หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » เจริญ ช่วงชิต
 
เข้าชม : ๒๐๐๐๘ ครั้ง
การศึกษาสมาธิในพระพุทธศาสนาเถรวาท
ชื่อผู้วิจัย : เจริญ ช่วงชิต ข้อมูลวันที่ : ๑๓/๐๓/๒๐๑๗
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  โสวิทย์ บำรุงภักดิ์
  -
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๘
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

 

            สารนิพนธ์เรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความรู้เกี่ยวกับสมาธิในพระพุทธศาสนาเถรวาท และเพื่อศึกษาเป้าหมายของการฝึกสมาธิในพระพุทธศาสนาเถรวาท การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการศึกษาจากหนังสือ ตำรา เอกสารวิชาการทางพระพุทธศาสนา และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง  แล้วนำมาเขียนเป็นรายงานการวิจัยด้วยวิธีวิเคราะห์เชิงพรรณนา

ผลการศึกษาพบว่า  สมาธิ หมายถึง การมีจิตตั้งมั่นในอารมณ์เดียวในทางกุศล  มีปัญญารู้เข้าใจสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง  เป็นสมาธิที่ควรคู่แก่การใช้งาน สมาธิมี ๓ ระดับ คือ ขณิกสมาธิ   เป็นสมาธิขั้นต้นที่คนทั่วไป อุปจารสมาธิ   เป็นสมาธิขั้นระงับนิวรณ์ ๕ และอัปปนาสมาธิ  เป็นสมาธิระดับสูงสุด  สำหรับหลักการเจริญสมาธิตามหลักพระพุทธศาสนาเถรวาทมี ๒ แบบ     คือ (๑) สมถกรรมฐาน เป็นการฝึกอบรมจิตให้เกิดความสงบจนตั้งมั่นเป็นสมาธิ  และ(๒)วิปัสสนากรรมฐาน เป็นข้อปฏิบัติในการฝึกฝนอบรมเจริญปัญญาให้เกิดความรู้แจ้งในรูปนามโดยความเป็นไตรลักษณ์ การปฏิบัติสมาธิจึงเป็นวิธีการที่จะขัดเกลาจิตใจของมนุษย์ให้ดีได้

เป้าหมายของการฝึกสมาธิในพระพุทธศาสนาเถรวาทมี  ๒ ประการ คือ เป้าหมายหลักหรือเป้าหมายสูงสุดของการฝึกสมาธิ คือ  ความหลุดพ้น ประกอบด้วย (๑) เจโตวิมุตติ เป็นความหลุดพ้นทางจิต (๒) ปัญญาวิมุตติ เป็นความหลุดพ้นด้านปัญญา  โดยที่เจโตวิมุตติเป็นผลจากการเจริญสมถะ และปัญญาวิมุตติเป็นผลที่เกิดจากการเจริญวิปัสสนา  และเป้าหมายรองที่ให้ความสำคัญในเรื่อง การนำสมาธิไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาด้านต่างๆ ในชีวิตประจำวัน มีการนำสมาธิไปประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกับชีวิตประจำวันหลากหลายด้าน เช่น การพัฒนาด้านจิตใจ  การพัฒนาด้านร่างกายและพฤติกรรม              การพัฒนาด้านปัญญา  การพัฒนาด้านสังคม โดยการพัฒนาที่ได้ยกตัวอย่างนั้น เป็นที่ปรากฏเป็นเชิงประจักษ์ตามแนวทางวิทยาศาสตร์เชิงพุทธ ที่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าสมาธิ นำมาใช้และเป็นประโยชน์ต่อมวลมนุษยชาติได้จริง

ดาวน์โหลด

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕