หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระอำนาจ สิริปุญฺโญ (เกิดผล)
 
เข้าชม : ๑๖๕๙๗ ครั้ง
การศึกษาเปรียบเทียบความเป็นจริงของพุทธปรัชญาเถรวาทกับไวท์เฮด(๒๕๔๘)
ชื่อผู้วิจัย : พระอำนาจ สิริปุญฺโญ (เกิดผล) ข้อมูลวันที่ : ๒๓/๐๘/๒๐๑๐
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(ปรัชญา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหากฤษณะ ตรุโณ
  ดร.วีระชาติ นิ่มอนงค์
  ดร. สุรพล สุยะพรหม
วันสำเร็จการศึกษา : 25 มีนาคม 2548
 
บทคัดย่อ

     การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเปรียบเทียบความเป็นจริงของพุทธปรัชญาเถรวาทกับปรัชญาของ อัลเฟรด นอร์ธ ไวท์เฮด ผู้วิจัยได้แบ่งประเด็นไว้ 3 ประการคือ (1) ความเป็นจริงของพุทธปรัชญาเถรวาท (2) ความเป็นจริงในปรัชญาของไวท์เฮด (3) ศึกษาเปรียบเทียบความเป็นจริงของพุทธปรัชญาเถรวาทกับปรัชญาของไวท์เฮด ผลการวิจัยมีข้อสรุปสำคัญคือในทรรศนะเรื่องความเป็นจริงของพุทธปรัชญาเถรวาทที่เกี่ยวกับการกำเนิดของโลก ความเปลี่ยนแปลง นั้นกล่าวถึง ความทุกข์ ความไม่เที่ยง ความไม่มีตัวตน ของสรรพสิ่งทั้งปวงล้วนเป็นธรรมชาติที่อยู่ในหลักไตรลักษณ์ และกฎปฏิจจสมุปบาท โดยทุกสรรพสิ่งในโลก และจักรวาลที่หาขอบเขตไม่ได้ล้วนเป็นไปตามกฎธรรมชาติทั้งสิ้นเนื้อหาเรื่องความเป็นจริงของปรัชญาไวท์เฮดอยู่ที่แนวความคิดเรื่องสรรพสิ่งมีความเปลี่ยนแปลงเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา ไม่มีที่สิ้นสุด และที่สำคัญคือ ไวท์เฮดได้ทำให้เห็นความชัดเจนว่า โครงสร้างของโลกโดยรวม ไม่สามารถเข้าใจได้ด้วยหลักการหรือสรรพสิ่งในสากล โดยเริ่มต้นศึกษาจากแนวคิดที่ว่า “ สรรพสิ่งก็คือสิ่งที่มันเป็น” จนถึงการอธิบายลักษณะโดยทั่วไปของสรรพสิ่งโดยรวม ไวท์เฮดได้สร้างจุดเริ่มต้นบนพื้นฐานแห่งประสบการณ์ของมนุษย์ที่เข้าใจได้ง่าย โดยกล่าวว่า ความเป็นจริงสูงสุดเกี่ยวกับประสบการณ์ตรงที่เกิดขึ้นจริง ก็คือสิ่งที่มีอยู่จริง การยึดจับ และการเชื่อมต่อความจริงสูงสุดจะปรากฏให้เห็นอย่างที่มันเป็นในทุก ๆ ประสบการณ์ที่เกิดขึ้น สิ่งแท้จริงคือสิ่งสุดท้ายของโลกที่ถูกสร้างขึ้นและสิ่งแท้จริงไม่ใช่ความเป็นจริงที่ว่างเปล่าหรือความเป็นจริงที่เป็นสุญญากาศ สิ่งแท้จริงเกี่ยวเนื่องกันและกัน ธรรมชาติของแต่ละสิ่งมีขีดความสามารถสำหรับทุก ๆ สิ่งที่เป็น การเดินทางของสิ่งแท้จริงจากอดีตสู่ปัจจุบันและสู่อนาคตเป็นความเจริญก้าวหน้าอย่างสร้างสรรค์ผลของการศึกษาวิจัยจากเอกสารพบว่าการอธิบายหลักคำสอนเชิงอภิปรัชญาระหว่างพระพุทธเจ้ากับไวท์เฮด ถึงแม้ว่าพระพุทธเจ้าและไวท์เฮดจะมีช่องว่างเรื่องเวลาที่ห่างกันยาวนานมาก อีกทั้งประเพณีและวัฒนธรรมแตกต่างกันจนแทบจะเรียกได้ว่าเข้ากันไม่ได้เลย เมื่อพิจารณาถึง หลักของพุทธศาสนาและแนวทางปฏิบัติที่ยึดถือต่อ ๆ กันมาทำให้เป็นที่ยอมรับอย่างสนิทใจว่าแนวคิดของพระพุทธเจ้ามีความร่วมสมัยตลอดกาล ในบทสุดท้ายของการศึกษาวิจัยนี้ผู้วิจัยได้ให้ข้อสรุปและเสนอแนะเกี่ยวกับกระบวนการเรื่องวิวัฒนาการ เนื่องจากเมื่อศึกษาพุทธปรัชญาเถรวาทและปรัชญาของไวท์เฮดแล้วมีความเห็นว่ารายละเอียดแห่งกระบวนการของทั้งสองทรรศนะนั้นมีความเป็นไปได้อย่างมาก

Download : 254908.pdf

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕