบริหารส่วนตำบลฝายนาแซง อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ พบว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลฝายนาแซง ควรเป็นนักวางแผนที่ดี เป็นผู้ที่มีความคิดและวิสัยทัศน์ก้าวไกล ควรเป็นผู้นำที่มีความตั้งใจทำงาน จริงใจต่อประชาชน สามารถแก้ไขปัญหา สนับสนุนและส่งเสริมให้ขวัญกำลังใจ อยากให้มีความกระตือรือร้น ในการพัฒนาท้องถิ่น เป็นผู้นำที่มีความยุติธรรมในการบริหารงานทุกด้าน เน้นความซื่อสัตย์สุจริต รวมถึงปฏิบัติหน้าที่ให้ยึดกฎระเบียบเป็นหลัก ตั้งอยู่ในหลักธรรมมีคุณธรรมและจริยธรรม มีความโปร่งใสตรวจสอบได้ เปิดโอกาสให้ผู้ร่วมงานและประชาชนมีส่วนร่วมทุกขั้นตอน โดยมีการยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นหรือคำติชมจากผู้อื่นด้วยความเต็มใจ เพื่อนำมาปรับปรุงพัฒนาการทำงาน เป็นไปด้วยความเที่ยงธรรม มีเหตุ มีผล มีความเอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่ แบ่งปัน ต่อกัน เป็นผู้มีน้ำใจช่วยเหลือบุคลากรในเรื่องงานและเรื่องส่วนตัว มีความพร้อมในการที่จะเสียสละประโยชน์ส่วนตน เพื่อช่วยเหลือคนอื่นอย่างเต็มความสามารถ เพื่อนำความรู้มาปรับปรุงท้องถิ่นให้ดียิ่งขึ้น และเตรียมความพร้อมในการบริการประชาชน

ดาวน์โหลด

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕